MOT กัมพูชาเปิดเผยแผนการสนันสนุนการเดินทางภายในประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยว (MOT) กำลังวางแผนที่จะจัดทำแพคเกจทัวร์ราคาประหยัดใหม่เพื่อสอดรับกับการชะลอตัวลงของภาคการท่องเที่ยวในประเทศท่ามกลางสถานการณ์การระบาด COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ ณ ปัจจุบันเพื่อให้การเดินทางภายในประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยแพ็คเกจทัวร์นี้จะช่วยให้ประหยัดได้ในระหว่าง 20% ถึง 30% สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งโฆษกเปิดเผยว่ากระทรวงกำลังทำงานกับชุดบริการในภาคเอกชนรวมถึงโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ผู้ประกอบการท่องเที่ยว และบริษัทขนส่ง เพื่อการพัฒนาแพคเกจทัวร์ราคาประหยัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตของนักท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันการระบาดของ COVID-19 ส่วนใหญ่เกิดในประเทศจีนและไม่มีข้อบ่งชี้ว่าไวรัสจะหยุดแพร่กระจายในเร็วๆนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าเมื่อปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.6 ล้านคน (ซึ่งสร้างรายได้ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 11.5 ล้านคน อาจจะลดลงเป็นอย่างมากในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50699506/mot-unveils-their-plan-to-encourage-domestic-travel

เม็ดเงินลงทุน 564 ล้านดอลลาร์สหรัฐในนิคมอุตสาหกรรม Da Nang Hi-Tech Park

นิคมอุตสาหกรรม Da Nang Hi-Tech Park (DHTP) ได้เปิดตัวในปี 2556 ฐานะศูนย์กลางสีเขียวและการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง จนสามารถดึงดูดโครงการลงทุน 18 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) 9 โครงการ ด้วยเงินทุนรวม 564 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ผู้อำนวยการของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ระบุว่านิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวถูกออกแบบให้เป็น 1 ใน 3 ของนิคมอุตสาหกรรมหลักที่สามารถใช้งานได้หลายประเภท ตามมาด้วยกรุงโฮจิมินห์และฮานอย รวมถึงมีจำนวนธุรกิจ FDI 4 แห่ง ประกอบไปด้วยบริษัทญี่ปุ่น 2 ราย, บริษัทเกาหลีใต้ 1 ราย และบริษัทสหรัฐฯ 1 ราย ที่ได้ตัดสินใจทุ่มเงินลงทุน 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและตลาดในประเทศ รวมถึงมีนักลงทุนในประเทศอีก 2 ราย ได้แก่ Long Hau company และ Bien Dong electric automation technology company ทั้งนี้ จากรายงานของคณะกรรมการ ระบุว่า UAC ได้ลงทุนก่อสร้างโรงงาน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ ซึ่งได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างแล้วและเริ่มต้นการผลิตในสิ้นปี 2562 นอกจากนี้ เมืองแห่งนี้ได้เรียกร้องให้มีการลงทุนจาก Silicon Valley และธุรกิจจากสหรัฐฯที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค การศึกา อสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม DHTP และ IZs

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/653256/564-million-poured-in-da-nang-hi-tech-park.html

ธุรกิจภาคเกษตรร่วมมือภาครัฐหาแนวทางลดอุปสรรคการดำเนินธุรกิจ

วันที่ 6 มีนาคมได้มีการจัดงาน 2020 Business Forum (LBF) โดยภายในตัวแทนธุรกิจภาคเกษตรของสปป.ลาวได้จัดการเจรจากับหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว (LNCCI) เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจภาคเกษตร ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้แทนอุตสาหกรรมกล่าวว่ายังมีปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ไขอีกมากรวมถึงความยุ่งยากของเอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้าสำเร็จรูปถือเป็นอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างยากลำบาก อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปี 2568 ทั้งนี้คาดว่าผลของการประชุมในงานดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลทราบถึงปัญหาของการดำเนินธุรกิจภาคเกษตรมากขึ้นและจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้นเพื่อสร้างบรรยายกาศที่ดีในการดำเนินธุรกิจ  

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-agribusiness-sector-raise-challenges-business-forum-115299

มาเลเซีย-สปป.ลาวจัดแคมเปญหวังกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงนี้

