การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนลดลงร้อยละ 5.2 ในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 8,118 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบเป็นรายปีที่มูลค่า 1,086 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนรวม 7.031 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับในปี 2019 ซึ่งการนำเข้าจากจีนที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากมีมาตรการปิดกั้นหรือจำกัดการส่งออกของกัมพูชา รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ส่งผลทำให้กัมพูชานำเข้าสินค้าลดลงไปด้วย ส่วนกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว มะม่วง และมันสำปะหลัง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821332/8-1-billion-recorded-as-cambodia-china-trade-volume-in-2020-showing-a-5-2-percent-drop/

ผู้เลี้ยงแพะเมืองกะเล่ปลื้ม ราคาพุ่ง ไม่พอขาย

ความต้องการแพะของเนินเขาชิน เมืองกะเล่ เขตเขตซะไกง์ และเขตตะมู่ ส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ผู้เลี้ยงแพะเผยนมแพะราคาถ้วยละ 1,000 จัต มีรายได้ต่อวันประมาณ 10,000 จัต ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้นเนื่องจากมีผู้ซื้อแพะจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ มีผู้เลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์เพียง 10 รายเท่านั้นที่ทำธุรกิจธุ์ปศุสัตว์ในเมืองกะเล่ ดังนั้นความต้องการจึงสูงกว่าอุปทานส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แพะตัวผู้ขายได้ประมาณ 100,000 จัต ส่วนแพะตัวเมียขายได้ประมาณ 50,000 หรือ 80,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้วอินเดียเข้ามาซื้อแพะในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายแพะได้ราคาดีหลายร้อยตัวจากเมืองโมนยวา เมืองปะค็อกกู และเมืองมยิงยานแถบชายแดนพม่า – อินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/goat-breeders-earn-good-profit-on-upward-market-in-kalay/

เอสเอ็มอีคนละครึ่ง ก็มารัฐเตรียมลดภาระรายย่อย

รัฐบาลเตรียมเปิดตัวโครงการ “SME คนละครึ่ง” หวังลดภาระต้นทุน เพิ่มศักยภาพรายย่อย ช่วยค่าใช้จ่ายสารพัด คาดเริ่มเปิดโครงการกลางปีนี้ รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มเติม ในลักษณะร่วมกันจ่ายกับ SME (Co-payment) มีสัดส่วนตั้งแต่ 50-80% สำหรับค่าใช้จ่ายในการขอทดสอบผลิตภัณฑ์ จดทะเบียนหรือขอใบรับรองมาตรฐานต่างๆ และการปรึกษาทางธุรกิจ เช่น มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกอช.) มาตรฐานอาหาร (อย.)  ซึ่งที่ผ่านมาการขอรับบริการทางธุรกิจต่างๆ มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นต้นทุนสำคัญของการประกอบการ และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของเอสเอ็มอีไทยด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดตัวโครงการ SMEs’ Co-payment ในกลางปีนี้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอีไทยที่มีอยู่กว่า 3.1 ล้านราย สามารถตัดสินใจเลือกพัฒนาคุณภาพและขอรับมาตรฐานสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรมแต่ละราย สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมาตรฐานสากลด้วย นอกจากนี้แล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังได้มีการหารือเพื่อปรับปรุงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Softloan) ให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เข้าถึงซอฟต์โลนได้ง่ายและมีวงเงินกู้สูงขึ้น รวมทั้งแนวทาง asset warehousing เพื่อช่วยเหลือไม่ใช้ทรัพย์สินธุรกิจที่ยังมีศักยภาพต้องถูกยึดหรือปิดตัวลง ซึ่งรายละเอียดจะนำสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/829467

เอกอัครราชทูตจีนในสปป.ลาวรายงานความสำเร็จโครงการ Belt and Road Initiative

โครงการภายใต้ความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือสปป.ลาว – ​​จีนในยุคใหม่ สปป.ลาวให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ Belt and Road Initiative มาโดยตลอด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสปป.ลาวในการเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นการเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค เมื่อทางรถไฟเสร็จสมบูรณ์จะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและจะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยมากขึ้นสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและกิจกรรมอื่น ๆ ระหว่างสองประเทศ นอกจากนี้ในอนาคตสปป.ลาวและจีนจะยังมีแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและการค้าพลังงานอุตสาหกรรมแปรรูปและการเกษตร ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาว ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจของสปป.ลาวขับเคลื่อนได้มั่นคงและยั่งยืนในภายภาคหน้า

ที่มา : http://www.china.org.cn/world/2021-03/07/content_77280738.htm

RCEP ช่วยให้เวียดนามเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานโลกได้ง่ายขึ้น

นาง Nguyen Thi Thu Trang ผู้อำนวยการ WTO และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวว่าการร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาค (RCEP) จากงานประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 ในปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามแสดงถึงความน่าเชื่อถือและความสำเร็จในฐานะที่เป็นประธานอาเซียน โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว ได้สร้างโอกาสที่จะให้เวียดนามสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหญ่ที่สุด และยังเป็นตลาดการบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตลอดจนครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยสร้างความเชื่อมต่อระหว่างเวียดนามกับสมาชิก RCEP และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงดังกล่าว เวียดนามต้องปรับปรุง 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ ปฏิรูปหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจและกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมให้ชัดเจน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rcep-smooths-way-for-vietnam-to-join-global-supply-chains/197191.vnp

เวียดนามเป็นจุดหมายปลางทางเชิงกลยุทธ์ทางด้านการวิจัยของซัมซุง

ผู้อำนวยการซวง จู โฮ ผู้อำนวยการทั่วไปซัมซุง กล่าวว่าซัมซุงเวียดนามวางแผนที่จะขยายการลงทุนในเวียดนาม โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรในประเทศและมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย ตามบทสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์ “Tuoi tre” เปิดเผยถึงระยะเวลาในการก่อสร้างของศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ที่ฮานอย มีกำหนดการเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปจะพบว่าในปี 2563 บริษัทซัมซุงเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ทำให้การส่งออกลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลัง ทำให้ในปีนี้ ธุรกิจทำรายได้จากการส่งออกราว 57 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้เล็กน้อย แต่ยังถือว่าอยู่ในทิศทางเป็นบวกท่ามกลางการระบาด นอกจากนี้ ผู้อำนวยการซัมซุง กล่าวเสริมว่าเวียดนามไม่เพียงแต่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดหมายปลางทางเชิงกลุยธ์ทางด้านการวิจัยและพัฒนาของซัมซุง

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-a-strategic-destination-for-samsungs-rd-activities/197190.vnp