‘Fitch Ratings’ ชี้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง ชั่งน้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม

จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.ค.-สิ.ค. จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม และอาจปรับลดอันความน่าเชื่อถือเวียดนามอยู่ระดับ BB และปรับ Outlook เป็น Positive ทั้งนี้ ทางการเวียดนามประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ติดเชื้อให้อยู่ในระดับต่ำก่อนที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ด้วยเศรษฐกิจขยายตัว 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19ในเวียดนาม ปัจจุบันมากกว่า 95% ของประเทศ ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศต้องล็อกดาวน์ ด้วยเหตุนี้ ข้อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคงดำเนินการต่อไปหากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/jump-in-covid-19-cases-to-weigh-on-vietnams-economic-recovery-says-fitch-ratings-885400.vov

ราคาเมล็ดผักชีเมียนมาพุ่ง ตามความต้องการของต่างประเทศ

ราคาเมล็ดผักชีในเมียนมาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนส.ค.64 จากความต้องการที่สูงขึ้นของบังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน อีกทั้งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและต้นทุนเพาะปลูกไม่สูงมากสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ซึ่งบังคลาเทศนำเข้ามาใช้สำหรับทำผงเครื่องเทศทุกปี โดยราคาอยู่ที่ 650-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และใช้ในธุรกิจผงปรุงมาซาลา การปลูกเมล็ดผักชีเริ่มในเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม ปลูกมากในเขตมัณฑะเลย์และเขตมะกเว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/coriander-seed-prices-rise-on-strong-foreign-demand/#article-title

AIPA นำมติเสริมสร้างการสร้างประชาคมอาเซียน

มีการใช้ในการประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ครั้งที่ 42 ได้นำมติ 28 ข้อมาหารือซึ่งมติดังกล่าวเชื่อมโยงกับการสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการสตรี ความมั่นคงทางไซเบอร์ ความมั่นคงของมนุษย์ การทูตแบบรัฐสภา การส่งเสริม SMEs และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด การประชุมดังกล่าวใช้หัวข้อ “Forging Parliamentary Cooperation in Digital Inclusion to ASEAN Community 2025” ด้านสปป.ลาวประธานาธิบดีลาว ทองลุน สีสุลิด แห่งลาวในการประชุมครั้งนี้ยืนยันอีกครั้งว่าลาวสนับสนุนกรอบความร่วมมืออาเซียนในการยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาค นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการตามแผนแม่บทดิจิทัลของอาเซียน 2025 ต่อไป เพื่อปรับปรุงการสร้างประชาคมอาเซียนให้ทันสมัย ​​และลดความแตกต่างด้านการพัฒนาในประเทศสมาชิกอาเซียน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_AIPA166.php

กัมพูชาเล็งปรับใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาบริหารงบประมาณแผ่นดิน

ทางการกัมพูชามุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการจัดการงบประมาณแผ่นดิน ผ่านระบบการจัดการทางการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (FMIS) โดยความคืบหน้านี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในระหว่างการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่ง FMIS ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะที่ริเริ่มโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในการจัดการงบประมาณแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านรายจ่ายงบประมาณของประเทศ ด้วยการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการและความรับผิดชอบในการระดมทรัพยากรปัจจุบันและทุนของรัฐบาลทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50922444/cambodia-to-change-to-electronic-system-to-manage-national-budget/

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา กำหนดนโยบายรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ตัดสินใจกำหนดนโยบายที่จะรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงไตรมาสถัดไป โดยการตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 56 ที่จัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง NBC จะยังคงเสริมสภาพคล่องในระบบต่อไปผ่าน Liquidity-providing collateralized operations (LPCO) เพื่ออัดฉีดเงินเรียลเข้าสู่ระบบตามความต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น  โดยผู้ว่าการกล่าวว่าในปี 2020 มูลค่าของเรียลต่อดอลลาร์มีเสถียรภาพค่อนข้างดีแม้จะอ่อนค่าลงเล็กน้อย (น้อยกว่าร้อยละ 1) ซึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน NBC พยายามลดหรือจำกัดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการใช้เครื่องมือหลายอย่างเพื่อดูดซับหรืออัดฉีดสภาพคล่องภายในระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50922563/cambodian-monetary-policy-to-maintain-exchange-rate-stability/

เกษตร ถก อาเซียน +3 ถกปัญหาโควิดกระทบความมั่นคงอาหาร

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM-AMAF Leader) เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 20 สมัยพิเศษ (Special SOM-20th AMAF Plus 3) ผ่านการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าของกิจกรรมความร่วมมืออาเซียนบวกสามด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ ภายใต้ ASEAN Plus Three Cooperation Strategy (APTCS) Framework on Food, Agriculture, and Forestry และรับทราบผลการดำเนินงานขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 (ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve: APTERR) และสำนักงานเลขานุการระบบข้อมูลสารสนเทศความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Food Security Information System: AFSIS) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยไทยได้กล่าวในที่ประชุมถึงสถานการณ์ปัจจุบันของวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อระบบอาหารทั้งหมด ประเทศไทยเห็นควรส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของอาเซียนบวกสามมากยิ่งขึ้น ในด้านการแบ่งปันข้อมูลความมั่นคงด้านอาหารระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม การส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาในด้าน Food system ความมั่นคงอาหาร

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/956592