ธุรกิจเวียดนาม 8 ราย ได้รับอนุญาตนำเข้าสุกรจากไทย

จากรายงานของกรมอนามัยสัตว์เวียดนาม ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่ามีผู้ประกอบการเวียดนาม 8 รายที่ได้รับอนุญาติในการนำเข้าสุกรมีชีวิตจากประเทศไทย จำนวนมากกว่า 1.9 ล้านตัว ซึ่งปัจจุบัน มีธุรกิจรายหนึ่งได้ทำการกักกันสุกรที่นำเข้าจากไทย เพื่อเตรียมเชือดเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น ทางกระทรวงอนุญาตให้สามารถนำเข้าสุกรมีชีวิตจากประเทศไทยได้ เพื่อที่จะเพาะพันธุ์และเชือดเป็นอาหาร ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. นอกจากนี้ กรมอนามัยสัตว์ได้ออกแนวทางเกี่ยวกับมาตรการ/กฎระเบียบสุขอนามัยของการนำเข้าสุกร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาคของโรคระบาดสัตว์และสร้างความมั่นใจถึงสถานะของฝูงสัตว์ในประเทศ นับว่าเป็นครั้งแรกที่เวียดนามอนุญาติให้มีการนำเข้าสุกรมีชีวิต

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/eight-vietnamese-businesses-eligible-to-import-pigs-from-thailand-415032.vov

ศักยภาพเมียนมาด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19

เนื่องจากเมียนมามาเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีความเป็นไปได้ที่จะตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19  จากการประชุมทางวิดีโอกับนางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐ นาย Sett Aung ผู้กำหนดแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังการวางแผนและอุตสาหกรรมและประธาน หอการค้าเมียนมา (UMFCCI)  ซึ่งเมียนมาเป็นประเทศที่มีความพอเพียงด้านอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเป็นผู้ส่งออกโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ โดย 70% ของประชากรอยู่ในพื้นที่ชนบทเศรษฐกิจหลักคือการเกษตร ดังนั้นจึงมีนโยบายในการพัฒนาภาคเกษตรที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ในอนาคต

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-has-the-potential-to-supply-world-food-requirement-after-covid-19-union-minister

รัฐบาลสปป.ลาวลงทุน 6 แสนเหรียญสหรัฐฯ ในระบบปะปา

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ที่กรมโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) กรม (MPWT) ลงนามสัญญากับ บริษัท standpipes ในการสร้างระบบน้ำประปา คาดว่าจะแล้วเสร็จ 16 เมษายน 2564 โดยมีมูลค่าสัญญาของโครงการประปาเทศบาลหลวงพระบางอยู่ที่ 392,988 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการลงทุนดังกล่าวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้งการลงทุน การจ้างงานรวมถึงระบบปะปาที่ได้มาตราฐานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตของคนในภูมิภาคดังกล่าวให้ดีขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะทำให้ ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจได้สะดวกสบายมากขึ้นและจะเป็นโครงที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจและดึงดูดนักลงทุนต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/18/79135/

รัฐบาลลดค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนสปป.ลาว

วันที่ 17 มิถุนายนได้มีการประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีในวาระการออกนโยบายในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของ Covid-19 คณะมนตรีได้มีการหารือถึงแนวทางในเรื่องการลดค่าไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่ยังคงมีถึงแม้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ ในที่ประชุมยังมีการกล่าวถึงการสร้างงานและการจ้างงานสำหรับแรงงานในประเทศรวมถึงแรงงานที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ในภาคธุรกิจและการลงทุนรัฐบาลจะออกโครงการส่งเสริมการลงทุนและการจัดการหนี้สินเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานต่อไปได้ มาตราการทั้งหมดจะช่วยบรรเทาเศรษฐกิจของสปป.ลาวที่กำลังตกต่ำในปัจจุบันจากการระบาดของ Covid-19 จนนำซึ่งกาตกงานและปิดตัวของธุรกิจจำนวนมาก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid116.php

กัมพูชาออกคำสั่งชะลอการเสียภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการทางอิเล็กทรอนิกส์ 3 เดือน

กรมสรรพากรทั่วไป (GDT) ได้ให้เวลากับบริษัทในการยื่นภาษีเพิ่มขึ้นเนื่องจากบริษัทบางแห่งที่ไม่พร้อมสำหรับวิธีการยื่นแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ โดยการประกาศดังกล่าวระบุว่าหลังจากได้รับข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินได้ตัดสินใจที่จะชะลอตัวในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ซึ่ง GDT ดำเนินการอย่างเป็นทางการในการจัดเก็บข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เสียภาษีที่มีขนาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่โดยเริ่มต้นในเดือนนี้ ซึ่งผู้อำนวยการของ GDT กล่าวในระหว่างรายงานการพัฒนาบริการ e-tax ในรูปแบบออนไลน์ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาว่าในปัจจุบันแผนกภาษีได้มีการพัฒนาระบบอัตโนมัติอย่างจริงจังเพื่อให้บริการด้านภาษีที่รวดเร็วโปร่งใสและสะดวกแก่ผู้เสียภาษีทุกคน โดยจนถึงตอนนี้กรมได้เปิดตัวบริการใหม่ๆหลายบริการเช่น e-Payments, e-register, e-data, e-uploaders, e-VAT และ e-filing

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50735452/tax-dept-provides-3-more-months-for-e-filing-returns/

เทศกาล Sea Festival คาดช่วยขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา

