การส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้น 16% ใน 4 เดือน

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจครอบคลุม (RCEP) มูลค่ากว่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.2 จากมูลค่า 2.89 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ซึ่งคาดว่าการเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากภาษีศุลกากรทางด้านการค้าที่ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ ส่งผลให้ผู้ส่งออกสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้า กระตุ้นให้การส่งออกและนำเข้าจากกัมพูชาปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านความตกลงเขตการค้าเสรี RCEP มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 โดยสามอันดับแรกของประเทศที่กัมพูชาส่งออกไปยัง RCEP ได้แก่ เวียดนาม ไทย และจีน โดยมีมูลค่าการส่งออก 1.25 พันล้านดอลลาร์, 958 ล้านดอลลาร์ และ 328 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่แหล่งนำเข้าของกัมพูชายังคงมาจากจีนที่มูลค่ารวม 2.53 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 6.34 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีกก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501489447/cambodias-exports-to-rcep-countries-up-16-percent-in-4-months/

ACFTA ดันการค้าทวิภาคี กัมพูชา-จีน แตะ 11.69 พันล้านดอลลาร์

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ได้ส่งเสริมการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนนับตั้งแต่ปี 2010 โดยปัจจุบันทางการจีนพยามยามผลักดันการเจรจา FTA เป็นเวอร์ชัน 3.0 ซึ่งข้อตกลง ACFTA ได้เริ่มมีผลบังคับใช้มาแล้ว 13 ปี ส่งผลทำให้การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนเติบโตถึง 10 เท่า นับตั้งแต่ปี 2010 จากมูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์ สู่ 11.69 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 21.37 กล่าวโดย Tat Puthsodary รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ กรุงพนมเปญ ขณะที่ Academy for International Business Officials (AIBO) หน่วยงายร่วมของกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 วัน โดยมุ่งสร้างขีดความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่กัมพูชาในเรื่องกฎแห่งถิ่นกำเนิดสินค้า ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าของกัมพูชา สำหรับการค้าระหว่างทั้งสองประเทศมีมูลค่าเกือบ 980 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2022 มากกว่าปี 2013 ถึง 1.2 เท่า ที่มูลค่าประมาณ 440 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501380743/acfta-boosts-cambodia-china-bilateral-trade-to-11-69-billion/

สหรัฐฯ-เวียดนาม ยกระดับข้อตกลงการค้า ขยายขอบเขตความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานวานนี้ (10 ก.ย.) ว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ เดินทางเยือนกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม หลังเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดผู้นำจี 20 ก่อนบรรลุข้อตกลงกับเวียดนาม เกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์และแร่ธาตุ พร้อมขยายขอบเขตความสัมพันธ์สู่สถานะทางการทูตสูงสุด ในระดับเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ควบคู่ไปกับจีนและรัสเซีย

ที่มา : https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=RTdTL3ZRaVR4TWs9

กรมเจรจาฯ ลุยต่อช่วยเกษตรกร-ผู้ประกอบการ รับมือเปิดตลาดนมภายใต้ FTA

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ดำเนินโครงการ “โคนมไทยก้าวไกลขยายตลาดส่งออกได้ด้วย FTA” มาอย่างต่อเนื่อง โดยทำงานร่วมกับกรมปศุสัตว์ ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรกรโคนม และผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมความพร้อมสินค้านมโคแปรรูปและผลิตภัณฑ์นมของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดการค้าเสรี และเตรียมรับมือการเปิดตลาดนมภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยเฉพาะ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และ FTA ไทย-นิวซีแลนด์ รวมทั้งการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศคู่ FTA โดยเฉพาะอาเซียน จีน และฮ่องกง ที่ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมจากไทยแล้ว สำหรับแนวทางในการรับมือ กรมฯ ได้ลงพื้นที่ไปให้ความรู้ในการปรับตัว ช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้ได้มาตรฐานส่งออก ช่วยจับคู่ธุรกิจให้กับสหกรณ์โคนมและผู้ประกอบการนมโคและแปรรูปของไทยในการหาตลาดรองรับน้ำนมดิบอย่างยั่งยืน และช่วยหาตลาดส่งออก โดยเฉพาะประเทศที่มีการทำ FTA กับไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ สามารถส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2565 ไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และเป็นอันดับ 7 ในตลาดโลก โดยไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมสู่ตลาดโลก มูลค่า 593.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.78% และในช่วง 3 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-มี.ค.) ไทยส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมสู่ตลาดโลกมูลค่า 153.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% จีน มีส่วนแบ่งตลาด 5% และฮ่องกง มีส่วนแบ่งตลาด 5%

