สัมมนาดิจิตอล 2020 ในกัมพูชาต้องเลื่อนออกไปจากการระบาดของ COVID-19

กัมพูชากำลังประสบกับปัญหาการระบาดของ Covid-19 นำไปสู่การเลื่อนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่สำคัญหลายอย่างที่มีกำหนดที่จะจัดขึ้นในเดือนนี้ในกัมพูชารวมถึงงาน Digital Cambodia 2020 ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดสำหรับภาคดิจิตอลที่กำลังขยายตัวในปีนี้ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า Diamond Island ในกรุงพนมเปญ มีบริษัทเกือบ 200 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศในภาคดิจิตอลและสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดชาวกัมพูชาและนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 30,000 คน แต่ต้องทำการเลื่อนออกไปจากการแพร่ระบาดของไวรัสในปัจจุบัน โดยงานสัมมนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลุ่มคนที่มีความสามารถซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภาคเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตของกัมพูชา แต่ด้วยการระบาดของ Covid-19 แผนทั้งหมดจึงจำเป็นที่จะต้องถูกเลื่อนออกไปก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705451/pandemic-means-that-digital-2000-postponed/

กลยุทธ์ส่งออก ฝ่าโควิด-19 ดันสินค้า Essential-Online Exhibition

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้โอกาสที่การส่งออกปี 2563 จะขยายตัว 3% ตามเป้าหมาย เริ่มจะห่างไกลออกไป แม้ว่าจะเปิดฉากมาในเดือนมกราคม 2562 ที่บวกถึง 3.35% แต่ล่าสุดสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) รายงานว่า การส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2563 มูลค่า 20,641 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.47% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,745 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.30% ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุล 3,897 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยพิจารณาการส่งออกรายสินค้าพบว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.0% จากการหดตัวของการส่งออกข้าว ในตลาดสหรัฐและจีน ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป หดตัวจากตลาดจีน ส่วนสินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป จากผลพวงปัญหาการระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดส่งออกสำคัญหลายตลาดหดตัว อาทิ จีน ติดลบ 2% ฮ่องกง ลบ 3% ญี่ปุ่น ลบ 7% ขณะที่สหรัฐ ลดลง 37% ต่ำสุดเนื่องจากฐานการส่งออกของสหรัฐในปีที่ผ่านมาขยายตัวจากการส่งออก “อาวุธ” และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดอาเซียนภาพรวม ขยายตัว 6.1% โดยเฉพาะตลาด CLMV ขยายตัว 5.8%

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 – 29 มี.ค. 2563

รัฐบาลอัดฉีดเงิน 1 แสนล้านกีบส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs

รัฐบาลสปป.ลาวอัดฉีดเงิน 1 แสนล้านกีบในการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและยังเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจขยาดย่อม (SMEs) สำหรับการนำเงินไปลงทุนขยายกิจการเพิ่มเติม ซึ่งกลไกลดังกล่าวจะทำผ่านธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบของการให้เงินกู้เงินระยะยาวในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำโดยมีเงื่อนไขดังนี้ มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ถือบัญชีตามกฎหมายการบัญชี การฝึกอบรม SME มืออาชีพที่ผ่านการรับรอง ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาคธุกิจซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายธุรกิจของ ภาคธุรกิจขยาดย่อม (SMEs) เป็นภาคที่สำคัญของประเทศเพราะคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 99 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในสปป.ลาวรวมถึงลูกจ้างในธุรกิจที่คิดเป็นร้อยละ 82 ของลูกจ้างทั้งหมดของสปป.ลาว ดังนั้นการส่งเสริมดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมเติบโตของธุรกิจแต่ยังช่วยทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศส่วนใหญ่ดีขึ้นอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt60.php

นักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจกัมพูชาอยู่หรือไม่

ธนาคารแห่งชาติของกัมพูชาได้ริเริ่มโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมและหมุนเวียนเงินเรียลในระบบให้มากขึ้น แต่ด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีอยู่ในระบบปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 80 ของระบบเศรษฐกิจกัมพูชา โดยคำถามนี้ยังคงอยู่ว่านักลงทุนจะยังคงมีความมั่นใจในเศรษฐกิจกัมพูชาอยู่หรือไม่ ซึ่งเงินสกุลดอลลาร์มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ทั่วโลก โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียอธิบายว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสูญเสียการควบคุมนโยบายด้านการเงินที่เป็นอิสระของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามในด้านผลบวกคือก่อให้เกิดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการใช้สกุลเงินดอลลาร์ ภายใต้อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ซึ่งการลดปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลงจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับกัมพูชาในระยะยาวแต่ต้องเกิดขึ้นเองตามกลไกของระบบเศรษฐกิจ สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในเงินเรียลนั้นมากจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงโครงสร้างทางกฎหมายที่อ่อนแอ โดยปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยตรงอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705014/will-investors-remain-confident-in-a-de-dollarised-cambodian-economy/

สถานการณ์ร้านค้าปลีกในกัมพูชาระหว่างการแพร่ระบาด COVID-19

การกักตุนสินค้าได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในกรุงพนมเปญ เนื่องจากการปิดชายแดนกัมพูชาจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดความกังวลว่าจะขาดแคลนอาหารภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาสินค้าหลักประเภทอาหารเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศว่าจะดำเนินการเพื่อหยุดการกระทำของผู้ค้ากลุ่มที่กำลังแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ขายอาหารในท้องถิ่นกล่าวว่าปลาแห้งราคาเพิ่มขึ้นจาก 25,000 riels (6.25 ดอลลาร์) เป็น 35,000 riels (8.75 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัมเนื้อหมูเพิ่มขึ้นจาก 19,000 riels (4.75 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัมเป็นประมาณ 30,000 riels (7.5 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัมทันที ส่วนเส้นก๋วยเตี๋ยวเพิ่มขึ้นจาก 20,000 riels (5 ดอลลาร์) เป็น 32,000 riels (8 ดอลลาร์) ต่อกล่องเป็นต้น โดยกระทรวงมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับราคาของสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดเพื่อทำการควบคุมราคาของสินค้าในตลาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705054/retailers-told-to-not-price-gouge-from-panic-buying/

แรงงานเมียนมาเดินทางกลับจากไทยต้องถูกกักที่โรงพยาบาลโมนยวา

ในวันที่ 23 มีนาคม กรมอนามัยเขตเมืองสกายออกประกาศ คนงานที่เดินทางกลับจากประเทศไทยถูกกักกันที่โรงพยาบาลโมนยวา สมาคมสุขภาพและสมาคมสวัสดิการสังคมกำลังร่วมมือกันตรวจสุขภาพของแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับจากประเทศไทย พบว่าหนึ่งในแรงงานมีอุณหภูมิร่างกายสูงและถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล ส่วนคนงานอื่น ๆ ถูกกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน แรงงานอพยพทั้งหมด 15 คนยังโมนยวาทั้งที่มาจากประเทศไทย เมืองอะยาดอ เมืองกะนี เมืองซ่าลี่นจี้ เมืองดีแบ้ยี่น และเมืองโมนยวา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/a-worker-returned-from-thailand-keeps-in-quarantine-at-monywa-hospital