เอกชนเชียร์บิ๊กตู่ล็อกดาวน์แค่พื้นที่เสี่ยง

เอกชนเชียร์บิ๊กตู่ล็อกแค่พื้นที่เสี่ยง หวั่นล็อกทั้งประเทศ ศก.เจ็บหนักแน่ จี้รัฐเพิ่มสิทธิคนละครึ่งอีก 20-30 ล้านราย หวังหล่อเลี้ยงร้านค้า–ลดภาระประชาชน  พับเราเที่ยวด้วยกันไปก่อน นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับมาตรการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ที่ประกาศไม่ล็อกดาวน์ทั้งประเทศ หรือประกาศเคอร์ฟิว โดยใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงไป เนื่องจากหากประกาศล็อกดาวน์ทั้งประเทศ จะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอย่างรุนแรงแน่นอน  เพราะตอนนี้ไม่ใช่ว่าทุกพื้นที่จะเสี่ยงสูงทั้งหมด พื้นที่ไหนมีปัญหา ก็เลือกแก้เฉพาะจุด มีความเหมาะสมมากกว่า พื้นที่ไหนพอไปได้ ความเสี่ยงน้อย ก็ให้เฝ้าระวัง และป้องกันอย่างเข้มข้นต่อไป เพื่อให้เศรษฐกิจยังพอขับเคลื่อนได้  นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เบื้องต้นได้ประเมินความเสียทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดรอบ 2 เสียหายประมาณวันละ 3,000 – 5,000 ล้านบาท หรือประมาณเดือนละ 1–1.5 แสนล้านบาท เป็นผลจากประชาชนชะลอการใช้จ่าย เทียบจากการประกาศล็อกดาวน์ทั้งประเทศครั้งแรกช่วงเดือน มี.ค.–เม.ย. 63 มีมูลค่าความเสียหายวันละ 10,000 ล้านบาท แม้การระบาดรอบ 2 จะยังไม่มีการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ แต่มีมูลค่าความเสียหายสูง เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้กึ่งๆ ล็อกดาวน์ทั้งประเทศแล้ว และจังหวัดที่ล็อกดาวน์ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ และเมืองท่องเที่ยว เช่น กรุงเทพฯ ชลบุรี ระยอง ทั้งนี้ภาครัฐ ควรกระตุ้นมาตรการทางเศรษฐกิจลงมาเพิ่มเติมในไตรมาสแรก เพื่อชดเชยมูลค่าเศรษฐกิจหายไปเป็นแสนล้านบาท โดยพาะมาตรการคนละครึ่ง ที่เห็นผลอย่างชัดเจนในการช่วยกระจายรายได้อย่างทั่วถึง และช่วยลดภาระค่าครองชีพ ควรเปิดกว้างเพิ่มเติมอีก 20 -30 ล้านราย เพื่อกระจายอย่างทั่วถึง ซึ่งไม่รวมกับผู้ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปแล้ว ขณะที่โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ควรชะลอไปก่อน รอให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วกลับมาให้คนเดินทางท่องเที่ยวใหม่ เชื่อว่า หากเติมเงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้ จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ทั้งปี 64 ขยายตัวได้บวก 2-3% แต่ถ้าไม่มีมาตรการกระตุ้นออกมา จีดีพีจะขยายตัวในกรอบ 0-2% เท่านั้น      

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/816820

จีนช่วยให้สปป.ลาวเข้าถึงวัคซีน COVID-19

สปป.ลาวจะได้รับวัคซีนโควิด -19 จากจีน 2,000 โด๊ส บางส่วนได้เริ่มฉีดวัคซีนให้แก่อาสาสมัครไปแล้ว 200 ราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. บุญคง สีหะวงศ์ กล่าวในแถลงการณ์วันนี้ว่า “สปป.ลาวได้รับการจัดส่งวัคซีน Sinopharm Covid-19 จากจีนและได้ฉีดให้กลุ่มเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เป็นกลุ่มแรกและเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองฉีดวัคซีนระยะแรกอีกด้วย”  สปป.ลาวเป็นหนึ่งใน 92 ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตร “COVAX” โดยกลุ่มประเทศดังกล่ามีประชากรรวมประมาณร้อยละ 15 – 20 ของประชากรโลก ซึ่งจะได้รับวัคซีน Sinopharm Covid-19 ภายในเดือนเมษายน 2564 ในขณะเดียวกันวัคซีน “Sputnik V” ที่ผลิตโดยรัสเซียประมาณ 500 โด๊ส จะถูกส่งไปยังสปป.ลาวในช่วงต้นเดือนมกราคม 2564 ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/01/04/china-to-help-laos-get-access-to-covid-19-vaccine

MTB ปล่อยกู้ร้านขายของที่ระลึกเยียวยาพิษโควิด

Myanma Tourism Bank (MTB) ปล่อยเงินกู้ให้ร้านขายของที่ระลึกซึ่งเป็นสมาชิกของ Myanmar Souvenir Entrepreneurs Association (MSEA) โดยธนาคารได้ลงนาม MOU เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 เพื่อส่งเสริมการผลิตของที่ระลึก เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหยุดชะงักลงโดยสิ้นเชิงและกำลังประสบปัญหาทางการเงิน  MTB ยังได้ลงนามใน MOU ในด้านการเงินและการให้กู้ยืมกับสมาคมนักเรียนเก่า GTI และสมาคมการท่องเที่ยวแห่งสหภาพเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanma-tourism-bank-grants-loans-souvenir-shops.html

