รัฐบาลไทย – สปป.ลาวเตรียมสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาวข้ามแม่น้ำโขงเพิ่มอีก 2 แห่ง

รัฐบาลไทยเตรียมลงทุน 8.2 พันล้านบาทสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาวข้ามแม่น้ำโขงเพิ่มอีก 2 แห่ง ปัจจุบันสะพานมิตรภาพ 4 แห่งเชื่อมระหว่างไทย – สปป.ลาวที่หนองคาย – เวียงจันทน์มุกดาหาร – สะหวันนะเขตนครพนม – คำม่วนและเชียงของ – ห้วยทราย สะพานแห่งใหม่จะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬและจะเชื่อมไปยังปากซันในแขวงบอลิคำไซทางตอนกลางของสปป.ลาว รัฐบาลไทยจะลงทุนประมาณ 2.6 พันล้านบาทในขณะที่รัฐบาลสปป.ลาวจะทุ่มเงินอีก 1.3 พันล้านบาทที่จะกู้ยืมจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านที่ก่อตั้งในปี 2548 โดยรัฐบาลไทย โครงการนี้จะมีถนนความยาว 32 กม. คาดการณ์ว่าเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นปัจจัยสำคัญในการค้าการลงทุนที่สำคัญของทั้งสองประเทศและถือเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-สปป.ลาว

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/travel/2010347/thai-lao-bridges-announced

รัฐบาลสปป.ลาวประกาศแผนรับมือกับภาระหนี้

รัฐบาลได้ประกาศว่าจะจัดการและแก้ไขหนี้สาธารณะในรูปแบบต่างๆเพื่อบรรเทาความตึงเครียดทางการเงินของประเทศซึ่งรัฐบาลจะไม่รับเงินกู้จากต่างประเทศอีกต่อไป เป็นหนึ่งวิธีในการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการคลัง เงินกู้ยืมจะถูกนำไปชำระคืนเงินต้นของเงินกู้ที่มีอยู่ จะบริหารหนี้สาธารณะให้เป็นไปตามกฎหมายพร้อมทั้งพยายามลดการขาดดุลการคลังและมองหาวิธีอื่น ๆ ในการลดภาระหนี้ การเคลื่อนไหวเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มชื่อเสียงของประเทศและสร้างความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนต่างชาติและผู้บริจาคที่มีศักยภาพ อีกทั้งหนี้บริษัทเอกชนที่ดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ จะพยายามระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆเพื่อชำระคืน โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลหรือโอนหนี้เหล่านี้ไปยังธนาคารพาณิชย์ ภายในสิ้นปีนี้หนี้ของรัฐบาลจำนวน 578.35 พันล้านกีบจะถูกโอนไปยังธนาคารพาณิชย์ สิ่งนี้จะช่วยให้องค์กรเอกชนสามารถรักษาสภาพคล่องทางการเงินและเอาชนะอุปสรรคทางเศรษฐกิจได้ รัฐบาลได้พยายามปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับหุ้นส่วนการพัฒนาเนื่องจากเป็นนโยบายของประชาคมระหว่างประเทศที่จะลดหรือยกหนี้บางส่วนที่ประเทศกำลังพัฒนาเป็นหนี้ นอกจากนี้ได้จัดทำแผนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อจัดการกับหนี้สินและภาระผูกพันโดยพยายามลดการขาดดุลการคลังในแต่ละปี ตามรายงานของ Lao Economic Monitor ของธนาคารโลกที่เผยแพร่ในเดือนมิ.ย. หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65 ถึง 68% ของ GDP ในปี 63 ทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาหนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt212.php

อนาคตภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาในมุมมองนักสังเกตการณ์

นักสังเกตการณ์ยังคงมองเกี่ยวกับอนาคตของภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาในแง่ดี เนื่องจากภาครัฐและภาคเอกชนพยายามหาวิธีบรรเทาผลกระทบที่เกิดจาก COVID-19 โดยกระทรวงการท่องเที่ยว (MOT) และสมาชิกของภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับมาตรการ “Travel bubble” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังกัมพูชา ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการมาเยือนยังกัมพูชา โดยประธาน Cambodia Hotel Association (CHA) แสดงความเห็นในแง่ดีว่าการเคลื่อนไหวของรัฐบาลเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับอนาคตของภาคการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเลิกจ้าง การปิดโรงแรม และเกสต์เฮาส์ ไปจนถึงการลดค่าใช้จ่ายและการลดค่าจ้างจากผลกระทบที่ได้รับ ซึ่งกัมพูชามีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน 1.24 ล้านคน ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงกว่าร้อยละ 74.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่นักท่องเที่ยวในพื้นที่มีมากกว่า 7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 51.9 เนื่องจากผลกระทบที่รุนแรงของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778139/tourism-observers-optimistic-about-the-future/

