ม.ค. มูลค่าการค้าระหว่าง กัมพูชา-RCEP ขยายตัวกว่า 21.2%

มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชากับประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในช่วงเดือนมกราคม 2024 มีมูลค่ารวมสูงถึง 2.74 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MoC) ซึ่งปริมาณการค้ารวมดังกล่าวคิดเป็นกว่าร้อยละ 67.6 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.05 พันล้านดอลลาร์ โดยประเทศคู่ค้าหลัก 5 อันดับแรก ภายใต้ข้อตกลง ได้แก่ จีน เวียดนาม ไทย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ด้าน Penn Sovicheat รัฐมนตรีต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาและโฆษก กล่าวว่า RCEP ถือเป็นตัวเร่งการเติบโตทางการค้าของประเทศ และเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501449110/cambodias-trade-with-rcep-countries-up-21-2-pct-in-january/

2023 มูลค่าการค้ารวมระหว่าง กัมพูชา-RCEP เกือบแตะ 3 หมื่นล้านดอลลาร์

การค้าระหว่างกัมพูชาและอีก 14 ประเทศ ในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวที่มูลค่ารวม 8.172 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 28  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2.129 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของประเทศ โดยหลังจากการลงนามในข้อตกลงดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มสมาชิค RCEP เพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น อินโดนีเซียจากการเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 12 ของกัมพูชาในช่วงก่อนหน้านี้ ปรับมาเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 6 ของปีที่แล้ว โดยมีปริมาณการค้าทวิภาคีเกือบ 1.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบรายปีก่อนเกือบร้อยละ 15 คิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 92.74 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 151.7

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501437300/cambodia-rcep-members-trade-hits-nearly-30-bn-in-2023/

กัมพูชาส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ RCEP ขยายตัว 28% ในปี 2023

การส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มประเทศความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2023 ซึ่งบ่งชี้ถึงการเติบโตสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชา ส่งตรงไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 8.17 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มูลค่า 6.34 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 34.62 ของการส่งออกกัมพูชาในปี 2023 ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) อย่างไรก็ตาม หากคิดเป็นมูลค่าการค้าระหว่างกลุ่มประเทศกลับลดลงร้อยละ 5.07 เหลือมูลค่า 29.45 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะเห็นการเติบโตของการส่งออกระหว่างประเทศร้อยละ 9.4 ถึงร้อยละ 18 ตามข้อตกลง RCEP ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาระหว่างร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 3.8 กล่าวโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (MoC)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501423017/cambodias-exports-to-rcep-nations-up-28-percent-in-2023/

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้นร้อยละ 26

การส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งระบุว่า กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวมูลค่ารวม 6.45 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 จากมูลค่ารวม 5.1 พันล้านดอลลาร์ของช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกสินค้าส่งของกัมพูชาร้อยละ 33 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและประเทศสมาชิก RCEP กลับลดลงร้อยละ 7.6 เหลือมูลค่า 2.41 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับความตกลงการค้าเสรี RCEP เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 ร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 15 ประเทศ รวมถึงประเทศสมาชิก 10 ประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมถึงประเทศคู่ค้าสำคัญ 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501402454/cambodias-exports-to-rcep-countries-up-26-percent/

RCEP ดันการเข้าถึงตลาดต่างประเทศของกัมพูชา

Sok Siphana รัฐมนตรีอาวุโสฝ่ายความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ในระหว่างการบรรยายเรื่อง ‘การวิเคราะห์แง่มุมทางกฎหมายของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค’ ณ กระทรวงสารสนเทศ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 พ.ย.) ซึ่งสิทธิพิเศษทางการค้าของ RCEP นอกจากจะกระตุ้นทางด้านการค้าแล้ว ยังส่งผลต่อภาคการลงทุน และการไหลเวียนของภาคประชาชนข้ามพรมแดนมากขึ้น จากการเร่งบูรณาการทางเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ RCEP มูลค่ารวม 5.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นกว่าสัดส่วนร้อยละ 33 ของการส่งออกรวมกัมพูชาที่มีมูลค่ารวม 17.59 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วง 3 ไตรมาสของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501395909/rcep-helps-international-market-access-to-cambodia/

กัมพูชาชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ขยายตัวกว่า 23.6%

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มูลค่า 5.81 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัวถึงร้อยละ 23.6 สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ตามการรายงานล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (MoC) โดยได้ทำการส่งออกไปยังเวียดนามมากที่สุดมูลค่า 2.03 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 ส่งออกไปยังจีน 1.06 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 และส่งออกไปยังญี่ปุ่นที่มูลค่า 885.7 ล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับข้อตกลงการค้าเสรี RCEP ประกอบด้วย 15 ประเทศสมาชิก ในพื้นที่เอเชียแปซิฟิก รวมถึง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ร่วมกับคู่ค้าสำคัญอีก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น ภาคใต้ เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ด้วยข้อตกลงดังกล่าวเอื้อต่อภาคการค้าระหว่างประเทศโดยประเทศสมาชิกตกลงที่จะให้สิทธิทางอัตราภาษีพิเศษระหว่างกัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501382938/cambodias-export-to-other-rcep-members-up-23-6-percent-in-9-months/

