รัฐบาลสปป.ลาวช่วยเหลือคนตกงานผ่านกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) 12 พันล้านกีบ

แรงงานที่เป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินผ่านกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) สำหรับการว่างงานชั่วคราวหรือการสูญเสียงานจากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 นำมาซึ่งการปิดตัวของโรงงานและธุรกิจต่างๆ ส่งผลให้อัตราการว่างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกถึงแม้สปป.ลาวจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้วก็ตาม กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) จะให้การสนับสนุนทางการเงินเทียบเท่ากับร้อยละ 60 ของเงินเดือนพนักงานผู้ประกันตนเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพในแต่ละวันของแรงงานเป็นมาตราการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19   ปัจจุบันองค์กรเอกชน 249 แห่งได้ส่งเอกสารที่จำเป็นเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงิน กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) ได้จ่ายเงินไปแล้วกว่าประมาณ 12 พันล้านกีบเพื่อช่วยเหลือพนักงานกว่า 12,000 คนจากองค์กรเอกชน 202 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt171.php

‘กัมพูชา’ ยอดส่งออกข้าวดิ่ง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง เปิดเผยว่าในเดือน สิ.ค. ปริมาณการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ ดิ่งลงมากอยู่ที่ 22,130 ตัน ลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวของกัมพูชา อยู่ที่ 448,203 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจากการส่งออกข้าวทั้งหมดนั้น แบ่งออกเป็น ข้าวหอม 352,802 ตัน, ข้าวขาว 89,699 ตัน, ข้าวนึ่ง 5,679 ตันและส่วนที่เหลือ 23 ตัน จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกข้าวสำคัญของกัมพูชา ในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 159,253 ตัน รองลงมาฝรั่งเศส (56,964 ตัน) และกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ประธานสมาคมพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (CRF) กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมลัภัยแล้ง เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อชาวเกษตรกรและด้านความมั่งคงทางอาหาร รวมถึงการส่งออกอีกด้วย ขณะที่ การเก็บเกี่ยวข้าวเลื่อนออกไป 2 เดือน เนื่องจากในปัจจุบัน ชาวนาต้องปลูกข้าวเปลือกใหม่ ทำให้เก็บเกี่ยวได้อีกครั้งภายในเดือน ต.ค. และ พ.ย. นอกจากนี้ ทางสมาคมพันธ์ข้าว ได้ขอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) ปล่อยเงินทุนมากขึ้นและขอขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ โดยกล่าวโทษจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูเก็บเกี่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759582/big-drop-in-rice-exports/

กัมพูชาเผยช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ ‘อังกอร์ รีสอร์ท’ รองรับนักท่องเที่ยว 400,000 คน

หน่วยงาน “Angkor Enterprise” เปิดเผยว่าอุทยานโบราณสถานอังกอร์ในจังหวัดเสียมฐาน สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 393,293 คน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่า 18,332,011 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้น ชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ 74.66 ขณะที่ รายได้ลดลงร้อยละ 73.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8,817 คน ที่เข้ามาเยี่ยมชมปราสาทเกาะแกร์ (Koh Ker) จ.พระวิหาร และสร้างรายได้จากการขายตั๋วถึง 88,170 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชายังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่นเดียวกันหลายๆประเทศทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759735/angkor-resort-received-400000-tourists-in-first-eight-months/

เวียดนามเผยยอดค้าปลีกและบริการลดลง ในเดือน สิ.ค.