แบงก์ชาติกัมพูชาเปิดตัวระบบการชำระเงิน Bakong อย่างเป็นทางการ

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้เปิดตัวระบบชำระเงิน Bakong อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินที่ช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ สามารถทำงานร่วมกันได้โดยเน้นความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจ โดย NBC ได้นำแนวคิด Bakong ไปใช้กับธนาคารและสถาบันการเงินรวมถึงสถาบันที่ให้บริการชำระเงินเป็นครั้งแรก ซึ่งมีสถาบันเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 39 แห่ง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2018 แสดงถึงความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ โดย NBC เริ่มประกาศการทดสอบนำร่องของระบบการชำระเงิน Bakong ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2019 โดยมีผู้เข้าร่วมจาก 4 สถาบันหลัก ได้แก่ ACLEDA Bank, Vattanac Bank, Foreign Trade Bank และ Wing Specialized Bank ซึ่งถือเป็นการปรับปรุงระบบการชำระเงินในกัมพูชาให้ทันสมัยและตอบสนองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทางการเงินของกัมพูชา ทั้งยังให้ประโยชน์กับระบบการชำระเงินโดยให้ทางเลือกแก่ลูกค้าในการชำระเงินและการทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง หรือจากสถาบันบริการชำระเงินแห่งหนึ่งไปยังสมาชิกรายอื่นในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50777909/nbc-officially-launches-its-bakong-payment-system/

NA เปิดการประชุมสามัญสมัยสามหารือวาระการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NA) ได้เปิดการประชุมสมัยสามัญสามโดยมีการอภิปรายในเรื่องการมุ่งเน้นไปที่มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งในปี 2564 จะเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2564-2568)ในที่ประชุมยังหารือพิจารณาและอนุมัติการวางผังเมืองสำหรับเวียงจันทน์เพื่อให้กลายเป็นเมืองที่มีศักยภาพในทุกๆด้านรวมถึงการตรวจสอบงบประมาณของรัฐสำหรับปี 2020 อีกด้วยการเปิดประชุมสามัญสมัยสามรัฐบาลคาดหวังจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_210.php

ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นในเวียดนาม

ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าพื้นที่เพาะปลูกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นจากในปี 2559 อยู่ที่ 53,350 เฮกตาร์ เป็น 237,693 เฮกตาร์ในปีที่แล้ว และส่งออกไปยัง 180 ประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น ด้วยมูลค่ารวม 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ว่าทางนาย Ha Phuc Mich ประธานสมาคมเกษตรอินทรีย์เวียดนาม กล่าวว่าการเติบโตที่รวดเร็วของเกษตรอินทรีย์ สร้างความกังวลในเรื่องการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการของบริษัท Vinh Hiep Co. , Ltd ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เป็นที่ต้องการทั่วโลกและข้อกำหนด/มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นของการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน แต่ในปัจจุบัน การผลิตเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามยังคงเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะมาจากค่าใช้จ่ายในการวิจัยที่สูงและใช้เวลานาน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ในการยกระดับมูลค่าและทำให้ยั่งยืน ได้แก่ ขยายพื้นที่เกษตรกรรม สร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจและสหกรณ์ รวมถึงฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/demand-for-organic-farm-produce-on-the-rise-in-vietnam/189381.vnp

เวียดนามเผยธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินส่งสัญญาฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 3

จากการศึกษาของ Fin Group ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ผลกำไรของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 347 แห่ง ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวในรูปตัว V ทั้งนี้ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) ของบริษัทมหาชน 348 แห่ง ลดลงร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในไตรมาสที่ 3 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานของธุรกิจหลักของภาคธุรกิจที่มิใช้สถาบันการเงินทั้งหมดพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้แล้ว นอกจากนี้ ทาง Fin Group มองว่าความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลในทิศทางที่เป็นบวกแก่ธุรกิจค้าปลีกที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ สถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัยและบริษัทรักษาความปลอดภัย มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 และมีอัตราการเติบโตของกำไรร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของเวียดนามยังเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก ถึงแม้จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnams-listed-non-financial-firms-post-v-shaped-recovery-in-q3-314637.html

ต้นทุนก่อสร้างเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

ราคานำเข้าสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่โควิด -19 ระบาด เนื่องจากปัญหาด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งงานก่อสร้างบางส่วนไม่สามารถหยุดได้จึงจำเป็นต้องซื้อวัสดุในราคาที่สูงขึ้น” เช่น ธุรกิจผลิจอิฐลดลงส่งผลให้ราคาอิฐสูงขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-costs-rise-myanmar.html