เดือนต.ค.-พ.ย.64 ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไปแล้วกว่า 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย สถานประกอบการต่างประเทศส่วนใหญ่จับตาภาคการผลิตของเมียนมาเพื่อดูแนวโน้มการลงทุน พบว่าเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนประมาณ 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 โครงการ ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 ของงบประมาณย่อยในปีงบประมาณปัจจุบัน ที่ผ่านมาการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาลดลงอย่างมากจากความต้องการของตลาดสหภาพยุโรปที่ตกต่ำในเดือนที่แล้ว ส่งผลให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ส่งผลโรงงานบางแห่งปิดตัวถาวรและชั่วคราว ทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่แบบ CMP และถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ เมียนมาดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่ากว่า 234.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท 13 แห่งในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 เป็นการลงทุนในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การก่อสร้าง การขนส่งและการสื่อสาร โรงแรมและการท่องเที่ยว และบริการอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการขยายทุนโดยวิสาหกิจที่มีอยู่แล้วและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-75-6-mln-in-oct-nov/#article-title

การค้าระหว่างจีน-กัมพูชา แตะ 10 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี

ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45.9 สู่มูลค่ารวม 10.98 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งไปแตะเป้าหมายที่ทั้งสองประเทศได้เคยให้คำมั่นว่าจะทำการค้าระหว่างกันให้ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ภายในปี 2023 โดยจีนยินดีร่วมมือกับกัมพูชาในการดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเสรีจีน-กัมพูชา และภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาค (RCEP) ไปจนถึงการส่งเสริมความร่วมมือในด้านโครงสร้างพื้นฐาน กำลังการผลิต และเศรษฐกิจดิจิทัล ภายในประเทศกัมพูชา ซึ่งจีนตั้งเป้าที่จะขยายการนำเข้าสินค้าของประเทศกัมพูชา รวมถึงส่งเสริมให้บริษัทจีนเข้าทำการลงทุนในกัมพูชา และส่งเสริมความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ซภายในประเทศกัมพูชาอีกด้วย
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50990694/china-cambodia-trade-volume-exceeds-10-billion-in-first-10-months-of-the-year/

กัมพูชาเตรียมรับปัจจัยบวก หลังจีนกำหนดลดภาษีนำเข้าจาก 9 ประเทศ

จีนกำหนดลดภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าหลายรายการที่นำเข้าจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน กัมพูชา สปป.ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2022 โดยคาดว่าหลังจากการดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการเติบโตของภาคการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ตามการระบุของกระทรวงการคลัง ซึ่งจีนกำหนดลดภาษีนำเข้าครอบคลุมกว่าร้อยละ 90 ของสินค้าที่ได้ทำการค้าระหว่างประเทศกลุ่มสมาชิก RCEP รวมถึงจีนจะรวมส่งเสริมการบูรณาการในอุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ RCEP ในอนาคต
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50990974/china-to-reduce-tariffs-on-goods-from-nine-countries-cambodia-set-to-benefit/

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว แนะภาครัฐและเอกชนต้องทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะความท้าทายในปัจจุบัน

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว เรียกร้องให้ภาครัฐและเอกชนกระชับความร่วมมือ เพื่อเอาชนะความท้าทายที่เกิดจากวิกฤตโควิดและเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ สปป.ลาวจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากศักยภาพและโอกาสผ่านโครงการทางรถไฟและทางด่วนลาว-จีน เพื่อพัฒนาโลจิสติกส์ บริการ และการท่องเที่ยว และบูรณาการเศรษฐกิจของเรากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ด้านตัวแทน SME กล่าวว่าหน่วยงานของรัฐควรกำหนดนโยบายและกลไกที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจ ทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อเพิ่มผลผลิต เพื่อที่พวกเขาจะได้สามารถผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและปรับปรุงบริการได้มากขึ้น ในช่วงหนึ่งของการประชุมนายกรัฐมนตรียังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ผู้ประกอบธุรกิจควรทบทวนการดำเนินงานและเรียนรู้วิธีนำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเป็นมืออาชีพและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในขณะเดียวกันควรที่จะร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อให้สามารถขยายธุรกิจของตนต่อไปได้
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Public_248.php

‘ธ.โลกและเอชเอสบีซี’ คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตได้ดี

นายทิม อีแวนส์ ผู้อำนวยการทั่วไปของ HSBC Vietnam กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มกลับมาเติบโต (GDP) อยู่ที่ 6.8% ในปีหน้า ได้รับแรงหนุนจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่มุ่งเน้นการลงทุนไปที่ภาคการผลิตเป็นหลัก สิ่งนี้ถือเป็นผลประโยชน์ต่อการส่งออกของเวียดนาม โดยเฉพาะข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้เมื่อช่วง 2 ปีทีผ่านมา ประกอบกับการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของการอุปโภคบริโภค เนื่องจากชาวเวียดนามใช้จ่ายในเรื่องของการพักผ่อนและการเดินทางมากขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารโลก (WB) เปิดเผยรายงานเศรษฐกิจมหภาคว่าทิศทางของเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าปลีก นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 31.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้เกินดุลการค้าเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1107853/wb-hsbc-optimistic-about-viet-nams-economy.html
 

‘ADB’ ชี้แรงงานเวียดนามส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะหางานใหม่

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานว่าแรงงานชาวเวียดนามส่วนใหญ่ 90% ตกงานในไตรมาสที่ 3 และไม่คิดที่จะมองหางานใหม่ โดยมีสัดส่วนมากกว่ากลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซียมีอัตราส่วน 60% และมาเลเซีย 40% เป็นต้น ธนาคารยังกล่าวเพิ่มอีกว่าผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้โรงงานต้องหยุดชะงักการดำเนินงาน ทำให้แรงงานตกงานและรายได้ลดลง ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) พบว่าจำนวนประชากรที่ตกงานในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านคน (หรือ 4.4% ของประชากรรวมทั้งประเทศ) นอกจากนี้ สำนักข่าว VnExpress และคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชน เปิดเผยผลการสำรวจแรงงาน 8,800 คน ชี้ว่าแรงงานกว่า 53% ยังคงว่างงานในปัจจุบัน, 41% ยังไม่สามารถหางานใหม่ที่เหมาะสมได้ ขณะที่แรงงานมากกว่าครึ่งหนึ่ง (55%) ไม่สามารถบอกได้ว่าจะเริ่มหางานได้เมื่อใด
ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/most-workers-stop-looking-for-new-jobs-adb-4404895.html
 

บิ๊กตู่ให้เร่งศึกษา ก่อนการจัดตั้ง สายการเดินเรือฯ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการตั้งบริษัท สายการเดินเรือแห่งชาติ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งเร่งศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตลอดจนความคุ้มค่าในการจัดตั้ง สอดคล้องการเชื่อมโยงตะวันออกสู่ภาคใต้ ระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน (Land Bridge) คาดว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จะลงนามในสัญญาจ้างศึกษาในเดือน ม.ค.2565 และจะศึกษาแล้วเสร็จในเดือน พ.ค.2565 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย. 2565 และเริ่มให้บริการเดินเรือ Domestic ทั้งนี้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน (Action Plan) เพื่อเตรียมการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ โดยให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
ที่มา: https://www.naewna.com/business/623250