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9660000049989

CDC ให้การสนับสนุนภาคธุรกิจมาเลเซียในกัมพูชา

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) พร้อมที่จะให้บริการและสนับสนุนแก่นักลงทุนชาวมาเลเซียในกัมพูชา เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมายังกัมพูชามากขึ้น ด้าน Sok Chenda Sophea เลขาธิการสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา กล่าวในการประชุม ‘การเจรจาระดับสูงอาเซียน-อิตาลีว่าด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ’ ครั้งที่ 6 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยเลขาธิการ CDC กล่าวว่า ปัจจุบันกัมพูชาได้ออกกฎหมายด้านการลงทุนฉบับใหม่ เพื่อเป็นการสนับสนุนนักลงทุนและเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่นักลงทุนมากขึ้น ในการเข้ามาลงทุนยังกัมพูชา ด้าน Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวว่า ในเดือนมิถุนายนกัมพูชาจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติจากมาเลเซียและประเทศอื่น ๆ ได้มากขึ้น อันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้า อาทิเช่น EBA, GSP, FTA กัมพูชา-จีน และ RCEP ที่ถือเป็นปัจจัยที่นักลงทุนต่างชาติสนใจ โดยในช่วง มกราคม-พฤษภาคม ปีนี้ การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและมาเลเซียอยู่ที่ 244 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของกรมศุลกากรและสรรพสามิต ซึ่งคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 44 ล้านดอลลาร์ ไปยังมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501108010/cdc-offers-support-for-malaysian-businesses-in-cambodia/

นักลงทุนมาเลเซียเข้าลงทุนในกัมพูชามูลค่ารวมกว่า 3.2 พันล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้รายงานถึงการจดทะเบียนโครงการลงทุนของมาเลเซียรวมจำนวน 162 โครงการ มูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2022 โดย CDC ได้กล่าวรายงานในการประชุมระหว่างรองเลขาธิการคณะกรรมการการลงทุนกัมพูชาของ CDC และเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำกัมพูชา ซึ่งผู้แทนมาเลเซียแสดงความสนใจที่จะลงทุนเพิ่มเติมในด้านการศึกษา อสังหาริมทรัพย์ เหมืองแร่ และพลังงานในระหว่างการประชุม

โดยปัจจุบันกัมพูชามีข้อตกลงพิเศษทางการค้า ได้แก่ FTA กับจีน เกาหลีใต้ ไปจนถึง RCEP และ GSP ของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา และ EBA ของสหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่จะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้นจากผลประโยชน์ทางการค้าต่างๆ อย่างเช่นมาเลเซียซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนต่างชาติกลุ่มสำคัญของกัมพูชาในภาคอสังหาริมทรัพย์ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า และโรงงานแปรรูป ปัจจุบันปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชา-มาเลเซียเกินกว่า 500 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501048791/3-2-billion-worth-malaysia-investment-projects-registered-in-cambodia/

