รมว. คลังกัมพูชากล่าว ในช่วงฤดูแล้งกัมพูชาจะยังคงไม่ขาดแคลนไฟฟ้า

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชาได้ย้ำว่าจะไม่มีการขาดแคลนพลังงานในช่วงฤดูแล้งในปีนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานยืนยันว่าประชาชนและภาคธุรกิจจะไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ซึ่งนักลงทุนเอกชนผู้พัฒนาระบบไฟฟ้าภายในประเทศยืนยันกับรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งจ่ายไฟในประเทศมีความเสถียรภาพมากขึ้น โดยในช่วงฤดูแล้งของปีที่แล้วประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า 400 เมกะวัตต์ เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งในปี 2019 แหล่งจ่ายไฟของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 28% เป็น 3,382 mW โดยแหล่งพลังงานหลักในการดำเนินงานของกัมพูชาคือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 7 แห่ง ที่สร้างพลังงานทั้งหมด 1,328 mW คิดเป็น 33.5% ของพลังงานทั้งหมดภายประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707162/minister-reiterates-no-more-power-shortage-during-the-dry-season/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามยังคงที่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดแม้จะมีการหยุดการเข้าและออกของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ถูกเรียกว่า COVID-19 โดยการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเวียดนาม Truong Cong Nhan ของแผนกศุลกากรที่ด่านชายแดน Khanh Binh ภายใต้สำนักงานศุลกากรจังหวัด Giang กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านช่องทาง Khanh Binh – Chrey Thom ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ รถบรรทุกต่อวันเทียบเท่ากับจำนวนก่อนที่คำสั่งระงับการเข้า – ออกจะมีผลในวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มาตรการกักกันทางการแพทย์ได้ถูกนำไปใช้อย่างเคร่งครัดกับรถบรรทุกที่เข้าสู่เวียดนามเพื่อรับสินค้าที่ส่งออกไปยังกัมพูชา โดยกองกำลังทั้งสามของกัมพูชารวมถึงหน่วยแพทย์ชายแดนและด่านศุลกากรได้ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนการกักกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ขับขี่ จากนั้นคนขับจะรอในห้องกักกันขณะที่โหลดสินค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707441/trade-across-cambodia-vietnam-border-remains-stable-amid-covid-19-outbreak/

รัฐบาลเมียนมาเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลในการจัดการผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 ได้ออกแถลงการณ์ว่าภาคเศรษฐกิจจะให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วนด้วยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำฉุกเฉินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเน้นไปที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงแรมและธุรกิจการท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับสิทธิพิเศษในการกู้ยืมเงิน สินเชื่อมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 สำหรับธุรกิจในหมวดหมู่นี้จะถูกเบิกจ่ายจากกองทุนจำนวน 100 พันล้านจัต ที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล แบ่งออกเป็นทุนหมุนเวียน 50 พันล้านจัตและกองทุนสวัสดิการสังคม 50 พันล้านจัต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 จะให้กู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผู้สมัครสินเชื่อต้องแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างรายได้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาและมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ หากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย สามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึง 9 เมษายน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ประกาศว่าบริษัทจะร่วมมือกับรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและช่วยให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการขอสินเชื่อรัฐบาลประกาศอย่างเป็นทางการด้วยว่าจะมีการยกเลิกภาษีล่วงหน้า 2% สำหรับการส่งออกจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-announces-priority-sectors-emergency-loans-myanmar.html

เศรษฐกิจเดือนก.พ.ทรุด ท่องเที่ยว-เกษตร-อุตฯพัง

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ.63 มีสัญญาณชะลอตัวชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ส่งผลให้การท่องเที่ยวชะลอตัวลงมาก โดยมีชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทยที่ 2.06 ล้านคน ลดลงไป 42.8% โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนติดลบหนัก 84.9% นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ลบ 72.6% นักท่องเที่ยวฮ่องกงลบ 54.8% นักท่องเที่ยวมาเลเซียติดลบ 39.6% เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมมีสัญญาณชะลอตัวจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและปัญหาภัยแล้ง สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวลงติดลบ 4.5% ต่อปี จากการลดลงของผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมคิดลบ 5.2% ต่อปี หลังการผลิตในหมวดยานยนต์ น้ำตาล และเม็ดพลาสติกปรับลดลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว แม้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกลับมาขยายตัว 4.6% ต่อปี แต่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งติดลบ 15.4% และปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลง 3.7 ต่อปี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนติดลบ 10.2% และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ติดลบ 18.1% ต่อปี สำหรับการส่งออกในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา การส่งออกติดลบ 4.5% ต่อปี จากก่อนหน้าขยายตัว 3.3% ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ลดลง