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ได้มีการจัดงานสัมนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชื่อแคมเปญ ” Golden Golden Holiday Holiday ” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมาเลเซีย-สปป.ลาว โดยภายในงานได้มีคณะผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆของทั้ง 2 ประเทศเข้าประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการบรรเทาปัญหาการลดลงของนักท่องเที่ยวจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 และยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสปป.ลาวและมาเลเซียอีกด้วย ก่อนหน้านี้มาเลเซียและสปป.ลาวได้ร่วมมือกันในการเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนการท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศผ่านแคมเปญต่างๆ ทำให้ในเดือนมกราคม-กันยายน 2562 มาเลเซียมีนักท่องเที่ยว 20,959 คนเพิ่มขึ้น 13.8%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวดังกล่าวเดินทางมาจากสปป.ลาวสร้างรายได้มากถึง 1 แสนล้านานริงกิต ดังนั้นความร่วมมือกันในการจัดแคมเปญใหม่นี้ก็เพื่อหวังผลในการเพิ่มนักท่องเที่ยวให้สูงขึ้นโดยมีเป้าหมายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวในอาเซียนเป้นหลัก

 ที่มา  :  http://annx.asianews.network/content/tourism-malaysia-strengthens-ties-laos-boost-arrivals-115300

อุตสาหกรรมยานยนต์เมียนมาเตรียมลดการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

การร้องขอจากอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศสำหรับการลดผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กึ่งสำเร็จรูป (Semi Knocked Down :SKD) ได้ถูกเสนอต่อหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของย่างกุ้ง โดยได้เสนอว่าควรส่งเสริมการผลิตรถยนต์ในประเทศสามารถยกระดับห่วงโซ่คุณค่าสู่การผลิตรถยนต์ในประเทศได้เอง (Completely Knocked Down :CKD) :7j’การผลิตแบบ SKD อาจขัดขวางภาคการพัฒนา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2562 กรุงย่างกุ้งจะอนุญาตให้มีการจดทะเบียนยานพาหนะมูลค่ารวม 10 ล้านจัตในเมียนมา ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ที่จดทะเบียนในย่างกุ้งได้ถูกระงับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ในอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้คือจะอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ที่จะหมดอายุในเดือนนี้ ตั้งแต่ปี 2561 อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์พวงมาลัยซ้ายจากประเทศตะวันตกเท่านั้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/auto-industry-seeks-easing-duties-car-components.html

อัตราแลกเปลี่ยนกระทบตลาดถั่วในเมียนมา

การแข็งค่าของเงินจัตเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินหยวนของจีนเริ่มส่งผลกระทบในทางลบต่อถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมา หมายถึงราคาแพงกว่าสำหรับผู้ซื้อจากต่างประเทศในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีรายได้น้อยลง ราคาถั่วและถั่วพัลส์ในท้องถิ่นได้ลดลงจากที่ใดก็ได้ 2,000 จัต ถึง 10,000 จัตต่อถุงจากหน่วยวัดในท้องถิ่น อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวนลดลงจาก 206.39 จัต ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์เหลือเพียง 199.83 จัต ในวันที่ 8 มีนาคมลดลง 3.17% ราคาของถั่วเขียวผิวดำได้ลดลงประมาณ 10,000 จัต จาก 90,000 จัต เป็น 80,000 จัตในขณะที่ถั่วเขียวลดลง 6,000 จัต จาก 119,000 จัต เป็น 113,000 จัต และถั่วลันเตาประมาณ 8,000 จัตจาก 65,000 จัตถึง 57,000 จัต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาธนาคารกลางแห่งเมียนมาได้ซื้อเงินตราต่างประเทศจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอัตรา 1,398.6 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/exchange-rate-hits-local-bean-market.html

