รอบ1 ปี เขตพะโค ดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสะพัดกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุน ในประเทศอีก 8.3 พันล้านจัต

จากรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตพะโค (BRIC) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2564 ถึง 1 ก.พ. 2565 เขตพะโคสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 110.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนภายในประเทศจำนวน 8.329 พันล้านจัต สร้างตำแหน่งงานกว่า 4,953 ตำแหน่ง โดยพื้นที่ของเขตพะโคนั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบมากมายในการผลิตปุ๋ยธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานในการตัด การผลิต และการบรรจุ (Cutting Making and Packaging : CMP) ที่น่าสนใจเพราะมีแรงงานฝีมืออยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การอนุมัติให้เข้ามาลงทุนต้องผ่านการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/bago-region-pulls-over-110-mln-foreign-investment-k8-3-bln-domestic-investment-in-one-year/#article-title

เทรนด์อีคอมเมิร์ซ ‘เวียดนาม’ ดันธุรกิจ บริการขนส่งโต

ตามข้อมูลของสมาคมอีคอมเมิร์ซเวียดนาม (VECOM) รายงานว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในเวียดนาม เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 38% หากนับตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งสูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยที่ 33% ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม เมื่อปีที่แล้วตลาดออนไลน์ยักษ์ใหญ่เติบโตราว 8-50% ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ก.ย. ในปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการเข็มงวดของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และคาดการณ์ว่ายอดคำสั่งซื้อจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 8-10% ต่อปี นอกจากนี้ ธุรกิจให้บริการขนส่งเตรียมการตอบสนองกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย.64 จำนวนผู้ให้บริการไปรษณีย์ในเวียดนามสูงถึง 650 ราย เพิ่มขึ้น 67 รายเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1158307/fast-growing-e-commerce-fuels-delivery-service-boom-in-viet-nam.html

‘สิงคโปร์’ ผู้นำการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ FDI ในเวียดนาม ปีนี้

ตามรายงานของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ (FIA) ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม เปิดเผยว่าสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ของนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม มูลค่า 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 59.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาเกาหลีใต้ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 12% และจีน 538 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 29.3% ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปเป็นภาคธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 63% ของทุนจดทะเบียนรวมทั้งหมด หรือเป็นมูลค่า 3.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาภาคอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่ารวมกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (30% ของทั้งหมด) อีกทั้ง เมืองโฮจิมินห์ยังคงเป็นเมืองที่ได้รับการดึงดูดจากเม็ดเงิน FDI มากที่สุด มีมูลค่ามากกว่า 52.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 12.6% ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาจังหวัดบิ่นห์เยืองและฮานอย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/economy/singapore-leads-fdi-pledges-in-vietnam-this-year-4432527.html

‘ธนวรรธน์’เชื่อ ศึกสู้รบ’ยูเครน’ กระทบวงจำกัด

ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงยูเครน-รัสเซีย มองว่า อยู่ในวงจำกัดไม่กระทบเศรษฐกิจโลก ช่วงแรกของการประกาศบุกยึดยูเครน ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงร้อยละ 2-5 เพราะคาดการณ์อนาคตไม่ได้ อาจทำให้รัสเซียส่งออกน้ำมันไม่ได้หรือรัสเซียไม่ส่งน้ำมันให้ยุโรป หากสู้รบบานปลาย ตลาดจึงคาดการณ์การค้าขาย การท่องเที่ยวโลกจะแย่ลง หากความรุนแรงทั้งสองประเทศยืดเยื้อ จนทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกพุ่งถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จะกระทบต่อไทย ทำให้ราคาขายปลีกแพงขึ้น กระทบต่อการท่องเที่ยว การส่งออก กระทบจีดีพีไทย ขยายตัวร้อยละ 3.5-4 และขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะทรุดตัวรุนแรง

ที่มา: https://www.naewna.com/business/638271

ม.มหิดล ร่วมเสนอแนวคิดฟื้นฟูภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะทำงานจาก 21 ประเทศกลุ่มสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) โดยได้กล่าวถึงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดระลอกใหม่อย่างยั่งยืนว่าภาคส่วนต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ในคลัสเตอร์ เช่น ด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture) รวมไปถึงด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness) ภายใต้นโยบาย BCG นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านอาหารและการเกษตร ผ่านการพัฒนาโภชนเภสัช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การเพิ่มผลผลิต และการทำการเกษตรแม่นยำสูง และในด้านการแพทย์และสุขภาพ ได้มุ่งเน้นไปสู่การแพทย์แม่นยำสูง เทคโนโลยีจีโนมิกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ (medical hub) เป็นต้น

 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3300783

“เวิลด์แบงก์” ประเมินเวียดนามได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและรายได้มากที่สุดในสมาชิก RCEP

ตามรายงานของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่าได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเข้าร่วมสมาชิกของเวียดนามจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยพิจารณาแบบจำลองจาก 4 ปัจจัยที่สะท้อนให้ทราบถึงสถานะของธุรกิจ 1) การปรับลดภาษีของกลุ่ม RCEP เพียงข้อตกลงการค้าฉบับเดียวเท่านั้น 2) ลดอัตราภาษีศุลกากรและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ การลดภาษีสินค้าเกษตร 35%,  สินค้าอุตสาหกรรม 25% และบริการ 25% 3) ต้นทุนการค้าระหว่างสมาชิกลดลง 1% ในช่วงปี 2565-2578 4) ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการเปิดกว้างทางการค้าและต้นทุนการค้าที่ลดลง ดังนั้น ผลจากการวิเคราะห์ พบว่ารายได้และการค้าที่แท้จริงของเวียดนามขยายตัวได้ดี ตลอดจนได้รับผลประโยชน์สูงสุดในสมาชิก RCEP รายได้ที่ทแจริงเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับระดับพื้นฐาน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-to-get-highest-trade-income-gains-among-rcep-members-wb-post926211.vov