ไทยเข้าเกียร์เดินหน้าทำเอฟทีเอหวังแซงเวียดนามขึ้นเบอร์ 1 อาเซียน

“เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ณ กรุงนิวยอร์ก สหรัฐฯ โดยประเด็นหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์คือ แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลที่แล้วไม่ได้ให้ความสนใจในการลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรีมากนัก ทำให้ไทยยังตามหลังเวียดนาม ซึ่งต้องเร่งเดินหน้าเจรจากรอบความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ (FTA) เพื่อเปิดตลาดการค้าใหม่ ซึ่งการทำเอฟทีเอเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้ต่อรัฐสภา โดยในประเทศกลุ่มอาเซียน ประเทศเวียดนามถือเป็นเบอร์ 1 ของอาเซียนที่ทำเอฟทีเอมากที่สุด โดยเวียดนามมีเอฟทีเอ รวม 15 ฉบับ คลอบคลุม  53  ประเทศ (ทั้งระดับพหุภาคีและทวิภาคี) ได้แก่ 1.ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน  2. อาเซียน-จีน  3.อาเซียน-เกาหลีใต้  4. เวียดนาม-ญี่ปุ่น  5.เวียดนาม-เกาหลีใต้  6.อาเซียน-อินเดีย 7.อาเซียน- ออสเตรเลีย –นิวซีแลนด์ 8.เวียดนาม-ชิลี  9.เวียดนาม-เกาหลีใต้ ขณะที่ไทยมีเอฟทีเอเพียง 14 ฉบับ 18 ประเทศ ซึ่งน้อยทั้งจำนวนน้อยกว่าประเทศอื่นประเทศเพื่อนบ้านทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย  เวียดนาม ทั้งจำนวนฉบับและประเทศที่คลอบคลุม

โดยเอฟทีเอไทย 14 ฉบับประกอบด้วย  1.อาเซียน 9 ประเทศ 2. อาเซียน-จีน 3. อาเซียน-ญี่ปุ่น 4.อาเซียน-เกาหลีใต้ 5.อาเซียน-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 6.อาเซียน- อินเดีย 7.อาเซียน-ฮ่องกง 8.ไทย-ออสเตรเลีย 9..ไทย-นิวซีแลนด์ 10.ไทย-ญี่ปุ่น 11.ไทย- เปรู 12.ไทย-ชิลี 13.ไทย-อินเดีย และ14.ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)  ซึ่งเป็นเอฟทีเอเป็นฉบับล่าสุดของไทย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1089953

8 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกแตะ 15.7 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 0.3%

กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) รายงานภาวะการส่งออกของกัมพูชาส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2023 มีมูลค่ารวม 15.7 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากมูลค่า 15.64 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละถึงร้อยละ 16.8 หรือคิดเป็นมูลค่า 940 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มูลค่า 804.6 ล้านดอลลาร์

ซึ่งรายงานระบุว่าจีนถือเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญของกัมพูชาที่มีศักยภาพ เหมาะสมแกการผลักดัน รองจากสหรัฐฯ และเวียดนาม ด้านสินค้าส่งออกหลักที่กัมพูชาส่งออก ได้แก่ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทาง จักรยาน และสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง กล้วย มะม่วง และลำไย ขณะที่ Penn Sovicheat รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวเสริมว่า การเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังจีนอย่างมีนัยสำคัญเป็นผลมาจากการที่กัมพูชามีข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงเขตการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นภาคการส่งออกไปยังจีนและประเทศอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้กรอบข้อตกลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501357435/cambodias-exports-worth-15-7-billion-in-8-months-up-0-3-pct/

7 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังตลาดกลุ่ม RCEP กว่า 4.6 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังประเทศในกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มูลค่ารวมกว่า 4.59 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามคำแถลงของกระทรวงพาณิชย์ โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของกลุ่มประเทศ RCEP คิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลก (GDP) รวมถึงคิดเป็นร้อยละ 28 ของมูลค่าการค้าโลก และมีเม็ดเงินลงทุนร้อยละ 32.5 ของมูลค่าการลงทุนทั่วโลก ซึ่งข้อตกลงนี้คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และป้องกันแนวโน้มต่อต้านโลกาภิวัตน์ รวมถึงฝ่าวิกฤตการกีดกันทางการค้าระดับโลก ด้านกัมพูชาคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดและพัฒนาฐานการผลิตในอาเซียน ไปจนถึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตัวแปรหลักบนห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501346750/cambodias-exports-4-6b-to-rcep-markets-in-first-7-months/

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังประเทศกลุ่ม RCEP ขยายตัว 24%

การส่งออกของกัมพูชาไปยังกลุ่มประเทศความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในช่วงครึ่งแรกของปี มีมูลค่ารวมกว่า 4.07 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับประเทศที่กัมพูชาส่งออกสามอันดับแรกภายใต้ RCEP ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ เวียดนามที่มูลค่า 1.43 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 22, จีน 713 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 17 และญี่ปุ่นที่มูลค่า 545 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 1 รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา สำหรับ RCEP ประกอบด้วย 15 ประเทศ ในเอเชียแปซิฟิก และ 15 รัฐสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และคู่ค้าอีก 5 แห่ง ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501328587/cambodias-export-to-rcep-nations-rises-by-24-yoy-in-h1-2023/