แม้มีข้อจำกัดการเพาะปลูก กล้วยยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสปป.ลาว

มูลค่าการส่งออกของกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและไทยในปี 62 เพิ่มขึ้น 198 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตราการสั่งห้ามไม่ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มเละยังมีการปิดโรงงานกว่า 90 บริษัทที่ลงทุนในสวนกล้วยครอบคลุม 26,177 เฮคเตอร์ทั่วประเทศลาวเนื่องจากการเพาะปลูกกล้วยของบริษัทบางส่วนมีการละเมิดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นมิตต่อระบบนิเวศโดยมีการใช้สารเคมี Paraquat และ DDTที่อาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้พืชดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและหากต้องการจะปลูกต้องมีการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน อย่างไรก็ตามกล้วยก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวเพราะมีมูลค่าเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้แก่สปป.ลาวนอกจากนี้ยังสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งทีมีมูลค่าสูง ในท้ายที่สุดหากมีข้อสรุปที่เหมาะสม กล้วยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bananas-remain-large-slice-laos%E2%80%99-export-pie-114628

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาร่างนโยบายการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในประเทศกัมพูชา โดยจะดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งประธานของ Chan Rasy ที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำไปใช้ในการร่างนโยบายเชิงกลยุทธ์สำหรับพืชผลในกัมพูชาตามแถลงการณ์ที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วร่างนโยบายจะถูกส่งไปยังรัฐบาลเพื่อตรวจสอบและอนุมัติก่อนนำไปใช้เป็นนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในประเทศกัมพูชา โดยกัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์จำนวน 202,318 ตัน ในปีที่แล้วสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 100% จาก 101,973 ตัน ในปี 2561 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ราคาปัจจุบันของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบอยู่ที่ 1.25 – 1.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของถั่วด้วยการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยังคงคาดว่าจะเติบโตได้ดีในปี 2020 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรระบุว่ามีการวางแผนที่จะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์มากกว่า 500,000 เฮกตาร์จากปัจจุบัน 150,000 เฮกเตอร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695612/ministry-moves-to-implement-draft-policy-for-cashew-nut-production

ภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศยังเติบโต แต่ยังคงต้องติดตามต่อในอนาคต

กัมพูชามีรายรับราว 4.91 พันล้านเหรียญสหรัฐจากภาคการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 12.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน  โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.61 ล้านคน ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วจำนวนนักท่องเที่ยวรวมภายในประเทศที่มาเยือนกัมพูชาเพิ่มขึ้น 11.3 ล้านคน จากนักท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยจากรายงานแสดงให้เห็นถึงภาคการท่องเที่ยวมีสัดส่วนถึง 12.1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งการท่องเที่ยวมีลูกจ้างถึง 630,000 คน ในการให้บริการภายในประเทศ โดยประเทศจีนอยู่ในอันดับต้นๆของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในกัมพูชาเมื่อปีที่แล้วสูงถึง 2.361 ล้านคน รองลงมาคือเวียดนาม 908,803 คน ไทย 363,951 สปป.ลาว 363,951 เกาหลีใต้ 254,874 คน สหรัฐ 248,863 คน ญี่ปุ่น 207,636 คน มาเลเซีย 203,008 และญี่ปุ่น 207,636 คน เป็นต้น ซึ่งกระทรวงฯคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสูงถึง 7 ล้านคนในปี 2563 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การคาดการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก ในปัจจุบันในเสียมราฐเพียงอย่างเดียวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงประมาณร้อยละ 60 จนถึงปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695677/international-tourism-up-but-fears-for-the-future

กนอ.จ่อคลอดแผนนิคมอุตสาหกรรมสกัด ‘โควิด-19’

กนอ.เตรียมออกมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19 ในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เล็งปรับเป้าขายที่ดินปีนี้รับพิษเศรษฐกิจทรุดด้านเอเชียคลีนฯเชื่อไทยสร้างความมั่นใจคุมไวรัสได้ โดยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่าจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในหลายประเทศ กนอ.เตรียมจะออกประกาศให้นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศมีมาตรการและบังคับใช้มาตรการอย่างเข้มงวดในการตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค โควิด – 19 ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและลดความเสี่ยงของผู้ที่ทำงานในโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายการจำหน่ายพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในความดูแลของ กนอ.ประมาณ 3,000 ไร่ต่อปี โดยปีนี้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากหลายด้าน ซึ่งนอกจากเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสแล้วจะต้องประเมินถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนด้วย โดยเชื่อว่าหากยังสามารถควบคุมการระบาดในประเทศได้ในระดับนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนที่มีแผนที่จะขยายการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นโอกาสรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868079