การเฉลิมฉลองเทศกาลทางทะเลของกัมพูชาจะยังคงดำเนินต่อไปตามแผนที่วางไว้ในปลายเดือนธันวาคมปีนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นในเมืองสีหนุวิลล์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้กัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพระดับโลก โดยเทศกาลจะจัดขึ้นทุกปีในจังหวัดชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไป เช่น กัมปอต, แกบ, พระสีหนุและเกาะกง สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ซึ่งในปีนี้นับเป็นครั้งที่สามที่จัดขึ้นที่สีหนุวิลล์ในช่วงที่ผ่านมาเก้าครั้ง ซึ่งจะมีการจัดแสดงความบันเทิง รวมถึงแสดงผลงานที่ทำขึ้นในท้องถิ่น สินค้าต่างๆ อาหารริมทางและการแข่งขันกีฬาและกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวว่างานเทศกาลทะเลที่กำลังจะมาถึงจะมีส่วนช่วยส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของกัมพูชาในระดับสากล ซึ่งกระทรวงได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยสำหรับธุรกิจการขนส่งทางบกและทางน้ำเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและส่งเสริมความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในประเทศพร้อมเตือนว่าทุกธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามหรือใช้มาตรการ อย่างเหมาะสมอาจจะถูกระงับใบอนุญาตทันทีตามมาตรา 44 ของกฎหมายการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50735633/sea-festival-to-go-ahead-hoping-to-promote-hard-hit-tourism-sector/

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 08.06.2563

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 8 มิถุนายน 2563

สอท. ณ กรุงฮานอย ระบุว่าผู้ติดเชื้อ 331 (+4) ราย, รักษาหาย 316 ราย (+38) และไม่มีผู้เสียชีวิต

คนเวียดนามกลับจากต่างประเทศติดเชื้อเพิ่ม 4 คนแต่ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในประเทศเป็นวันที่ 53 และชุดตรวจสอบเชื้อโควิด-19 ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกและสหราชอาณาจักร

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • เวียดนามไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในระดับชุมชน (local transmission) เป็นวันที่ 53 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กลับจากต่างประเทศ (รัสเซีย สหราชอาณาจักร เม็กซิโก) 4 ราย
  • บริษัท Sunstar JSC ร่วมมือกับ National Institute for Control of Vaccine and Biologicals และ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย Hanoi ผลิตชุดทดสอบเชื้อโควิด-19 “RT-PCR COVID-19 KIT THAI DUONG และ RT-LAMP COVID-19 KIT THAI DUONG” ซึ่งได้รับการขึ้นรายการ Emergency Use Listing Procedures ขององค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขสหราชอาณาจักรออก Certicate of European Standard (CE) และ Certificate of Free Sales (CFS) สำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • แนะนำให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สวมหน้ากาก
  • งดกิจกรรมเฉลิมฉลอง พิธีกรรมทางศาสนาและมหกรรมกีฬา
  • ยังคงห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเวียดนาม เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • บุคคลที่เดินทางเข้าเวียดนามจะถูกกักตัว 14 วัน
  • ยกเว้นการห้ามการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างประเทศ โดยจะพิจารณาอนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญ แรงงานทักษะสูง ผู้บริหารกิจการ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาชาวเวียดนามที่ศึกษาในต่างประเทศ โดยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและกักตัวอย่างเข็มงวด
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอเชิญชวนชาวไทยมอบสิ่งของ เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ให้กับชุมชน Phuc Xa กรุงฮานอย ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. 2563

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย

เวียดนามเผยผู้ผลิตปูนซีเมนต์เร่งปรับตัวตามสถานการณ์

ภาคอุตสาหกรรมซีเมนต์เวียดนามเผชิญกับภาวะอุปทานส่วนเกิน “Over Supply” และธุรกิจจำเป็นอาศัยกลยุทธ์ยืดหยุ่น เพื่อที่จะก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ขาดแคลนเงินทุน ทั้งนี้ จากตัวเลขทางสถิติของกระทรวงก่อสร้าง ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีกำลังการผลิตซีเมนต์มากกว่า 100 ล้านตันในปีนี้ ขณะที่ การบริโภคในประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ 67 ล้านตัน ส่วนการส่งออกลดลงอย่างหนักในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ (DTI) ระบุว่าได้ดำเนินมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ตั้งแต่ปี 2562-2564 จากการที่นำเข้าซีเมนต์จากเวียดนาม ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมนี้ เพราะว่าเป็น 1 ในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ หากนับตั้งแต่เริ่มเก็บภาษีในช้วงต้นปี 2562 ยอดส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ลดลงร้อยละ 23 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 17.4 ในแง่มูลค่า คิดเป็นมูลค่าเพียง 257 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม โอกาสสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างในปีนี้ มีแนวโน้มไปในทิศทางที่เป็นลบ แต่ธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าถึงเวลาที่จะปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อความโปร่งใสและเป็นมืออาชีพมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738283/cement-producers-urged-to-be-flexible.html

เวียดนามคุมสินเชื่อ โต 2.13% ช่วง 6 เดือน

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าการขยายตัวสินเชื่อ ณ วันที่ 16 มิ.ย. คาดจะอยู่ที่ร้อยละ 2.13 เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2562 ที่ร้อยละ 5.7 รองผู้อำนวยการธนาคารกลาง คาดว่าการเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ในระดับต่ำ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. อัตราการเติบโตของปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2) ประกอบด้วยเงินสดที่อยู่ในระบบและเงินฝากทั้งหมด จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินเชื่อทางการเกษตรเติบโตร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบสิ้นปีที่แล้ว ตามมาด้วยมาภาคส่งออก (4.94%), ภาคเทคโนโลยี (2.92%) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (2.27%) และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (-0.7%) เป็นต้น นอกจากนี้ ด้านสินเชื่อคงค้างในระบบ พบว่ามีมูลค่าอยู่ที่ 12.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก เหตุจากผลกระทบโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารยังให้การสนับสนุนลูกค้า โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้และการพักชำระหนี้ชั่วคราว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-leads-in-provincial-competitive-index/174954.vnp