ข้อตกลง ‘UKVFTA’ กระตุ้นการค้าระหว่างประเทศ

นาย Tran Quoc Khanh รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยในงานจัดสัมมนาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าด้วยเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหราชอาณาจักร (UKVFTA) ถือเป็นทางด่วนทางการค้าที่ช่วยกระตุ้นการค้าระดับทวิภาคี ถึงแม้ว่าผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีอยู่ในช่วงการแพร่ระบาด แต่อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศสูงถึง 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยการส่งออกของเวียดนามไปยังสหราชอาณาจักร ขยายตัว 16% ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวจะเปิดโอกาสมากขึ้นสำหรับทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการประสานความร่วมมือและพึ่งพาความแข็งแกร่งของกันและกัน ส่งผลให้มูลค่าการค้าทวิภาคีเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ คุณ Nguyen Thu Trang ผู้อำนวยการศูนย์ WTO กล่าวว่าข้อตกลงการค้าเสรี “UKVFTA” ดีกว่าข้อตกลงอื่นๆ เนื่องจากมีกรอบระยะเวลาเตรียมการถึง 5 เดือน สำหรับบริษัทเวียดนามในการปรับตัวให้เข้ากับกฎการค้าใหม่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1165295/ukvfta-boosts-bilateral-trade.html

มูลค่าการค้าลาว-เวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5

แม้จะมีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่มูลค่าการค้าระหว่างสปป.ลาวและเวียดนามก็สูงถึง 671 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 36.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้านมูลค่าสินค้าที่ลาวนำเข้าจากเวียดนามมีมูลค่า 329 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 นอกจากนี้เวียดนามเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทย ปัจจุบันธุรกิจเวียดนามมีการลงทุนในโครงการ 414 ในประเทศลาว มูลค่าประมาณ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ไฟฟ้า และเหมืองแร่ ข้อมูลทั้งหมดได้เปิดเผยในที่ประชุมระหว่างรัฐบาลเวียดนามและรัฐบาลสปป.ลาว นอกจากการเปิดเผยข้อมูลแล้วทั้งสองฝ่ายได้ผลักดันให้ข้อตกลงการค้าไฟฟ้าบรรลุผลตามแผนซึ่งเรียกร้องให้มีความคืบหน้าในโครงการอื่นๆ ที่ตกลงกันต่อไป เช่น การก่อสร้างทางด่วนเวียงจันทน์-ฮานอย รถไฟลาว-เวียดนาม และสนามบินหนองค้างในจังหวัดหัวพัน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laoviet_trade_155.php

ไทยพร้อมบังคับใช้ความตกลง ATISA เพิ่มโอกาสลงทุนบริการในอาเซียน

พาณิชย์ เผย ไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ดำเนินการให้สัตยาบันความตกลงการค้าบริการฉบับใหม่ของอาเซียน หรือ ATISA แล้ว มีผลใช้บังคับ 5 เมษายนที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที  โดยความตกลง ATISA เป็นความตกลงด้านการค้าบริการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งผู้ให้บริการและนักลงทุนของไทยและสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมบรรยากาศการค้าบริการที่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ทั้งนี้ภายใต้ความตกลง ATISA ไทยมีโอกาสขยายการค้าและการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น บริการด้านสุขภาพ บริการด้านการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง บริการด้านก่อสร้าง บริการด้านการจัดประชุม และการจัดนิทรรศการ หรือ MICE เป็นต้น

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000033580

การเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างกัมพูชากับเกาหลีใต้ได้สิ้นสุดลงแล้ว

กัมพูชาและเกาหลีใต้ได้สรุปการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) แล้ว โดยจะมีการลงนามในสนธิสัญญาขั้นสุดท้ายในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับที่ 2 ที่กัมพูชาได้ทำในรูปแบบทวิภาคีกับคู่ค้าหลัก โดย FTA ทวิภาคีครั้งแรกกัมพูชาได้ลงนามกับประเทศจีน ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าสูงถึง 884 ล้านดอลลาร์ ณ เดือนธันวาคม 2020 ถึงแม่จะลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบเป็นรายปีตามตัวเลขของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2020 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปเกาหลีใต้ 317 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งกัมพูชาได้นำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 567 ล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งการประกาศข้อสรุปของการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างสองชาติจัดขึ้นที่โรงแรม โซฟิเทล พนมเปญ โดยกระทรวงพาณิชย์ (MoC)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50810013/kingdoms-free-trade-pact-talks-with-south-korea-concluded/