ผู้ผลิตชิป-บ.เทคโนโลยีสหรัฐ ส่งตัวแทนประชุมที่เวียดนามพรุ่งนี้ สะท้อนเวียดนามยังเนื้อหอม

สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง รวมถึงสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า บริษัทเซมิคอนดักเตอร์และเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐ ได้แก่ กูเกิล อินเทล โบอิ้ง ไปจนถึงโกลบอลฟาวน์ดรีส์ (GlobalFoundries) แอมคอร์ (Amkor) และมาร์เวลล์ (Marvell) ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เตรียมเข้าร่วมการประชุมทางธุรกิจที่กรุงฮานอยของเวียดนามในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ เยือนเวียดนามเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/333384

‘เวียดนาม’ คว้าโอกาสหนุนสตาร์ทอัพ ผนึกพันธมิตรสหรัฐฯ

นาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้กล่าวในที่ประชุมทางด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพที่สถาบัน Asia Society ในเมืองซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ชี้แจ้งว่าเวียดนามตั้งตาที่จะร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขปัญหาใหญ่ระดับโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการกระจายห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เวียดนามมองว่าวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปและยังได้เสนอกลยุทธ์ 3 ประการ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันรัฐบาลเร่งปรับปรุงหน่วยงานและนโยบาย ตลอดจนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมายังเวียดนามมากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://en.baochinhphu.vn/viet-nam-looks-forward-to-stronger-startup-partnership-with-us-111220518103925907.htm

‘สหรัฐ’ ประกาศมอบ 500,000 ดอลลาร์ เข้ากองทุน ‘อาเซียน’ โควิด

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงในวันนี้ เกี่ยวกับผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน- สหรัฐว่า นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐในภูมิภาค ขณะที่ นายแอนโทนี บลิงเคน รมว.ต่างประเทศสหรัฐ ได้ประกาศว่า สหรัฐสนับสนุนเงินจำนวน 500,000 ดอลลาร์ ให้แก่กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือโควิด-19 ในที่ประชุม นายดอน ได้เสนอประเด็นส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การสำรองวัคซีนโควิด-19 และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในภูมิภาคสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต 2.การเสริมสร้างดุลยภาพทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคโดยมีอาเซียน เป็นเวทีในการขับเคลื่อนความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างทุกผู้เล่นหลักในภูมิภาค 3.การพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัล 4.การสร้างความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG)เป็นแนวคิดที่สอดคล้องและสามารถสนับสนุนข้อริเริ่ม Build Back Better World (B3W) ของสหรัฐ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/953051