DITP ผลักดันผู้ประกอบการไทยขายสินค้าสู่ตลาดโลก ผ่านร้าน TOPTHAI

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์จับมือพันธมิตรออนไลน์ชั้นนำ ได้แก่ Kha-leang (ตลาด CLMV), Tmall Global Partner (ตลาดจีน), BigBasket (ตลาดอินเดีย) และ Amazon (ตลาดอเมริกา) จัดกิจกรรม “Cross-Border e-Commerce Solutions & Business Matching” ณ กรุงเทพฯ เพื่อต่อยอดการส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถขายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านร้าน TOPTHAI บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถขยายธุรกิจระหว่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 จึงมีความพิเศษคือจะเป็นการต่อยอดเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่เข้าร่วมโครงการสามารถขึ้นขายสินค้าบนร้าน TOPTHAI ในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในตลาดเป้าหมาย อาทิ Kha-leang (ตลาด CLMV), Tmall Global Partner (ตลาดจีน), BigBasket (ตลาดอินเดีย) และ Amazon (ตลาดอเมริกา)

          ที่มา: https://mgronline.com

ยอดขายรถจักรยานยนต์เวียดนามสูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน

ถึงแม้ว่ายอดขายรถจักรยานยนต์เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน เมื่อปีที่แล้ว แต่ความต้องการในประเทศกลับลดลงเมื่อเทียบกับการเติบโตของภูมิภาคใกล้เคียงกัน โดยข้อมูลจากบริษัทวิจัยการตลาด เปิดเผยว่าเวียดนามมียอดขายอยู่ที่ 3.27 ล้านคัน เป็นรองอินโดนีเซียที่มียอดขายเพียง 6.53 ล้านคัน สำหรับยอดขายในประเทศนั้น ลดลงร้อยละ 3.7 ในปี 2561 ขณะที่ ยอดขายในภูมิภาคอาเซียนขยายตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอินโดนีเซียและมาเลเซีย  เมื่อจำแนกเป็นยี่ห้อรถจักรยานยนต์ พบว่าฮอนด้าทำสถิติยอดขายสูงสุดอยู่ที่ 2.57 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และยังคงครองผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ เวียดนามติดอยู่ในอันดับที่ 4 ที่มีการบริโภครถจักรยานยนต์ ตามมาด้วยอินเดีย จีนและอินโดนีเซีย ตามลำดับ เป็นต้น นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม ระบุว่าตลาดรถจักรยานยนต์เวียดนามยังคงเติบโต ถึงแม้คาดว่าในครั้งก่อน ตลาดจะอยู่ในช่วงอิ่มตัว ด้วยข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและภาษีที่สูง แต่พบว่ายังมีความความต้องการสินค้าประเภทนี้อยู่และข้อจำกัดของรถยนต์ ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมฯมองว่าตลาดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า ซึ่งยอดขายชะลอตัวอยู่ที่ราว 3 – 3.5 ล้านคันต่อปี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-motorbike-sales-second-highest-in-asean-410556.vov

ไทยตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กจากเวียดนาม

หน่วยงานกำกับดูแลมาตรการค้าของเวียดนาม (TRAV) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าประเทศไทยเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กของเวียดนาม ในอัตราร้อยละ 6.79 -51.61 ของราคาสินค้ารวมค่าประกันภัยและค่าระวาง (CIF) สำหรับการนำเข้าสินค้าเหล็กจากเวียดนาม ซึ่งทางสำนักงานการค้าเวียดนามในไทยได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสรุปการพิจารณาการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กและท่อเหล็กกล้าที่มีแหล่งกำเนิดจากเวียดนาม (HS Code 169) เนื่องจากปกป้องภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงเรื่องการทุ่มตลาด ดำเนินเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ถูกนำมาใช้เป็นเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี และสมาชิกสามารถดำเนินการตรวขสอบได้ทุกๆปี ดังนั้น หน่วยงานกำกับดูแลมาตรการค้าของเวียดนามให้คำแนะนำผู้ประกอบการส่งออกชาวเวียดนามในการทบทวนหลักฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้องและได้รับผลประโยชน์

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/thailand-imposes-antidumping-duty-on-vietnamese-steel-products-410542.vov