ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 33

ไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 33 เสนอความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19 การจัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข การส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ความเชื่อมโยงด้านพลังงานในอนุภูมิภาค และการพัฒนาทักษะแรงงาน โดยเฉพาะในกลุ่ม MSMEs และสตรี ที่ประชุมยังร่วมหารือการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการผ่อนคลายมาตรการ และการคุ้มครองแรงงาน ที่ประชุมได้ย้ำความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ในการรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยคุกคามในทุกรูปแบบ และการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเน้นความสำคัญของการเสริมสร้างความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน-สหรัฐฯ ในทุกมิติบนพื้นฐานของมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกและวิสัยทัศน์ Free and Open Indo-Pacific ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนยินดีที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอาเซียนในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขรวม 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยข้อริเริ่ม ASEAN-US Health Futures และการยกระดับศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ที่ประชุมยังได้เน้นย้ำบทบาทของสหรัฐฯ ในความร่วมมือด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยง เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านบรรษัทการเงิน การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมกับสหรัฐฯ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นตัวและการเติบโตอย่างยั่งยืนในภูมิภาค รวมทั้งเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหรัฐฯ และการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ในเดือนก.ย. และเดือนพ.ย. 63 ตามลำดับ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/mfa/3147974

Vietnam Motor Show ประกาศยกเลิกเนื่องจากพิษไวรัส COVID-19

งาน Vietnam Motor Show (VMS) ปี 2563 เป็นงานแสดงรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ระหว่างวันที่ 29 ต.ค. – 1 พ.ค. ประกาศยกเลิกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยจำนวนผู้ผลิตรถยนต์อย่างน้อย 15 ราย ได้แก่ Audi, Ford, Jaguar, Honda, Land Rover, Lexus และ Mercedes-Benz ได้เข้าร่วมลงทะเบียนงานนี้ อย่างไรก็ตาม งานดังกล่าวจะเริ่มกลับมาในปี 2564 ที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการไซ่ง่อน (Saigon Exhibition & Convention Center) ทั้งนี้ ในปีที่แล้ว ตัวเลขทางสถิติชี้ให้เห็นว่ามูลค่าเงินทุนกว่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศและส่วนประกอบในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 32.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-biggest-auto-show-canceled-due-to-covid-19-23141.html

เวียดนามเผยเดือน มิ.ย. ส่งออกน้ำมันดิบไปยังจีนเพิ่มขึ้น แม้ว่าภาพรวมจะลดลงก็ตาม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามประมาณ 395,074 ตัน (99,000 บาร์เรล) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 ในเดือน พ.ค. จีนยังคงเป็นผู้ซื้อน้ำมันดิบรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของยอดส่งออกน้ำมันดิบทั้งหมดของเวียดนาม โดยปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามไปยังจีนอยู่ที่ 74,000 บาร์เรลในเดือน มิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 จากเดือน พ.ค. เป็นผลมาจากความต้องการใช้น้ำมันของจีนเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเดือน มิ.ย. ในขณะที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว ปริมาณน้ำมันดิบที่เหลือ เวียดนามส่งออกไปยังมาเลเซีย (5,000 บาร์เรล, ลดลง 50% จากเดือน พ.ค.), ญี่ปุ่นกับไทย ประมาณ 10,000 บาร์เรล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และ 7 จากเดือน พ.ค. ตามลำดับ) ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของเวียดนามอยู่ที่ 717,691 ตัน (174,000 บาร์เรล) ในเดือน มิ.ย. ลดลงร้อยละ 28 จากเดือน พ.ค.

