นครหลวงเวียงจันทน์ยืนยันไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

นครหลวงเวียงจันทน์ ยืนยันไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เป็นครั้งที่สอง นับตั้งแต่ระลอกที่สองเริ่มขึ้น ดร.พรประเสริฐ สายมงคล นำการบรรยายสรุปประจำวันโดยคณะทำงานเฉพาะกิจในวันนี้ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสในสปป.ปลาว จำนวนเคสทั้งหมดที่บันทึกไว้ในสปป.ลาวตอนนี้มียอดสะสมที่ 2,054 ราย ความพยายามอย่างต่อเนื่องของผู้อยู่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ในการปฏิบัติตามมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อแพร่กระจายในชุมชนมีแนวโน้มลดลง เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงที่สำคัญของสปป.ลาว ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการลงทุน การค้าขายและการท่องเที่ยว การที่สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้นถือเป็นสัญญาณที่ดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่องเหมือนช่วงปกติก่อนเกิดโควิด-19

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/06/21/vientiane-capital-confirms-zero-cases-of-covid-19/

สมาคมสิ่งทอเวียดนาม เผยยอดการส่งออกเครื่องนุ่มห่ม 15.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรก

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม (VITAS) เผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกของภาคเครื่องนุ่งห่ม เพิ่มขึ้น 21.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ราว 15.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกเส้นใยและเส้นด้าย ตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. พุ่ง 60.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี มูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การส่งออกผ้า เพิ่มขึ้น 26.4% สู่ 947 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าได้รับสัญญาเชิงบวกจากตลาดส่งออกสำคัญ ตลอดจนใช้โอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) สหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำเข้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและเกาหลีใต้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/garmenttextile-exports-hit-152-billion-usd-in-five-months-vitas/203370.vnp

เวียดนามส่งออกไปอียู ‘พุ่ง’ แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ตามข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังยุโรป เป็นมูลค่า 16.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอยู่ที่ 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.1% และ 16.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 5 ของเวียดนาม และเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่อันดับสอง รองจากสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ ว่าด้วยข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป ทำให้สินค้าทางการเกษตรของเวียดนามได้รับประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล (VASEP) ระบุว่าผู้นำเข้ายุโรปหลายราย ได้แสดงความสนใจต่อซัพพลายเออร์อาหารทะเลของเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากได้ประโยชน์จากอัตราภาษีของข้อตกลงดังกล่าว และมีแหล่งวัตถุดิบที่มีเสถียรภาพ ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรก เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรป มากกว่า 380 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-exports-to-eu-surge-amidst-covid19/203374.vnp

เวียดนามวางแผนส่งเสริมการค้าข้ามพรหมแดนระหว่างกัมพูชา

อานซาง ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของเวียดนามในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการค้าผ่านชายแดนขึ้นร้อยละ 15 ในปี 2021-2025 สู่ 9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจังหวัดอานซางมีพรมแดนติดกับจังหวัดตาแก้วและจังหวัดกันดาลของกัมพูชา รวมระยะทางเกือบ 100 กม. ซึ่งมีประตูชายแดนข้ามระหว่างกัมพูชาอยู่ 2 แห่ง โดยวางแผนที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าผ่านชายแดนระหว่างกัน ควบคู่ไปกับการไหลเวียนของสินค้า ความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค และการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำมาตรการทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมมาช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีในปัจจุบัน รวมถึงช่วยแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าและการฉ้อโกงทางการค้าข้ามพรหมแดนอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50877301/an-giang-province-seeks-to-foster-cross-border-exports-with-kandal-takeo-international-border-gates/

กัมพูชากำหนดนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลประจำปี 2021-2035

รัฐบาลกัมพูชาประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย “เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกัมพูชา” ประจำปี 2021-2035 โดยระบุว่าภาคดิจิทัลจะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนา และการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนโยบายนี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการที่จะเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากร และความสามารถ ทั้งจากทางภาครัฐและภาคเอกชนภายในประเทศ ผ่านการกำหนดทิศทางการพัฒนาและกระบวนการในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในกัมพูชาบนรากฐานที่มั่นคง มีเสถียรภาพ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป ด้วยจุดมุ่งหมายของการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่และการส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมผ่าน “ความปกติใหม่” สู่การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50877443/cambodias-digital-economic-and-society-policy-for-2021-2035-launched/

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกสินค้าเกษตร ปี 64 อยู่ที่ 41 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) คาดการณ์ว่าภาคเกษตรกรรมจะมีมูลค่าการส่งออก 41 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว การแปรรูปถือเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับมูลค่าของสินค้า เพิ่มรายได้จากการส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการก้าวขึ้นสู่ 15 ประเทศชั้นนำที่มีการเกษตรขั้นสูง และ 10 อันดับแรกที่มีอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสมัยใหม่ ทั้งนี้ นาย Nguyễn Thanh Tuấn รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร นอกจากนี้แล้ว การเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี อาทิ CPTPP, EVFTA, UKVFTA และ RCEP ช่วยให้ผลผลิจทางการเกษตรของเวียดนาม สามารถเข้าตลาดขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะสินค้าประมง ผักผลไม้ ข้าวและชา เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/977045/viet-nam-targets-41b-agriculture-export-in-2021.html

เวียดนามเผยภาคอุตฯ การผลิตและแปรรูป ยังคงเป็นแหล่งดึงดูดที่สำคัญของการลงทุนจากต่างชาติ

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากที่สุด ตั้งแต่ต้นปีนี้ ด้วยเม็ดเงินราว 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 43% ของยอดเงินทุนทั้งหมด จากโครงการลงทุนของต่างชาติ จำนวน 613 โครงการ ส่วนใหญ่ลงทุนในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า รองลงมาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ Do Nhat Hoang หัวหน้าหน่วยงานกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเม็ดเงิน FDI ไหลเข้าไปยังสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ถือเป็นเครื่องยืนยันว่าเวียดนามมีเสถียรภาพและเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างชาติ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/manufacturing-and-processing-sector-playing-key-role-in-fdi-attraction/202916.vnp

ราคาถั่วดำในประเทศพุ่งถึง 1.1 พันล้าน จัตต่อตัน

รายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Commodity Depot) เผยราคาถั่วดำในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,110,000 จัตต่อตัน แม้ราคาในวันที่ 1 พฤษภาคม 64 จะอยู่ที่ 888,500 จัตต่อตัน แต่พุ่งไปถึง 1,110,000 K จัตตันในวันที่ 17 มิถุนายน 64 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 221,500 จัตต่อตัน ตั้งแต่ปี 60 อินเดียได้กำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ ภายใต้นโยบายการค้าต่างประเทศ ปี 58-63 ขณะที่สวนปลูกถั่วดำให้ผลผลิตประมาณ 400,000 ตันต่อปี ด้านถั่วแระมีผลผลิตประมาณ 50,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-black-bean-price-rises-to-k-1-1-bln-per-tonne/