ลาว ต่อเวลากฎคุมโควิดไม่มีกำหนด หลังป่วยเพิ่มทั่วประเทศ

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รัฐบาลลาวประกาศขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง หลังจากจำนวนผู้ป่วยในประเทศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ลาวจะยังคงปิดทำการพรมแดนและด่านตรวจ ยกเว้นด่านที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการเฉพาะกิจด้านการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แห่งชาติ ขณะเดียวกันจะงดออกวีซ่านักท่องเที่ยวให้ชาวต่างชาติ ยกเว้นบุคลากรการทูต พนักงานองค์กรระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนที่ต้องการเข้าประเทศเร่งด่วน ซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการทั้งหมดที่กำหนดโดยรัฐบาล

ที่มา : https://www.naewna.com/inter/615916

‘อโกด้า’ ชี้ชาวเวียดนามคาดการเดินทางทั่วโลกจะกลับมาอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า

อโกด้า (Agoda) ผู้ให้บริการดิจิทัลแพล็ตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยผลสำรวจหัวข้อ “ต้อนรับการกลับมาเดินทางอีกครั้ง” พบว่าชาวเวียดนามส่วนใหญ่ 60% คาดว่าการเดินทางจะกลับมาดำเนินการอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 45-54 ปี ส่วนใหญ่ 52% มองในแง่ดีต่อการปราศจากข้อจำกัดในการเดินทางในเอเชีย แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อสอบถามถึงการเดินทางทั่วโลกโดยปราศจากข้อจำกัด พบว่ากลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไปมองในทิศทางที่ดีมากที่สุด (54%) รองลงมาคือกลุ่มอายุ 45-54 ปี (45%)

ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 10 คาดหวังว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าเวียดนามได้ หลังจากผ่านไปเพียง 2 ปี รัฐบาลก็ได้ประกาศว่าจะเริ่มเปิดจุดหมายปลายทางบางแห่งสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน พ.ย. โดยเริ่มจากฟู้โกว๊ก (Phú Quốc) แต่มีเพียง 27% เท่านั้นที่เชื่อว่าการเปิดพรมแดนเต็มรูปแบบอีกครั้งน่าจะเป็นภายในสิ้นปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1080584/vietnamese-expect-global-travel-to-restart-in-next-6-months-agoda.html

‘IHS Markit’ ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัว

จากข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายปีนี้ของ IHS Markit แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวันกลับมาเพิ่มขึ้น รวมถึงการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ต่อวัน เริ่มลดลงในช่วงครึ่งหลังของเดือน ก.ย. และต้นเดือน ต.ค. การผ่อนตลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้โรงงานหลายแห่งกลับมาดำเนินกิจการอีกครั้ง ส่งผลให้ดัชนี PMI ภาคการผลิต พุ่งขึ้นแตะ 52.1 จุด ในเดือน ต.ค. นอกจากนี้ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้า มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวียดนามกลายมาเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย ได้แก่

(ประการแรก) เวียดนามยังคงได้รับประโยชน์จากต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่ำ,

(ประการที่สอง) เวียดนามมีกำลังแรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีการศึกษาที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(ประการที่สาม) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการใช้จ่ายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(ประการที่สี่) เวียดนามได้รับประโยชย์ในฐานะตลาดที่มีศักยภาพ

(ประการที่ห้า) บริษัทต่างชาติกระจายห่วงโซ๋อุปทานการผลิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงการหยุดชะงักด้านอุปทานและปัญหาทางการเมือง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/ihs-markit-optimistic-about-vietnams-economic-recovery-from-covid-19-wave-905282.vov

ถั่วเมียนมาเริ่มเป็นที่ต้องการจากอินเดีย

ผู้ค้าถั่วเมียนมา เผย ตลาดถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาคาดว่าจะเติบโตจากกลุ่มผู้ซื้อที่จากอินเดีย ชาวไร่ชาวสวนผู้ปลูกถั่วอินเดียประสบปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายต่อการปลูกถั่ว ดังนั้นความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กระทรวงการเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร ของอินเดียอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำรวมถึงถั่วพัลส์อื่น ๆ จากเมียนมา ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขในการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.2564ราคาของถั่วมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นราคาจึงไม่น่าจะลดลงจนถึงเดือนธ.ค. ปัจจุบัน ราคาถั่วเขียว (ชเววา) ต่อตะกร้าอยู่ที่ 44,000 จัต ถั่วเขียว 40,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วดำ 46,000 จัตต่อตะกร้า และถั่วลิสง 59 ,000 จัตต่อตะกร้า ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางเรือ 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 1.24 ล้าน และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านชายแดน 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวน 786,920 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bean-market-sees-high-potential-on-possible-demand-of-india/#article-title

สปป.ลาว UN ตกลงส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันอังคาร รัฐบาลและองค์การสหประชาชาติได้ลงนามในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ สปป. ลาว-UN (UNSDCF) ปี 2022-2026 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างลาวและสหประชาชาติในการบรรลุลำดับความสำคัญในการพัฒนาของลาว โดยมีลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์สี่ประการ: 1) สวัสดิภาพของประชาชน; 2) ความเจริญรุ่งเรืองรวม; 3) ธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม และ 4) สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความยืดหยุ่น กรอบความร่วมมือใหม่นี้จะเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการวางแผนและการดำเนินโครงการพัฒนาประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโลกขององค์การสหประชาชาติที่มุ่งมั่นทำให้ระบบการพัฒนาของสหประชาชาติมีความสอดคล้อง มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานของสหประชาชาติในลาวในช่วงปี พ.ศ. 2565-2569 โดยมีเป้าหมายเพื่อสนองความต้องการของสปป.ลาว ในการพัฒนาประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosUN_225_21.php

สปป.ลาวเพิ่มพื้นที่ผลิตผลทางการเกษตรตามแนวรถไฟจีน-ลาว

รัฐบาลสปป.ลาวได้วางแผนที่จะเร่งการจัดสรรพื้นที่การผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่สำคัญในจังหวัดตามแนวทางรถไฟและทางด่วนจีน-ลาว และจังหวัดที่มีศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้ ตามรายงานของสำนักข่าวลาวเมื่อวันศุกร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เพชร พรมพิภักดิ์ กล่าวว่า “กระทรวงของเขาได้กำหนดมาตรการพัฒนาการเกษตรที่มุ่งเน้นในปี 2565 มาตรการดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของพืชผลและสัตว์ ซึ่งจะทำการเกษตรเพื่อการค้าและการส่งออก และเพื่อดึงดูดการลงทุนในประเทศและต่างประเทศด้วยการกำหนดนโยบายที่เอื้ออำนวยและสร้างสภาพแวดล้อมในการลงทุนที่เอื้ออำนวย” แผนดังกล่าวจะเน้นไปที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปโดยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิต เช่น โรงสีข้าว โรงเลื่อย เครื่องอบแห้ง โรงงานปุ๋ยหมัก โรงฆ่าสัตว์ และสถานีขนถ่ายสินค้าที่สถานีรถไฟ และใช้เทคนิคการผลิตที่ทันสมัยเพื่อลดต้นทุน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50971550/laos-to-increase-agricultural-production-areas-along-china-laos-railway/