กัมพูชา-ญี่ปุ่น ร่วมหารือในระดับทวิภาคีดันการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

Lim Lork Piseth รัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย Tuy Ry เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าพบหารือกับ Mr. TAKAHASHI Shinichi รองนายกเทศมนตรีเมืองเซ็นได ณ ศาลาว่าการเซนได ประเทศญี่ปุ่น เพื่อหารือความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเซนไดในด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา และสุขภาพ โดยในโอกาสนี้ ฝ่ายเซนไดได้ศึกษาความเป็นไปได้ด้านการลงทุนและโอกาสทางการค้าในประเทศกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในส่วนของภาคการศึกษาและสุขภาพนั้น หน่วยงานรัฐบาลเมืองเซนไดกำลังพิจารณามอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาชาวกัมพูชาที่ต้องการเรียนจักษุวิทยาและมีอาชีพด้านการดูแลดวงตาเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501484115/cambodia-japan-discuss-bilateral-trade-and-investment-cooperation/

เงินกีบลาวแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทไทย

สปป.ลาว กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากสกุลเงินกีบของประเทศยังคงอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทของไทย แนวโน้มดังกล่าวถือเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจลาว โดย ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ธนาคารแห่งประเทศลาว (BOL) กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 21,391 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 596.90 กีบต่อหนึ่งบาทไทย อย่างไรก็ตามธนาคารพาณิชย์ เช่น Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao Public (BCEL Bank), Phongsavanh Bank และอื่นๆ กำลังขายในราคาที่แตกต่างกัน โดยเสนอราคา 21,393 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ และ 657.90 กีบต่อหนึ่วบาทไทย

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/05/08/lao-kip-hits-record-lows-against-us-dollar-thai-baht/

คาด FTC ผลักดันการขนส่งของท่าเรือปกครองตนเองสีหนุวิลล์

โครงการ Funan Techo Canal (FTC) โครงข่ายคลองที่มีความยาวกว่า 180 กิโลเมตร ตัดผ่านระหว่างจังหวัดกันดาล ตาแก้ว กัมปอต และแกบ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวถือเป็นโครงการผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการผลักดันกิจกรรมการขนส่งของท่าเรือปกครองตนเองสีหนุวิลล์ (PAS) ให้ถึงร้อยละ 90 ของปริมาณการส่งออกกัมพูชา ที่ปัจจุบันคิดเป็นการขนส่งสินค้าผ่าน PAS ร้อยละ 67 ตามมาด้วย การส่งออกผ่านทางท่าเรือพนมเปญ (PPAP) ร้อยละ 33 ตามรายงานของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ปัจจุบัน PAS ถือเป็นท่าเรือที่ดำเนินกิจการโดยรัฐฯ ซึ่งเป็นศูนย์ขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยสามารถจัดเก็บตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต หรือ TEU (ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน) ได้จำนวนกว่า 797,778 ตู้ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.35 จาก 750,148 TEU ในปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501483296/ftc-to-drive-activities-at-pas-to-90/

ราคาเกลือในกัมพูชาลดลงต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่ร้อน

Bun Narin ประธานสมาคมผู้ผลิตเกลือ GI ในเขตกัมปอต-แกป กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า แม้ว่าปัจจุบันการผลิตเกลือธรรมชาติในกัมปอตจะมีปริมาณมากขึ้นอันเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน แต่ราคากลับปรับตัวลดลงอย่างมากอันเป็นผลมาจากมีผลผลิตส่วนเกินในตลาดที่สูงเกินความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งต้นทุนแรงงานในภาคการผลิตเกลือที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาเกลือในตอนนี้อยู่ที่ 8,000 ถึง 10,000 เรียลต่อถุง ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของราคาที่ขายให้กับเทรดเดอร์ในอดีต สำหรับในปี 2022 การผลิตเกลือให้ผลผลิตมากกว่า 60,000 ตัน ตามตัวเลขของกรมอุตสาหกรรมกำปอตรายงาน โดยในปีนี้การผลิตเกลือคาดว่าจะผลิตได้ราว 100,000 ตัน ในปี 2024 ภายใต้ความต้องการนำเข้าเกลือจากต่างประเทศที่ลดลงอันเป็นผลมาจากการผลิตเกลือในประเทศเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501483668/salt-prices-fall-as-the-weather-heats-up/

สปป. ลาว เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีใหม่ 2 กระทรวง

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยรัฐบาลระบุว่าเป็นเรื่องปกติที่จะเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำในแต่ละกระทรวงให้สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อกำหนดการทำงานใหม่ๆ โดย รศ.ดร.ลิงคำ ดวงสะหวัน อดีตเลขาธิการรัฐสภา ดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงเกษตรและป่าไม้ แทน ดร.เพชร พรหมพิภาค และ ดร.เพชร รับตำแหน่ง รมว. กระทรวงการวางแผนและการลงทุนใหม่ นายกรัฐมนตรี โสเนกชัย สีพันโดน ซึ่งเป็นสมาชิกกรมการเมือง กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงผู้นำในพรรค รัฐบาล และองค์กรมวลชนถือเป็นเรื่องปกติของบุคลากรพรรค การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่และคำนึงถึงความสามารถเฉพาะของรัฐมนตรีแต่ละคนที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดในการทำงาน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_85_Two_y24.php