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เพิ่งประกาศสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในเดือนสิงหาคม พบว่ายอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการรวม อยู่ที่ 442,900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากพบการระบาดใหม่ที่ดานัง อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปีที่แล้ว ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 หากจำแนกพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากที่สุด ร้อยละ 62 ด้วยมูลค่า 974 พันล้านด่อง รองลงมารายได้จากที่พักอาศัย ลดลงร้อยละ 15 ในขณะที่ รายได้จากค้าปลีกลดลงเพียงร้อยละ 0.2 ยิ่งไปกว่านั้น รายได้จากบริการอื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.5 ด้วยมูลค่ามากกว่า 46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ อยู่ที่ 3.22 ล้านด่อง ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมืองไฮฟอง (Hai Phong) เป็นเมืองที่มียอดค้าปลีกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2562 รองลงมาฮานอย ด่งนายและโฮจิมินห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8, 9.4 และ 8.3 ตามลำดับ ขณะที่ ดานังและคั้ญฮหว่า มียอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 5-6 นอกจากนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวในช่วง 8 เดือน อยู่ที่ประมาณ 13,100 พันล้านด่อง ลดลงร้อยละ 54.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้นโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไม่ได้ดำเนินมาใช้ รวมถึงนักท่องเที่ยวยกเลิกทริปทัวร์และงานเทศกาลอีกหลายแห่ง

ที่มา : https://vnexplorer.net/retail-sales-of-consumer-goods-and-services-decreased-in-august-a202088640.html

‘PetroVietnam’ ผลิตน้ำมันได้กว่า 7.76 ล้านตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

กลุ่มบริษัทน้ำมันและก๊าซเวียดนาม หรือ ปิโตรเวียดนาม (PetroVietnam) ระบุว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่ 7.76 ล้านตัน สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 8.2 โดยทางบริษัทสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่า 14 พันกิโลวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 96.9 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ และผลิตปุ๋ยไนโตรเจนได้ราว 1.2 ล้านตัน สูงกว่าที่ตั้งเปาไว้ร้อยละ 4.8 อีกทั้ง ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและเบนซิน มากกว่า 8.2 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน Dung Quat ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม บริษัทขายน้ำมันดิบอยู่ที่ 47.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สูงกว่าราคาในเดือนก่อนประมาณ 2.3 ดอลลลาร์สหรัฐ แต่ราคาดังกล่าวยังคงต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปีที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รายได้รวมของบริษัทสูงถึง 372 ล้านล้านด่อง (16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ บริษัทจะดำเนินการแก้ไขปัญหาให้รอบด้าน เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในช่วงการดำเนินงานในหลายๆเดือนที่เหลืออยู่ของปีนี้ โดยมุ่งเน่นในการบริหารต้นทุนการผลิตและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/petrovietnam-exploits-776-million-tonnes-of-oil-equivalent-in-eight-months-418106.vov

JICA ปล่อยเงินกู้ให้เมียนมา 280 ล้านดอลลาร์เพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19

รัฐบาลเมียนมาและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้มูลค่า 30 พันล้านเยน (280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเนปยีดอเมื่อวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) และนโยบายที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนและการส่งเสริมการค้ารวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน ซึ่งตามแผน CERP คาดว่าจะมีการกู้เงินมาเพื่อใช้ตามแผนมูลค่ารวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่สองของ JICA ซึ่งในเดือนมิถุนายน 63 ที่ผ่านมาได้เปิดตัวโครงการจัดหาเงินทุนสำหรับ SME มูลค่า 5,000 ล้านเยน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหภาพยุโรปและเมียนมาได้ลงนามข้อตกลงด้านการเงินเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรและโภชนาการ  โดยจะลงทุน 180 พันล้านจัตในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/jica-gives-myanmar-280m-loan-budget-support.html

