สปป.ลาว นำเสนอแผนพัฒนาที่ยั่งยืน ณ เวที UN

รัฐบาล สปป.ลาว ได้ยืนยันความมุ่งมั่นในการสนับสนุนความร่วมมือในระดับพหุภาคี และยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2030 กล่าวโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr.Phoxay Khaykhamphithoune ซึ่งย้ำถึงจุดยืนของรัฐบาลในการดำเนินการ ร่วมกับความพยายามในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยรัฐบาล สปป.ลาว ได้นำมาตรการที่สำคัญมาปรับใช้ รวมถึงได้กำหนดวาระแห่งชาติว่าด้วยการจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินสำหรับปี 2021-2023 ไปจนถึงการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 สำหรับปี 2023-2025 เพื่อปรับตัวต่อสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos139.php

UN จัดอันดับความยั่งยืนไทย อันดับ 1 ของอาเซียนติดต่อกันปีที่ 5

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับทราบรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2566 หรือ Sustainable Development Report 2023 ขององค์การสหประชาชาติ (UN) และมีความยินดีที่การพัฒนาของประเทศไทยดีขึ้น โดย SDG Index ของไทยขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 43 จากประเทศที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด 166 ประเทศ ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากอันดับที่ 44 ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลคะแนน SDG Index ที่ 74.7 คะแนน ในปี 2566 ทำให้ไทยมีคะแนนการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำผลสัมฤทธิ์ที่รัฐบาลได้พยายามขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดให้ความยั่งยืนเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศ และเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนการพัฒนาประเทศในทุกระดับ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งฉบับที่ 12 และ ฉบับที่ 13

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/312516

ผู้เชี่ยวชาญ UN ชี้กองทัพเมียนมานำเข้าอาวุธจากจีน-รัสเซีย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่รัฐประหาร

กองทัพเมียนมานำเข้าอาวุธและยุทโธปกรณ์อื่นๆ อย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ (UN) กล่าวตามรายงานฉบับใหม่ที่เรียกร้องให้รัสเซียและจีนทำการช่วยเหลือฝ่ายต่อต้านที่เผชิญกับรัฐบาลทหารของเมียนมา ทั้งนี้ ทอม แอนดรูวส์ ผู้สื่อข่าวพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมา เปิดเผยว่า เฮลิคอปเตอร์ Mi-35, เครื่องบินรบไอพ่น MiG-29 และเครื่องบินแบบเบา Yak-130 ที่ผลิตในรัสเซีย และเครื่องบินไอพ่น K-8 ของจีน ถูกนำมาใช้ในการโจมตีทางอากาศที่โรงเรียน สถานพยาบาลและสิ่งก่อสร้างของพลเรือนหลายแห่ง นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็น ยังเปิดเผยข้อมูลการค้าว่ามีการถ่ายโอนของอาวุธกองทัพและสินค้าอื่นๆ รวมถึงวัตถุดิบที่กองทัพเมียนมาใช้ในการผลิต นับตั้งแต่มีการรัฐประหารพบว่ามีการถ่ายโอนอาวุธจากรัสเซียเป็นมูลค่ากว่า 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากจีน 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.scmp.com/news/asia/southeast-asia/article/3220940/un-expert-says-myanmar-military-imported-us1-billion-weapons-china-russia-and-others-coup

สปป.ลาว UN ตกลงส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันอังคาร รัฐบาลและองค์การสหประชาชาติได้ลงนามในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ สปป. ลาว-UN (UNSDCF) ปี 2022-2026 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างลาวและสหประชาชาติในการบรรลุลำดับความสำคัญในการพัฒนาของลาว โดยมีลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์สี่ประการ: 1) สวัสดิภาพของประชาชน; 2) ความเจริญรุ่งเรืองรวม; 3) ธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม และ 4) สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความยืดหยุ่น กรอบความร่วมมือใหม่นี้จะเป็นเอกสารสำคัญสำหรับการวางแผนและการดำเนินโครงการพัฒนาประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโลกขององค์การสหประชาชาติที่มุ่งมั่นทำให้ระบบการพัฒนาของสหประชาชาติมีความสอดคล้อง มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานของสหประชาชาติในลาวในช่วงปี พ.ศ. 2565-2569 โดยมีเป้าหมายเพื่อสนองความต้องการของสปป.ลาว ในการพัฒนาประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosUN_225_21.php