กบง.ชงครม.ลดค่าไฟฟ้าช่วยปชช.ฐานราก-ธุรกิจรายย่อย

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.) มีมติเห็นชอบ 4 มาตรการเร่งด่วนเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) 10 มี.ค. นี้ วงเงินรวมประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ได้แก่ 1.เห็นชอบการคืนเงินประกันมิเตอร์การขอใช้ไฟฟ้าให้กับครัวเรือน 21.5 ล้านราย สำหรับประเภทบ้านเรือนที่ใช้อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละรายว่าจ่ายเงินประกันมิเตอร์กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เท่าไหร่จะมีสิทธิ์ขอคืนเงินประกันได้ โดยจะเริ่มทยอยคืนตั้งแต่รอบบิลที่จะถึงนี้ 2.กบง.ยังมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการกิจการพลังงาน(กกพ.) ตรึงอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บกับประชาชนอยู่ที่ประมาณ 3.50 บาทต่อหน่วย เป็นเวลา 3 เดือน ช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย.63 จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือประมาณ 5,000 ล้านบาท อีกทั้งจะขอความร่วมมือจาก กฟภ.และกฟน.ช่วยลดค่าไฟฟ้าอีก 11 สตางค์ วงเงินประมาณ 4,800 ล้านบาท รวมประมาณ 1 หมื่นล้านบาท 3.เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาชำระค่าไฟฟ้าบิลเดือนเม.ย.และเดือนพ.ค.ให้นานได้ถึง 6 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระประชาชนประเภทบ้านเรือนที่ใช้อยู่อาศัยกิจการขนาดเล็ก และกิจการโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยกเว้นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ 4.เห็นชอบให้นำเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าวงเงิน 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบปี 62 วงเงิน 2,500 ล้านบาท และปี 2563 วงเงิน 1,500 ล้านบาท ให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย มาใช้ดำเนินโครงการสร้างงานให้เกิดประโยชน์ในการแก้ปัญหาภัยแล้งในท้องถิ่นต่างๆ เช่น ขุดลอกคูคลอง ผันน้ำ เป็นต้น เป็นการอัดฉีดเม็ดเงินในการจ้างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก บรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัว…

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/761932

ธนาคารกรุงศรีจับตามองโอกาสการลงทุนเทคโนโลยีสตาร์ทอัพในกัมพูชา

กรุงศรีฟินโนเวตซึ่งเป็น บริษัทร่วมทุน (CVC) ภายใต้ Bank of Ayudhya (BAY) วางแผนที่จะลงทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการเริ่มต้นธุรกิจสามแห่งในช่วงครึ่งแรก โดยกรุงศรีฟินโนเวตมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคารในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้ทันต่อยุคสมัย ซึ่งบริษัทกำลังเจรจากับ บริษัทสตาร์ทอัพไทยหลายแห่ง โดยหัวหน้าฝ่ายธนาคารดิจิทัลและนวัตกรรมของธนาคารกรุงศรีคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงภายในเดือนมิถุนายน ซึ่งการทำการ CVC มีเงินทุนเริ่มต้นอยู่ที่ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อรวมเข้ากับบริษัทในปี 2561 จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบางส่วนของเงินทุน 50 ล้านเหรียญสหรัฐจะถูกนำไปลงทุนใน Grab ภายใต้บริษัทแม่ของ Mitsubishi UFJ Financial Group Inc. และตัวอย่างการลงทุนของกรุงศรีฟินน์โนเวตเมื่อเร็วๆนี้ คือ Baania ที่ทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลสำหรับการจัดหาเงินทุนล่วงหน้าได้ รวมถึงการลงทุนที่คาดหวังใน บริษัท agritech ในท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมสนับสนุนลูกค้าของธนาคารในภาคเกษตรด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านการเกษตรเป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50699368/krungsri-finnovate-of-thailand-eyes-investment-opportunities-in-tech-startups-in-cambodia

การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง SECC กัมพูชา และ BEST

สมาคมเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์และบล็อคเชน (BEST) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (SECC) เพื่อร่วมมือกันพัฒนา fintech, blockchain และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ต่างๆในประเทศกัมพูชา โดยบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้รับการลงนามโดยอธิบดี SECC, Mr. Sou Socheat และ Mr. Charles Ong ประธานของ BEST ซึ่ง BEST เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่จดทะเบียนโดยมีตัวแทนอยู่ในประเทศกัมพูชาและมาเลเซียจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนา blockchain และให้คำปรึกษาด้าน fintech ทั่วเอเชียก่อตั้งขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 292 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ภายใต้ MoU นี้ SECC และ BEST จะร่วมกันสร้างสิ่งขับเคลื่อนเพื่อให้คำแนะนำที่จำเป็นเกี่ยวกับ fintech, blockchain และเทคโนโลยีใหม่ๆแก่ SECC The Fintech Times

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50699361/mou-between-securities-and-exchange-commission-of-cambodia-and-best-blockchain-advisory-inked