เอกชนวอนรัฐแจงพร้อมสนองนโยบายล็อกดาวน์

หอการค้าตะวันออกวอนรัฐชี้แจงมาตรการล็อกดาวน์-ภาคท่องเที่ยวจี้ใช้วัคซีนด่วนหวั่นเสียหายหนัก นายปรัชญา สมะลาภา ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออก หอการค้าไทย หรือประธานหอการค้าภาคตะวันออก กล่าวว่า หากรัฐจะประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่ภาคตะวันออก ต้องการให้รัฐเรียกผู้ประกอบการมาหารือร่วมกันก่อน เพื่อทำความเข้าใจในมาตรการต่างๆ เนื่องจากในพื้นที่มีโรงงานจำนวนมาก ที่ต้องทำงานต่อเนื่องไม่สามารถปิดได้ทันที เช่น โรงงานปิโตรเคมี เพราะต้องเร่งผลิตตามคำสั่งซื้อ ขณะเดียวกันขอให้รัฐชี้แจงให้ชัดเจนถึงความหมายของ ล็อกดาวน์ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน เนื่องจากขณะนี้มีความเข้าใจความหมายที่แตกต่างกัน “ถ้าล็อกดาวน์แล้วไม่ยืดเยื้อผู้ประกอบการก็สามารถเข้าใจได้ เพราะตอนนี้ โรงแรม ท่องเที่ยว กระทบอย่างหนัก และไม่รู้ว่าจะทนได้นานแค่ไหน ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลกระทบครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ครั้งแล้ว ซึ่งครั้งแรก โควิดที่เกิดต้นปี ครั้งที่ 2 กรณีเกิดการระบาดจากทหารอียิปต์ และครั้งนี้ที่เกิดระบาดระลอกใหม่ ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ว่าจำนวนเท่าใด แต่คาดว่าหลายพันล้านบาท” นายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวว่า ทางภาคเอกชนท่องเที่ยว โดยสมาคมขอให้รัฐบาลรีบพิจารณานำวัคซีนมาใช้โดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นของประเทศใดก็ได้ นอกเหนือจากที่รัฐได้ทำสัญญาไว้ก่อนหน้านี้เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้กับประชาชน และจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เพราะกิจการไม่จำเป็นต้องปิดอะไรมาก ส่วนเรื่องของการท่องเที่ยวในประเทศได้รับผลกระทบแน่นอนจากการปิดกิจการต่างๆ โดยเอกชนยอมรับสถานการณ์พร้อมทำตามนโยบาย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/816626

ค้าปลีกเวียดนาม แตะ 350 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 68

จากรายงานชองกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าการใช้จ่ายของชนชั้นกลางและรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลให้รายได้ของภาคค้าปลีกเวียดนาม เพิ่มขึ้น 1.6% เท่าในปี 2563 และมีมูลค่าสูงถึง 350 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของปี 2568 รวมถึงคาดว่าปี 64-68 อัตราการขยายตัวของภาคค้าปลีก 9-9.5% ในขณะเดียวกัน ประเด็นเรื่องมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในเวียดนาม ปี 2563 ใช้เวลาเพียง 22 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้ช่วยลดแรงกดดันต่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้ ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาดของนีลเส็น เปิดเผยว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศ ลดลงราว 5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วในไตรมาสที่ 2 และลดลง 26%, 19% ในตลาดสิงคโปร์และอินโดนีเซีย เป็นผลมาจากเวียดนามสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ทำให้ภาคค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะโตในปีหน้า จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความพร้อมในการใช้วัคซีน

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/retail-market-size-to-hit-350-bln-by-2025-4214029.html

เก็บภาษีจากโฆษณา Facebook-Google ในเวียดนาม สูงถึง 42.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามรายงานของกรมภาษีอากร (General Department of Taxation: GDT) เปิดเผยว่าเม็ดเงินภาษีที่จัดเก็บอยู่ในลักษณะบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มอย่าง Google และ Facebook ในปี 2562-2563 มีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านด่อง หรือราว 42.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งบุคคลที่จ่ายภาษีดังกล่าว ได้ทำการแจ้งภาษีและดำเนินการชำระภาษีโดยสมัครใจ หรือรับการกำหนดโดยหน่วยงานภาษี ทั้งนี้ ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิม ชี้ให้เห็นถึงจำนวนธุรกิจดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนหันมาซื้อของออนไลน์ กิจกรรมบันเทิงและการชำระเงินแบบไม่ต้องใช้เงินสด ด้วยเหตุนี้ ทางกรมภาษีอากร จึงดำเนินงานให้หน่วยงานด้านภาษีจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อศึกษาระบบธุรกิจเสมือนจริง ในขณะเดียวกัน ยังร่วมมือกับองค์กรกรบริหารการตลาดและบริษัทตัวกลางรับชำระเงิน เพื่อจัดหาแนวทางในการแก้ไขด้านการจัดเก็บรายได้ที่มาจากการบริการดิจิทัล

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/tax-from-online-ads-on-facebook-google-in-vietnam-hits-us-428-million-27023.html

การค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาในช่วง 11 เดือนแรก

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ไทย แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนปีนี้กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 1,071 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 51 ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 5,580 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยการค้าทวิภาคีของกัมพูชาระหว่างประเทศใกล้เคียงในปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรมทางการค้าคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในไม่ช้าหลังจากการแพร่ระบาดสิ้นสุดลง ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยอยู่ที่ 9.2 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50799739/cambodia-thailand-bilateral-trade-valued-at-6-6-billion-in-first-11-months/