กัมพูชาเล็งส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยังสหรัฐฯ

สหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกของกัมพูชา โดยคิดเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาในช่วงเดือนมกราคมถึงกรกฎาคมของปีนี้ ซึ่งในปี 2021 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 8.7 พันล้านดอลลาร์ สินค้าส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องแต่งกาย รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทาง โดยปัจจุบันกัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมากในการผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารเพื่อเป็นการกระตุ้นภาคการส่งออกของประเทศ ซึ่งคาดว่าในอนาคตการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวจะเร่งขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่ปี ผ่านการสนับสนุนจากกระทรวงสำคัญๆ ของรัฐบาล ได้แก่ กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF), กระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ (MAFF), กระทรวงพาณิชย์ (MOC) สหรัฐอเมริกา, กรมวิชาการเกษตร สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกัมพูชา, หอการค้าอเมริกันในกัมพูชา (AmCham) และวิสาหกิจเขมร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501196186/cambodia-eyes-food-product-export-to-us/

นครวัดกัมพูชากลับมาครึกครื้นอีกครั้งในรอบ 11 เดือน

ทางการรายงานว่าอุทยานโบราณคดีอังกอร์ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 225,191 คน ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 9 ล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมอุทยานฯ โดยในเดือนพฤศจิกายนเพียงเดือนเดียวมีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังอุทยานฯ กว่า 55,842 คน สร้างรายได้ถึง 2.25 ล้านดอลลาร์ ซึ่งอุทยานโบราณคดีนครวัดตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือ บนพื้นที่ 401 ตารางกิโลเมตร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี 1992 ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดอุทยานฯ ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 2.2 ล้านคน ในปี 2019 สร้างรายได้กว่า 99 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501195645/life-returns-to-cambodias-famed-angkor-recording-over-225000-international-tourists-in-11-months/

สถานะธนาคารรัฐทั้งหมดยังแข็งแกร่ง

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศหลายแห่ง ทั้งทริสเรทติ้ง, มูดีส์ อินเวสเตอร์ส และฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน ของรัฐหลายแห่ง ทั้งธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิม แบงก์) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยพบว่าแม้ต้องเผชิญวิกฤติโควิด-19 และเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน แต่สถานะธนาคารรัฐทั้งหมดยังแข็งแกร่ง และคงอันดับความน่าเชื่อถือไว้ที่ระดับสูง

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2570805

‘เวียดนาม’ มีศักยภาพการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวกับกรอบนโยบายพลังงานหมุนเวียนและความพร้อมการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวในเวียดนาม จัดโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) และมี GIZ ป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเวียดนามมีอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่และหลากหลาย พร้อมกับสามารถเข้าถึงผู้นำเข้ารายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังมีศักยภาพด้านทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนที่แข็งแกร่งและความเสี่ยงทางการเมืองต่ำ ทั้งนี้ คุณ Ali Habib ที่ปรึกษาทางด้านระหว่างประเทศ กล่าวว่าเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ดีในแง่ของการผลิต อย่างไรก็ตามในเรื่องของนโยบายและความร่วมมือเป็นส่วนสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1401361/viet-nam-is-well-positioned-for-gh2-production.html

เงินเฟ้อ สปป.ลาว เดือนพ.ย.65 พุ่ง 38.46%

สำนักงานสถิติแห่งสปป.ลาว เผย อัตราเงินเฟ้อของสปป.ลาว เดือนพฤศจิกายน 2565 พุ่งขึ้นเป็น 36.75%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน และเพิ่มจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 36.75% ส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าวพบว่า ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 55.4% เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทบต่อราคาของใช้จำเป็นอื่นๆ เพิ่มขึ้นไปด้วย ส่วนค่าเงินกีบอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ อย่าง ดอลลาร์สหรัฐฯ, เงินบาทไทย และเงินหยวนของจีน เป็นต้น ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นายทองลุน สีสุลิด ประธานประเทศ และเลขาธิการพรรคประชาชนปฏิวัติสปป.ลาว ได้ให้คำมั่นว่าจะเร่งแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินกีบที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://laotiantimes.com/2022/12/05/laos-inflation-rate-shoots-up-to-38-46-percent-in-november/

 

เดือนพ.ย.65 เกาหลีใต้ออกใบอนุญาตให้แรงงานเมียนมาเข้าประเทศกว่า 700 คน

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาในกรุงโซล เผย แรงงานเมียนมาทั้งหมด 720 คนได้รับคัดเลือกจากเกาหลีผ่านระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ในเดือนพฤศจิกายน 2565  ซึง่แรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานใหม่และแรงงานที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว โดยจะเข้าไปทำงานในภาคการผลิต การก่อสร้าง เกษตรกรรมและปศุสัตว์ จากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2565 ถึงกลางปี 2566 คาดว่าจะมีแรงงานข้ามช่าติมากกว่า 37,000 คนเข้ารับการทดสอบคุณสมบัติ EPS-TOPIK (ระบบใบอนุญาตการจ้างงาน-การสอบวัดระดับความถนัดทางภาษาเกาหลี) ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติกว่า 50,000 คนทำงานอย่างถูกกฎหมายในเกาหลีใต้  ซึ่งบริษัทนายจ้างจะรับสมัครผู้ที่มีศักยภาพที่ผ่านการทดสอบ EPS-TOPIK เท่านั้น ในปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องการแรงงานใหม่และแรงงานที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานของเกาหลีใต้ เผย ค่าแรงขั้นต่ำในเกาหลีใต้อยู่ที่ 9,000 วอนต่อชั่วโมงในปี 2565 เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองการจ้างงานในเกาหลีใต้ ทำให้แรงานในประเทศต้องดิ้นรนหางานในประเทศเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/roks-eps-legally-recruits-over-700-myanmar-workers-in-november/#article-title