การปรับปรุง EDL ถือเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินงานของ Electricite du Laos (EDL) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างการดำเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจ EDL ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่สำคัญ มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของประเทศ การปฏิรูปองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้องค์กรสามารถปฏิบัติหน้าที่และตอบสนองต่อความต้องการของคนในท้องถิ่นได้ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการปฏิรูปจะช่วยเสริมสร้างการดำเนินงานของ EDL และมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ การปฏิรูป EDL เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลเห็นรัฐวิสาหกิจจำนวนมากดำเนินการได้ไม่ดี ขาดทุนมหาศาล และก่อให้เกิดหนี้สาธารณะจำนวนมาก สมาชิกรัฐสภาได้ผลักดันให้มีการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในลาวต่อไป หลังจากได้เรียนรู้ว่ารัฐวิสาหกิจในจีนและเวียดนามได้กลายเป็นกลไกขับเคลื่อนความสำเร็จให้กับประเทศของตน ในขณะที่ลาวยังคงขาดทุนต่อไป

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten78_Revamp.php

มะม่วงเซ่งตะโลงขาดแคลนหนัก หนุนราคาพุ่ง!

นาย U Kyaw Soe Naing เลขาธิการสมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีเมียนมา (เมืองมัณฑะเลย์) เผย ราคามะม่วงมะม่วงเซ่งตะโลง (Seintalone) จำหน่ายอยู่ที่ 33,000-35,000 จัตต่อ 1 ตะกร้า (16 กิโลกรัม จำนวน 50-60 ผล) ส่วนมะม่วงมีคุณภาพต่ำราคาจะอยู่ที่ 300,000-500,000 จัตต่อตันเท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 18 เม.ย.2565 ที่ผ่านมาเกิดลมแรงในพื้นที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อสวนมะม่วงในมัณฑะเลย์ อีกทั้งปีนี้มีแนวโน้มผลผลิตลดลง 30% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเนื่องจากลมแรงและแมลงศัตรูพืช และชายแดนจีนยังคงปิดตัวอยู่ ดังนั้นจึงพึ่งพาตลาดภายในประเทศเท่านั้น อีทั้งรี้ราคาถุงห่อผลมะม่วงในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นจาก 27 จัตเป็น 47 จัตต่อถุง ทำให้จ้าของสวนบางรายไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนนี้ได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/26-april-2022/#article-title

คาดมูลค่าการค้าระหว่าง กัมพูชา-เวียดนาม แตะหมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2022

กระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาและกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามได้ร่วมหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการค้า โดยให้คำมั่นที่จะผลักดันปริมาณการค้าทวิภาคีให้มีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ภายในปีนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการหาวิธีแก้ไข Extended Cumulation Rule สำหรับการผลิตจักรยานที่กัมพูชาส่งออกไปยังสหภาพยุโรป หลังจากที่ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรปได้มีผลบังคับใช้ไปเมื่อในปี 2020 ในขณะที่ประเด็นการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์และน้ำตาลจากกัมพูชาไปยังเวียดนาม ซึ่งมีอุปสรรคทางเทคนิคบางประการ ทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะทำงานร่วมกันต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเต็มความสามารถ โดยในปี 2021 ปริมาณการค้าร่วมระหว่างกัมพูชากับเวียดนามแตะระดับเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในไตรมาสแรกของปีนี้ การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเวียดนามมีมูลค่าแตะ 1.7 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกัมพูชาส่งออกของกัมพูชาไปยังเวียดนามมูลค่า 758 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากเวียดนามมูลค่า 963 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501063033/cambodia-vietnam-eye-10-billion-bilateral-trade-in-2022/

RCEP โอกาสการค้า กัมพูชา-จีน และกลุ่มประเทศสมาชิก

หลังความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปี 2022 ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกัมพูชาและประเทศสมาชิกอื่นๆ ให้เกิดการเร่งการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่ง RCEP ถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน โดยจีนถือเป็นส่วนสำคัญในข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งปัจจุบันการค้าระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอีก 14 ประเทศขยายตัวถึงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นมูลค่า 442.75 พันล้านดอลลาร์ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 คิดเป็นร้อยละ 30.4 เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าทั้งหมดของปีก่อน ข้อมูลจากกระทรวงศุลกากรจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501063032/rosy-prospects-ahead-for-economic-ties-between-china-other-rcep-members/

