เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ 1.48 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 11 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.48 ล้านตัน มูลค่ากว่า 1.256 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งเป็นการส่งออกผ่านเส้นทางเดินเรือ คิดเป็นมูลค่า 1.131 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกพัลส์มากกว่า 1.338 ล้านตัน ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางชายแดน กว่า 143,119.469 ตัน มูลค่า 124.722 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เมียนมาส่งออกถั่วพัลส์หลากหลายประเภท ได้แก่ ถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยที่ถั่วดำและถั่วลันเตาจะถูกส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ส่วนถั่วเขียวจะถูกส่งออกไปยังจีนและยุโรป นอกจากนี้ อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ซึ่งอินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตา จำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 ซึ่งสนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมายังมีสิทธิ์ส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควต้าประจำปีนั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-1-48m-tonnes-of-pulses-worth-us1b-in-11-months/

เมียนมามีรายได้ 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.3 ล้านตันใน 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาจัดส่งถั่วพัลส์มูลค่ากว่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณกว่า 1.3 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกทางทะเล 1 พันล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วปริมาณกว่า 1.18 ล้านตัน และส่งออกผ่านทางชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณ 139,132 ตัน มูลค่า 119.73 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 รวมมูลค่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 1,319,203.97 ตัน อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยถั่วดำและถั่วลันเตาจัดส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ในขณะที่ถั่วสีเขียวส่งออกไปยังจีนและยุโรป อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตาจำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 สนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมามีสิทธิที่จะส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควตาประจำปีนั้น ทั้งนี้ราคาตลาดทั่วไปของถั่วดำอยู่ที่ 3.3 ล้านจ๊าดต่อตัน (urad), ถั่วลันเตา 4.027 ล้านจ๊าดต่อตัน (tur) และถั่วเขียว 2.04 ล้านจ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us1-123-bln-from-over-1-3m-tonnes-of-pulse-exports-in-ten-months/

‘เมียนมา’ เผยส่งออกถั่ว เม.ย.-ส.ค. พุ่ง 630,000 ตัน

สมาคมผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ถั่วพัลส์ ถั่วฝัก ข้าวโพด และงาแห่งเมียนมา รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ในช่วง เม.ย.-ส.ค. ปริมาณ 630,000 ตัน ทำรายได้เกินกว่า 511 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดอินเดียและจีน นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมา มีสัดส่วน 33% ขณะที่พื้นที่ปลูกถั่ว มีสัดส่วนเพียง 20% ของพื้นที่ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-630000-tonnes-of-beans-pulses-in-april-august/#article-title

ราคาถั่วชิกพีพุ่งขึ้นเป็นสองเท่าในปีนี้

ผู้ค้าถั่วในมัณฑะเลย์ เผยความต้องการราคาถั่วชิกพีมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาพุ่งไปอยู่ที่ 132,000 จัตต่อถุง จาก 80,000 จัตต่อถุง ชาวเมียนมาส่วนใหญ่ชื่นชอบการบริโภคถั่วชิกพีเพราะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์และรสชาติที่เข้มข้น แกงที่ทำจากถั่วชิกพีเป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นกระตุ้นให้โรงงานในมัณฑะเลย์เร่งเปิดดำเนินการ สามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้อีกด้วย ด้านการส่งออกตลาดหลัก คือ อินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่การเพาะปลูกถั่วชิกพีทั่วประเทศอยู่ที่ 890,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซะไกง์ อิรวดี และเนปิดอว์ การเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนต.ค.และพ.ย.และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนม.ค.ถึงเม.ย. ของแต่ละปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/chickpea-prices-rise-to-double-this-year/

ถั่วเมียนมาเริ่มเป็นที่ต้องการจากอินเดีย

ผู้ค้าถั่วเมียนมา เผย ตลาดถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาคาดว่าจะเติบโตจากกลุ่มผู้ซื้อที่จากอินเดีย ชาวไร่ชาวสวนผู้ปลูกถั่วอินเดียประสบปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายต่อการปลูกถั่ว ดังนั้นความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กระทรวงการเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร ของอินเดียอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำรวมถึงถั่วพัลส์อื่น ๆ จากเมียนมา ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขในการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.2564ราคาของถั่วมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นราคาจึงไม่น่าจะลดลงจนถึงเดือนธ.ค. ปัจจุบัน ราคาถั่วเขียว (ชเววา) ต่อตะกร้าอยู่ที่ 44,000 จัต ถั่วเขียว 40,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วดำ 46,000 จัตต่อตะกร้า และถั่วลิสง 59 ,000 จัตต่อตะกร้า ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางเรือ 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 1.24 ล้าน และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านชายแดน 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวน 786,920 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bean-market-sees-high-potential-on-possible-demand-of-india/#article-title

ราคาถั่วลิมาในตลาดปะโคะกูลดลง ผลจากอุปทานล้นตลาด

ราคาถั่วลิมากำลังลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดถึง  40,000 visses ( 1 Viss เท่ากับ 1.65 กิโลกรัม) จากเเมืองเยซาเกียวตลาดปะโคะกู (Pakokku) ในเขตมะกเว ในทุกๆ วัน โดยราคาถั่วลิมาที่ตลาดปะโคะกู อยู่ที่ราคา 14,000 ต่จัตอตะกร้า แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่ามีการบริโภคน้อยภายในประเทศและส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย จีน และประเทศในยุโรป ปีที่แล้วราคาอยู่ที่ 15,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วลิมา 1 ตะกร้ามี 19 visses จากข้อมูลพบว่าราคามาลดลง 1,000 จัตต่อตะกร้าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lima-bean-price-drops-due-to-immense-supply-into-pakokku-market/#article-title