สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัมพูชาบางส่วนแล้ว

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมูลค่าราว 7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีของกัมพูชากำลังจะถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU) โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการตัดสินใจของสหภาพยุโรปตั้งแต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่ารัฐบาลและภาคเอกชนจะพยายามเจรจาต่อรองให้ EU ไม่ดำเนินการหรืออย่างน้อยก็ชะลอการถอดถอนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาและในเดือนกุมภาพันธ์คณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะนำให้ถอดถอนบางส่วนของโครงการ EBA ตั้งแต่เดือนสิงหาคมโดยอ้างถึงการละเมิดหลักการของกัมพูชาอย่างร้ายแรงในด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายในประเทศที่ยังไม่ถูกแก้ปัญหา โดยการระงับดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหนึ่งในห้า (1.08 พันล้านดอลลาร์) ของการส่งออกประจำปีของกัมพูชาที่ทำการส่งออกสินค้าไปยัง 27 ประเทศ ของกลุ่มสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50753939/the-eus-tax-free-status-partially-withdrawn/

ยอดยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการในนิคมฯ 3 ไตรมาสมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้าน

กระทรวงอุตสาหกรรมเผยตัวเลขการยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม 3 ไตรมาส ของปีงบประมาณ 63 มีผู้ประกอบการยื่นขอแจ้งเริ่มประกอบกิจการเพิ่ม 163 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม 14,698 ราย มูลค่าการลงทุนรวม 7.43 หมื่นล้านบาท โดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ไตรมาสของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.62-มิ.ย.63) มีนักลงทุนที่ยื่นคำขอใบอนุญาตแจ้งเริ่มประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่เปิดดำเนินการแล้ว 33 แห่ง โดยพบว่าจำนวนผู้ประกอบการแจ้งเริ่มประกอบกิจการ รวมทั้งสิ้น 163 ราย แบ่งออกเป็นการขออนุญาตประกอบกิจการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 104 ราย และนิคมอุตสาหกรรมนอกพื้นที่ EEC จำนวน 59 ราย มีผู้ยื่นคำขอใบอนุญาต เพิ่มขึ้น 41 ราย

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/445286

Myanmar Economic Factsheet : Q3/2562

เศรษฐกิจเมียนมา ไตรมาสที่ 3 ปี 2562

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านอุปสงค์

  • มูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภค (Consumer Goods)
  • ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (Motor Vehicles Registered:Motorcycle)
  • มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน (Capital Goods)
  • การใช้จ่ายของภาครัฐ (Government Spending)
  • การค้าระหว่างประเทศ (X − M)

ด้านอุปทาน

  • มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง (Raw Materials and Intermediate Goods)
  • จำนวนนักท่องเที่ยว ( Visitor Arrivals )

เครื่องชี้วัดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account)
  • อัตราเงินเฟ้อ (inflation)
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ (Foreign exchange reserves)
  • อัตราแลกเปลี่ยน  (Foreign Exchange Rate)

ภาคการเงิน

  • ดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)
  • สินเชื่อภายในประเทศ (Domestic Credit)

ที่มา : CEIC Data