UN สนับสนุนโครงการฉีดวัคซีนโควิด -19 แก่สปป.ลาว

รัฐบาลสปป.ลาวได้รับวัคซีน AstraZeneca / Oxford 132,000 โดสเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสในสปป.ลาว วัคซีนชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวน 480,000 โดสที่ลาวคาดว่าจะได้รับจาก COVAX Facility ในปีนี้เพื่อแจกจ่ายให้ประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด การส่งมอบวัคซีนครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในสปป.ลาวถึงแม้สถานการณ์ของสปป.ลาวในปัจจุบันจะสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Ms Sekkenes ผู้ประสานงานด้านการกู้ชีพของสหประชาชาติประจำสปป.ลาว กล่าวเพิ่มเติมว่า “ สหประชาชาติพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิครวมถึงการสนับสนุนการระดมทรัพยากรและการสร้างความไว้วางใจตามมาตรฐานสากลสูงสุดสำหรับการดำเนินโครงการฉีดวัคซีนโควิด -19 ทั่วประเทศเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยประสิทธิภาพและการเข้าถึงที่เท่าเทียมกัน” โดยกลุ่มผู้ที่จะได้รับวัคซีนกลุ่มแรกคือกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทีมีความเสี่ยงสูงและคาดว่าจะสามารถฉีดให้กับประชาชนกว่าร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมดได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_UN_56.php

หน่วยงานของสหประชาชาติเริ่มดำเนินการเพื่อช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมในกัมพูชา

กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาการเกษตร (IFAD) ซึ่งเป็นองค์กรด้านการเงินระดับโลกและหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศแผนการที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรม และบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยความร่วมมือดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจของชุมชนในชนบทโดยการสร้างโอกาสให้กับแรงงานเกษตรกรและการขยายโอกาสสำหรับเกษตรกรรายย่อยด้วยการสนับสนุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งโครงการบริการการเกษตรเพื่อนวัตกรรมความยืดหยุ่นและการขยายตัว (ASPIRE) จะถูกนำโดย MAFF และมุ่งเน้นในทันทีคือการรักษาการผลิตผักใบเขียวและไข่ไก่เป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารท้องถิ่น พร้อมกันกับโครงการเร่งรัดการรวมตลาดสำหรับผู้ถือครองรายย่อย (AIMS) ที่นำโดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นช่องทางในการจัดหาทรัพยากรเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านชลประทานในฟาร์มแก่เกษตรกรเพื่อสนับสนุนในการผลิตสินค้าเหล่านี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715086/un-agency-springs-into-action-to-aid-agriculture-sector/

UN ปกป้องสิทธิสตรีในเมียนมาท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

สหประชาชาติ (UN) ยืนยันเมื่อวันที่ 15 เมษายน 63 ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลเมียนมาเพื่อปกป้องสิทธิและโอกาสของผู้หญิงท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ที่กำลังมีผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ร้ายแรงสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งเกือบ 60% ของผู้หญิงทั่วโลกทำงานในระบบเศรษฐกิจและนอกระบบมีรายได้น้อยลง ประหยัดน้อยลงและมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะตกอยู่ในความยากจน สถานการณ์ดังกล่าวเป็นที่จับตามากขึ้นในเมียนมาซึ่งผู้หญิงคิดเป็น 60% ของพนักงานที่ทำงานบริการด้านอาหารและที่พักและระหว่าง 70 ถึง 90% ของผู้ขายอาหารริมทาง นอกจากนี้แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงาน UN ได้ให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมนักสังคมสงเคราะห์กว่า 80 คนของกรมสวัสดิการสังคมในมิติทางเพศในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสังคม ทั้งนี้ยังมอบโทรศัพท์มือถือ 60 เครื่องให้แก่กระทรวงการสังคมสงเคราะห์บรรเทาทุกข์และการตั้งถิ่นฐานใหม่ เพื่อเพิ่มการบริการและช่วยเหลือทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/un-helps-safeguard-myanmar-women-rights-amid-pandemic.html