พาณิชย์จับมือผู้ส่งออกข้าวถก BERNAS ดันข้าว กข79 บุกตลาดมาเลเซีย

กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยหารือหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของรัฐบาลมาเลเซีย (BERNAS) กระชับความสัมพันธ์ทางการค้า เปิดตัวข้าวขาวพื้นนุ่ม กข 79 หวังเรียกคืนส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในมาเลเซีย นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 กรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และหน่วยงานกำกับดูแลการนำเข้าข้าวของมาเลเซีย (Padiberas Nasional Berhad : BERNAS) เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตและการค้าข้าวในปี 2563 การประชุมในครั้งนี้ BERNAS แจ้งว่าภายในปี 2563 คาดการณ์ว่าอาจนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นถึง 1 ล้านตัน จากปกตินำเข้าประมาณ 8 แสนตัน เนื่องจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มาเลเซียหันไปนำเข้าข้าวจากประเทศคู่แข่งของไทยมากขึ้น แม้ว่าคุณภาพจะด้อยกว่าข้าวไทย แต่ด้วยราคาข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยปัจจุบันมาเลเซียนำเข้าข้าวจากจากเวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา ไทย และอินเดีย ตามลำดับ นอกจากนี้ กรมฯ ได้แจ้งให้ BERNAS ทราบว่าไทยอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 – 2567 โดยไทยจะเน้นหลักการ “การตลาดนำการผลิต” เพื่อให้ไทยมีสินค้าข้าวที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยได้นำเสนอข้าว กข 79 ซึ่งเป็นข้าวขาวสายพันธุ์ใหม่ของไทย ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การค้าข้าวในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคฯ ผู้บริโภคในมาเลเซียมีการซื้อข้าวเพิ่มขึ้นแต่เป็นข้าวที่มีราคาต่ำ สะท้อนให้เห็นถึงภาวะ Panic Buying ของผู้บริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ภาวการณ์ดังกล่าวได้กลับเป็นปกติแล้วตั้งแต่ช่วงมิถุนายนที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการหารือผ่านระบบ Video Conference กับสมาคมผู้นำเข้าข้าวของฮ่องกง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับการส่งออกข้าวไทยตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2563 ส่งออกข้าวไปแล้ว ปริมาณ 3.30 ล้านตัน มูลค่า 69,469 ล้านบาท ทั้งนี้ ส่งออกไปมาเลเซีย ปริมาณ 66,007 ตัน มูลค่า 990 ล้านบาท

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-515295

“VT แหนมเนือง คอมมิวนิตี้” อุดร รุกตั้ง “ศูนย์แสดงสินค้าเวียดนาม” แห่งแรก

กว่า 1 ปีที่ “บริษัท วีที แหนมเนือง จํากัด” ผู้ประกอบการธุรกิจแหนมเนืองรายใหญ่ จังหวัดอุดรธานี ได้ทุ่มทุน 600 ล้านบาท ผุด “วีที คอมมิวนิตี้” ขึ้นบนพื้นที่ 19 ไร่ ริมถนนมิตรภาพอุดรธานี-ขอนแก่น โดยหวังให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของภาคอีสาน เพื่อรองรับบริการกรุ๊ปทัวร์ พร้อมห้องประชุม สัมมนา และรองรับการจัดอีเวนต์ทุกรูปแบบ แต่หลังการเปิดได้เพียง 1 ปีเศษ ต้องเผชิญกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แผนงานต่าง ๆ ที่วางไว้ต้องชะลอไปชั่วคราว ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังโควิด-19 ในประเทศไทยคลี่คลาย “ทอง กุลธัญวัฒน์” ผู้บริหารวีที แหนมเนือง คอมมิวนิตี้มอลล์ ได้รุกขึ้นมา “เปิดศูนย์การแสดงสินค้าเวียดนาม” แห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ “ทางนายกรัฐมนตรี ประเทศเวียดนาม ได้ร่วมกับสมาพันธ์นักธุรกิจเวียดนามต่างประเทศ ดำเนินโครงการเชิญชวนชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ต่างประเทศร่วมกันแนะนำบริโภคสินค้า และพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเวียดนามที่ต่างประเทศ ในช่วงระยะเวลาปี 2020-2024 จึงได้จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าเวียดนามในประเทศไทย ด้วยความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจากกงสุลใหญ่เวียดนามประจำจังหวัดขอนแก่น

ที่มา : https://www.prachachat.net/local-economy/news-514302