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/765965

รัฐบาลเพิ่มความเข้มงวดมาตรการป้องกันไวรัส covid-19

เมื่อวันที่ 29 มีนาคมได้มีการประชุมของคณะรัฐมนตรีในการออกมาตราป้องกันภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะมีการปิดด่านระหว่างประเทศทั้งหมดและห้ามมิให้มีการเคลื่อนไหวสาธารณะโดยมีระยะเวลาควบคุม 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นหากกรณีการแพร่ระบาดยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่จะมีบ้างอาชีพหรือบริการบ้างอย่างที่ได้รับการยกเว้นให้ยังมีการดำเนินการได้ตามปกติได้แก่ ทหาร ตำรวจ แพทย์และพยาบาล ผู้ให้บริการไฟฟ้าและน้ำประปา นักดับเพลิงตลอดจนผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอาสาสมัครป้องกันไวรัส รวมถึงบริการด้านการขนส่งสินค้าต่างๆ ยังได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ต่อไปเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและลดการพบปะกัน ทั้งนี้มาตราการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยมีการสั่งปิดสถานประกอบต่างๆในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทำให้แรงงานสปป.ลาวทะยอยกลับบ้านเกิดจำนวนมากซึ่งรัฐบาลมีความกังวลว่าแรงงานที่มาจากไทยอาจมีการนำเชื้อไวรัสมาแพร่ระบาด ทำให้ต้องมีมตราการที่เข้มงวดขึ้นกว่าเก่าเพื่อป้องกันการรุกรามของไวรัส หากสถานการณ์ยังมีแนวโน้มหนักขึ้นรัฐบาลจะมีมาตราการที่เข้มข้นขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_63.php

ผู้ประกอบการกัมพูชาและเวียดนามสร้างความร่วมเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน

บริษัทในเครือของ Viettel Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการสื่อสารทางทหารของเวียดนาม และ MB Cambodia (MB) ของเวียดนาม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะเวลา 5 ปี เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาและการมีส่วนร่วมระหว่างกันตามพิธีลงนามที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ โดยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม MB กัมพูชา ได้สนับสนุนด้านสินเชื่อให้กับ Metfone อย่างเต็มที่และให้บริการทางการเงินขององค์กรแก่บริษัทด้วยวงเงินสินเชื่อ 100 ล้านเหรียญสหรัฐและอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่ง Metfone ดำเนินธุรกิจในกัมพูชามานานกว่า 10 ปี โดยเป็นหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ สร้างงานให้กับคนงานกว่า 12,000 คนและสนับสนุนด้านงบประมาณกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706770/cambodia-and-vietnamese-enterprises-adopt-measures-strengthen-strategic-collaboration/

กัมพูชามีการลงทุนใหม่มูลค่ารวม 900 ล้านเหรียญสหรัฐ

กัมพูชารายงานโครงการลงทุนใหม่ 40 โครงการมูลค่ารวมกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ตามรายงานของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ซึ่งโครงการที่ได้รับอนุมัติยกตัวอย่าง เช่น การผลิตเสื้อผ้า สินค้าการท่องเที่ยว เครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ หลอดไฟและแบตเตอรี่ รวมไปถึงการก่อสร้างโรงแรมห้าดาวและตลาดซูเปอร์มาร์เก็ต โดยโครงการ 40 โครงการเป็นของบริษัทหลายบริษัทที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองหลวงของกรุงพนมเปญและในจังหวัด ตาแกว, กันดาล, กัมปงสปือ, กำปงจาม, ตบุงคมุม, พระสีหนุ, เสียมเรียบ, และสวายเรียง ซึ่งโครงการลงทุนจะสร้างงานใหม่ให้กับคนในท้องถิ่นกว่า 30,000 ตำแหน่ง โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเมืองหลวงของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706552/cambodia-new-investments-totaling-900-million-spread-over-nine-provinces/

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเมียนมาประสบปัญหาเนื่องจากอียูยกเลิกคำสั่งซื้อ

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งในเมียนมาหยุดการดำเนินงานเนื่องจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญได้ยกเลิกคำสั่งซื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้วท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่แพร่กระจาย ประธานสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งเมียนมา (MGMA) กล่าวว่าตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็น 70% ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ข่าวร้ายมาจากการที่วัตถุดิบจากจีนเริ่มไหลกลับเข้ามาหลังจากการหยุดงานสามเดือนเนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ในยุโรปร้านค้าทั้งหมดปิดตังลง นั่นเป็นเหตุผลที่โรงงานปิดตัวลงและลดจำนวนคนงาน  การปิดโรงงานผลิตเสื้อผ้ามากขึ้นส่งผลเกิดการประท้วงที่ Grand Enterprises Garment Co. Ltd ที่เขตอุตสาหกรรม East Dagon เนื่องจากบริษัทประกาศเลิกจ้างแรงงานหลายพันคน ก่อนที่จะยกเลิกคำสั่งซื้อมีโรงงานอย่างน้อย 20 แห่งจาก 500 โรงงานต้องปิดตัวลงทำให้มีคนว่างงานมากกว่า 10,000 คน ตั้งแต่เดือนมกราคมโรงงานตัดชุด 38 แห่งซึ่งรวมถึงโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้ปิดตัวลง นอกเหนือจากสหภาพยุโรปแล้วตลาดสหรัฐก็เริ่มยกเลิกคำสั่งซื้อ จนถึงตอนนี้มีเพียงบริษัทจากญี่ปุ่นและเกาหลียังไม่ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-woes-myanmar-garment-industry-eu-cancels-orders.html