‘เวียดนาม’ ชี้ราคาส่งออกข้าวสูงสุดในตลาดโลก

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราคาข้าวของเวียดนามในตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-8 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ในระดับสูงสุดในตลาดโลก โดยจากข้อมูลพบว่าราคาข้าวหัก 5% ของเวียดนาม อยู่ที่ 585 เหรียญสหรัฐต่อตัน สูงกว่าราคาข้าวของไทยประมาณ 3 เหรียญสหรัฐต่อตัน และสูงกว่าราคาข้าวของปากีสถาน 10 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคาข้าวหัก 25% ของเวียดนาม อยู่ที่ 555 เหรียญสหรัฐต่อตัน และราคาข้าวหัก 100% ของเวียดนาม อยู่ในระดับทรงตัวที่ 470 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาข้าวหักทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว มีราคาสูงกว่าข้าวไทยและปากีสถาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-leads-in-export-rice-prices-globally-post285508.vnp

‘เวียดนาม’ คว้าโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก

ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ (NIC) และบริษัทซัมซุง เวียดนาม (Samsung Vietnam) ได้เปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Samsung Innovation Campus’ หรือเรียกว่า SIC สำหรับปี 2566-2567 โดยตั้งเป้าที่จะฝึกอบรมวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ 50,000 คนภายในปี 2573 รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยี ผลักดันให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภูมิภาคและโลก

ทั้งนี้ นายเหงียน จิ ยวุง รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าอุปทานด้านแรงงานที่มีคุณภาพและความพร้อมทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เวียดนามมีข้อได้เปรียบสำคัญเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ การมุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรม เพื่อให้แรงงานสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างเร็วที่สุด จึงเป็นกลยุทธ์หลักและเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงการสร้างโอกาสอีกมากมายแก่เวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-acts-to-seize-opportunity-to-join-global-semiconductor-supply-post285514.vnp

บริษัทกว่า 450 แห่งยังคงไม่สามารถส่งรายได้จากการส่งออกในปี 2564 กลับประเทศได้

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่ามีบริษัทมากกว่า 450 แห่งที่ยังไม่ได้ส่งรายได้จากการส่งออกในปี 2564 กลับประเทศได้ ทั้งนี้ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 26 เมษายน โดยรายได้จากการส่งออกจะต้องฝากเข้าบัญชีธนาคารในประเทศภายใน 45 วันสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปยังประเทศในเอเชีย และภายใน 90 วันสำหรับประเทศอื่น ๆ นอกเอเชีย อย่างไรก็ดี กรมการค้าระบุเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ว่าธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ควรส่งรายชื่อบริษัทที่ไม่สามารถนำรายได้จากการส่งออกส่งกลับประเทศได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้กับกระทรวงพาณิชย์ และแจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคาร) ที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับรายชื่อพร้อมกัน นอกจากนี้ กรมการค้าจะแจ้งให้สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (UMFCCI) ทราบถึงรายชื่อเพื่อให้สามารถฝากเงินได้อีกครั้ง รวมทั้ง กรมการค้าจะระงับการจดทะเบียนผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าเป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากแจ้งให้บริษัทเหล่านั้นทราบ หากรายได้จากการส่งออกไม่ถูกส่งกลับประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-450-companies-still-fail-to-repatriate-export-earnings-in-2021/#article-title

ธนาคารกลางเมียนมาดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพราคา ในวันที่ 3 พ.ค. ทั้งนี้ CBM กำลังวางนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากวิเคราะห์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนสินเชื่อของธนาคารต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เป็นต้น นอกจากนี้ ในบรรดานโยบายการเงิน แทนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ อัตราเงินสำรองของธนาคารเอกชนในสกุลเงินเมียนมาและการจ่ายดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินก็เช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบันเงินฝากธนาคารและสินเชื่อมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินหมุนเวียนและลดอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำจึงเพิ่มขึ้นเป็น 3.75 จากร้อยละ 3.5 ดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินก็เพิ่มขึ้นเป็น 3.8 จากร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม 2567 การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินอาจสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยรายปีสำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และส่งผลให้ภาคเอกชนมีแหล่งเงินทุนมากขึ้น สามารถลดจำนวนเงินหมุนเวียนและลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่อธนาคารฝากเงินในบัญชี CBM ในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-implements-monetary-policies-to-curb-inflation/