‘IMF’ คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปี 65 โต 6%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 ขยายตัว 6% และจะพุ่งขึ้น 7.2% ในปี 2566 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คาดการณ์ในครั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้นโยบายให้ปรับตัวร่วมกับการระบาดของโควิด-19 และการประสบความสำเร็จจากการฉีดวัคซีน ควบคุมการระบาด ทั้งนี้ นาง Era Dabla-Norris หัวหน้าคณะทำงานกองทุนการเงินระหว่างประเทศฝ่ายภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ได้เข้าร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาวุโสของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV), กระทรวงการคลัง (MOF), สำนักงานวางแผนและการลงทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะปรึกษาหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการให้คำแนะนำด้านนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งจากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ IMF เปิดเผยว่าความขัดแย้งในยูเครน คาดว่าจะส่งผลกระทบการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อ ถึงแม้ว่าราคาสินค้าสูงขึ้น แต่ภาวะเงินเฟ้อยังสามารถควบคุมได้และอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ 4%

ที่มา : https://hanoitimes.vn/vietnam-forcast-to-achieve-gdp-growth-of-6-this-year-imf-320607.html

 

‘เวียดนาม’ เผยไตรมาสแรก ปี 65 อุตสาหกรรมเหล็ก ขาดดุลการค้า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ

สมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) เปิดเผยไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 อุตสาหกรรมเหล็กได้นำเข้า 3 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าราว 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จะบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่ประมาณ 5% แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว เป็นผลมาจากพัฒนาเรื่องระบบการเมืองการปกครองที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต นอกจากนี้ ยอดขายเหล็กสำเร็จรูป 8,137 ตัน เพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปริมาณการใช้เหล็กเพิ่มสูงขึ้นจากการลงทุนของภาครัฐในโครงการใหม่ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและวิศวกรรมก่อสร้าง ทำให้ต้องนำเข้าเหล็กมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/steel-industry-posts-trade-deficit-of-us-800-million-in-first-quarter-post939405.vov

ไฟเขียวต่างชาติลงทุน53ราย สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่าหมื่นล้าน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือนมีนาคม 2565 คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย 53 ราย โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 17 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 36 ราย เงินลงทุนทั้งสิ้น 10,838 ล้านบาท ประกอบธุรกิจในไทย ส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ นำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจกว่า 962 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 447 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีฉพาะด้าน เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมหลุมเจาะปิโตรเลียม การใช้โปรแกรมในการออกแบบระบบโซลาร์ขั้นสูง และการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า เป็นต้น

ที่มา: https://www.naewna.com/business/649594

สปป.ลาวเรียกร้องให้มีการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนในการประชุมสุดยอดน้ำเอเชียแปซิฟิก

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวพันธุ์คำ วิภาวัณ เรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกันเพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยหัวข้อนี้จะเป็นศูนย์กลางในการประชุมสุดยอดน้ำเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4 ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าว “มีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราต้องดำเนินการจัดการน้ำและทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน” สปป. ลาวให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับทรัพยากรน้ำและน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้น้ำและทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์และการจัดการที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิผลสูงสุดจะมีประสิทธิผลสูงสุดและมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ลาวให้ความสำคัญกับการทูตน้ำโดยส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติในด้านการจัดการน้ำและทรัพยากรน้ำมาตรการระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดการน้ำได้รวมอยู่ในมาตรการระดับชาติเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดการที่เหมาะสมในประเทศลาว ซึ่งรวมถึงการรวม SDG6 เข้ากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อีกทั้งในที่ประชุมผู้นำยังเห็นพ้องที่จะสนับสนุนสถาบันที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิภาพในภาคส่วนน้ำต่อไปเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG6 ในเรื่องเกี่ยวกับน้ำ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten77_Laos_calls.php