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-crude-oil-exports-to-china-higher-in-june-despite-a-decrease-in-total-23148.html

แหล่งท่องเที่ยวเมียนมาพร้อมเปิดอีกครั้งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ COVID-19

การเปิดแหล่งท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับการจัดการปัญหา COVID-19 ในประเทศและต่างประเทศ กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวชี้ว่าแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของกระทรวงซึ่งรวมถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้นอยู่กับการประเมินเกี่ยวกับภัยคุกคาม COVID-19 ซึ่งไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใดและสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลังจากการกลับมาของการติดเชื้อในเมืองดานังของเวียดนามเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมียนมาตัดสินใจที่ปิดชายหาดในอิระวดีอีกครั้ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเมืองโบราณพุกามซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศได้ปิดเจดีย์ 17 แห่งไม่ให้เข้าชมจนกว่าจะมีประกาศให้ทราบอีกครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-tourist-spots-reopening-changes-depend-covid-19-situations.html

โครงการปรับโครงสร้างของรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการบริหาร ในสปป.ลาว

ความตึงเครียดด้านงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องปรับปรุงโครงสร้างให้ดีขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารงานที่คุ้มทุนและมีประสิทธิภาพในการรับใช้ชาติ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในการช่วยรัฐบาลลดต้นทุนการบริหารท่ามกลางรายได้ที่ขาดแคลนและปัญหาทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจาก Covid-19 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงภายใน (Minister of Home Affairs) กล่าวว่าค่าใช้จ่ายด้านการบริหารในลาวยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากโครงสร้างขนาดใหญ่ของหน่วยงานของรัฐและการจ้างงานข้าราชการมากเกินไป ภาคส่วนที่มีการทำงานคล้ายกันหรือสัมพันธ์กันจะถูกรวมเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ภาครัฐรวมทั้งกระทรวงกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวและองค์กรที่เทียบเท่ากระทรวงกำลังวางแผนที่จะรวมหน่วยงานและหน่วยงานต่างๆให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล การควบรวมกิจการจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่บริหารลดลงช่วยประหยัดเงินของรัฐในการจ่ายค่ารถยนต์ เงินเดือนและค่าใช้จ่ายในการบริหารอื่น ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมารัฐบาลประสบปัญหาทางการเงินเนื่องจากการขาดแคลนรายได้และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะถดถอยทั่วโลก ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องการปรับปรุงโครงสร้างและลดจำนวนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มากเกินไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt152.php

การลงนาม ASSET เพื่อระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืนของสปป.ลาว

การลงนามข้อตกลงในการจัดหาเงินทุนของโครงการ Agroecology and Safe Food System Transitions (ASSET) เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ในเวียงจันทน์ จากความร่วมมือหลากหลายองค์กรระดับโลกและภูมิภาคไม่ว่าจะเป็น Group For Research and Technology Exchanges (GRET) และ French Agricultural Research and International Cooperation Organization (CIRAD) พันธมิตรระดับชาติยุโรปและนานาชาติ 27 ประเทศรวมถึงกระทรวงเกษตรของสปป.ลาว  โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ” agroecology” เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของระบบอาหารและการเกษตรไปสู่ระบบที่ยั่งยืนมากขึ้น ความโดดเด่นของโครงการ ASSET คือได้รับการออกแบบโดยใช้วิธีการแบบบูรณาการเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตรและระบบอาหารที่หลากหลายผ่าน 3 ด้าน ได้แก่ ประการแรก เทคโนโลยี – เศรษฐกิจ,การเมือง,สังคม การบูรณาการทั้ง 3 ด้านจะทำให้เกิดการเปลี่ยนไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการของ AFD ปัจจุบันในบริบทที่เกิดวิกฤตการณ์ COVID-19  การพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคจึงมีความสำคัญมากขึ้นแต่สิ่งสำคัญที่ต้องควบคู่ไปด้วยกันคือการรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่หลากหลายอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Regional152.php

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและอินเดียเพิ่มขึ้น

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังเดินหน้าไปสู่การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศต่อไป โดยสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศอยู่ที่ 271 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากจำนวนดังกล่าวกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังอินเดียมูลค่า 65 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และนำเข้าสินค้ามูลค่าราว 207 ล้านดอลลาร์ จากอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 โดยกัมพูชาและอินเดียกำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเจรจา FTA และข้อตกลงดังกล่าวจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752363/cambodia-india-trade-on-the-rise/