นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเรียกร้องให้ผู้คนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคเอง

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเรียกร้องให้ชาวสปป.ลาวเริ่มปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่บ้านเพื่อบริโภคในกรณีที่เสบียงอาหารจะหมดไปท่ามกลางการระบาดของโควิด -19 โดยประชาชนควรเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสยังคงเพิ่มขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน ท่ามกลางความกังวลว่าหากมีการหยุดชะงักของการค้าระหว่างประเทศจะทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศโดยเฉพาะอาหารเนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่การปิดประเทศอาจกลายเป็นจริง เช่นในประเทศไทย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวกำลังเรียกร้องให้รัฐกำหนดให้ปิดประเทศเป็นเวลาสองสัปดาห์เพื่อป้องกันไม่ให้โควิด -19  แพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด สมาพันธุ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทยเสนอให้ปิดการเชื่อมโยงทั้งทางบกและทางอากาศเป็นเวลาสองสัปดาห์หรือไม่เกินหนึ่งเดือนซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนในการรับมือกับการระบาดของโรค ทั้งนี้ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาวกล่าวว่าความกังวลดังกล่าวนั้น ผู้บริโภคสปป.ลาวจะไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างจริงจัง เขาเสริมว่าชุมชนชนบทในสปป.ลาวมีประเพณีการทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองมานานซึ่งหมายความว่าผลกระทบของการหยุดชะงักทางการค้าในประเทศจะไม่รุนแรงเท่ากับในประเทศอื่น ๆ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/03/18/lao-pm-urges-people-to-grow-crops-raise-animals-for-own-consumption/

เพิ่มสามโครงการการลงทุนในกัมพูชาเพื่อสร้างงานกว่า 2,000 ตำแหน่ง

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุนสามโครงการด้วยเงินทุนรวม 7 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยโครงการใหม่สามโครงการจะสร้างงานเกือบ 2,000 ตำแหน่ง สำหรับคนในท้องถิ่น ซึ่งโครงการลงทุนแรกมูลค่าอยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นของ บริษัท จินหมิงหลี่เจี้ยนวันจำกัดซึ่งจะสร้างโรงงานผลิตเส้นด้ายในเขตกงปิสซีจังหวัดกำปงสปือสามารถจ้างพนักงานได้ที่ 180 คน โครงการที่ 2 เงินลงทุนจำนวน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดตบุงคุมเป็นของ บริษัท ซูเซ็น(กัมพูชา) อุตสาหกรรมจำกัด โดยต้องการคนงานอยู่ที่ 726 ตำแหนน่งในการผลิตเสื้อผ้า โครงการที่สามยังคงอยู่ในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าคือ บริษัท มิลล์ยูไนเต็ดแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุนอยู่ที่ 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้างโรงงานในจังหวัดกันแลนด์คาดว่าจะสร้างงาน 912 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ แต่การลงทุนใหม่ในภาคเสื้อผ้ายังคงดำเนินต่อไปโดยให้ความหวังกับเยาวชนสำหรับโอกาสการจ้างงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702925/three-investment-projects-to-create-2000-jobs/

ธนาคารกลางของกัมพูชาประกาศมาตรการกระตุ้นสินเชื่อภายในประเทศ

ธนาคารกลางกัมพูชาได้ประกาศมาตรการใหม่ 3 มาตรการ เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้สถาบันการเงินมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งขึ้น โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินของประเทศดำเนินการให้กู้ยืมเงินกับภาคเอกชนต่อไปท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งผู้อำนวยการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้บรรยายสรุปว่า NBC จะชะลอการดำเนินงานของ Capital Conservation Buffer (CCB) จนถึงปีหน้า, ลดอัตราดอกเบี้ยในการดำเนินงานด้านสภาพคล่อง (LPCO) และลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนังสือรับรองการฝากเงิน (NCD) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินรายย่อย รวมถึงกระตุ้นให้สถาบันการเงินดำเนินการให้สินเชื่อต่อไปได้ โดยก่อนหน้านี้ NBC ได้ขอให้สถาบันการเงินทุกแห่งรักษาอัตราส่วนเงินกองทุนไว้ที่ 50% อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้ NBC ได้ขอให้เพิ่มเป็น 100% ส่วนต่อมาคือการลดอัตราดอกเบี้ยของ LPCO จาก 3% เป็น 2.5% สำหรับสินเชื่อระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี สำหรับสินเชื่ออายุไม่เกิน 6 เดือนจาก 2.8% เป็น 2.3% และสำหรับสินเชื่ออายุไม่เกิน 3 เดือนจาก 2.6% เป็น 2.1% เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702862/the-central-bank-announces-measures-to-boost-lending/

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index

ลดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการจ่ายแบบไร้เงินสดท่ามกลางโควิด-19

องค์กรการรับชำระเงินแห่งชาติ (NAPAS) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคารจะปรับลดเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการชำระไร้เงินสด ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางองค์กรข้างต้นจะปรับลดค่าธรรมเนียมอีกครึ่งหนึ่งจากในปัจจุบันอยู่ที่ 1,800 ด่ง เหลือ 900 ด่ง และการทำธุรกรรมทางการเงินรวมตั้งแต่ 500,001 ด่ง (21 ดอลลาร์สหรัฐ) จนมาอยู่ที่ 2 ล้านด่งต่อครั้ง ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 25 มีนาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้เรียกร้องแก่ธนาคารพาณิชย์และสาขาที่อยู่ในต่างประเทศ ให้ปรับลดค่าธรรมเนียมจากการโอนเงินข้ามธนาคาร อยู่ในระดับน้อยกว่า 900 ด่งต่อครั้ง นอกจากนี้ การส่งเสริมชำระไร้เงินสดเป็น 1 ในมาตรการที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจและการผลิต ท่ามกลางโควิด-19 โดยจากการสำรวจของ IDG Vietnam เปิดเผยว่าร้อยละ 79 ยังคงนิยมชำระผ่านเงินสดในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ทางธนาคารกลางอนุมัติโครงการนำร่องที่เกี่ยวกับการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/further-fee-reductions-to-promote-cashless-payments-amid-covid19/170196.vnp

ธ.กลางเวียดนามลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับแรงกระแทกของวิกฤตโควิด-19

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากการแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ระบุว่าได้ปรับลดอัตรารีไฟแนนซ์อ้างอิงสู้ระดับร้อยละ 5-6 และอัตราส่วนลดอยู่ในระดับร้อยละ 3.4-4 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคาร ได้ปรับลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 6-7 และการดำเนินการของธนาคารกลางผ่านตลาดการเงิน (OMO) ด้วยอัตราร้อยละ 3.5-4 นอกจากนี้ ธนาคารยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้อยู่ในระดับร้อยละ 0.25-0.5 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม การประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางเวียดนามกล่าวว่าการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินให้มีสภาพคล่องและอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ธนาคารกลางได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เมื่อครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/central-bank-cuts-interest-rates-to-buffer-covid19-impact/170195.vnp