เวียดนามลงทุนต่างประเทศในเดือนม.ค. ทะลุ 3.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของสำนักงานการลงทุนต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่าจำนวนเงินลงทุนของเวียดนามไปยังต่างประเทศ 3.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนม.ค. นับว่าเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประกอบไปด้วย 7 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 3.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีกหนึ่งโครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนประมาณ 140,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยประเภทของกิจการส่วนใหญ่ที่เวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศ คือ ภาคการค้าปลีกและค้าส่ง (71.8% ของเงินลงทุนจดทะเบียนทั้งหมด) รองลงมาภาคก่อสร้าง ภาคการผลิตและแปรรูป และโทรคมนาคม ทั้งนี้ในเดือนม.ค. ธุรกิจเวียดนามลงทุนไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุด คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาญี่ปุ่น กัมพูชาและเกาหลีใต้ ตามลำดับ สำหรับประเภทธุรกิจอื่นๆที่น่าสนใจอีก ได้แก่ ธุรกิจประเภทเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ในปี 2562 ยอดเงินทุนที่เวียดนามลงทุนไปยังต่างประเทศทั่วโลก มีมูลค่ามากกว่า 508 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลงทุนไปยัง 164 โครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 403 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีก 29 โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนรวมอยู่ที่ราว 105 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-invests-397-million-usd-abroad-in-january-409501.vov

แรงงานเมียนมา 130 คนเดินกลับเมียวดีภายหลังโรงงานปิดกิจการ

แรงงานเมียนมาจำนวน 130 คนถูกส่งกลับไปยังเมียวดีเมื่อวันที่ 31 มกราคมเนื่องจากการโรงงานที่กาญจนบุรีปิดกิจการลง โรงงานแห่งนี้เป็นของชาวจีนและมีคนงานมากกว่า 300 คน โรงงานถูกปิดอย่างกะทันหันเนื่องจากวัตถุดิบจากจีนไม่สามารถส่งได้เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แรงงานข้ามชาตินี้เป็นไปตามข้อตกลงของไทยและเมียนมา (MoU) และต้องจ่ายเงินประมาณ 1 ล้านจัต เพื่อทำงานอย่างถูกกฏหมาย ด้านกงสุลแรงงานประจำแม่ สอดกำลังช่วยแรงงานอพยพกลับและพบกับตัวแทนจัดหางานเพื่อขอเงินชดเชย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/130-myanmar-workers-return-to-myawady-due-to-the-factory-closure

ผู้ส่งออกข้าวโพดเมียนมาเล็งหาตลาดใหม่

นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมากล่าวว่า ผู้ค้าข้าวโพดกำลังมองหาตลาดใหม่ ๆ โดยเป้าหมายที่คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เดือน มิถุนายนตัวแทนจากสมาคมจะไปเยือนจีนเพื่อโปรโมตข้าวโพดที่ผลิตในรัฐฉาน ทั้งนี้ยังได้ตกลงที่จะส่งออกไปยัไทย แต่ยังรอการอนุญาตอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามภาษีนำเข้าที่สูงยังเป็นความท้าทายที่สำคัญ ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทยกับเมียนมาการส่งออกข้าวโพดได้รับการยกเว้นภาษีระหว่างเดือนก.พ. – ส.ค 62 ช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.ส่งออกข้าวโพดมากกว่า 100,000 ตัน เมื่อเทียบกับ 200,000 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ช่วงปีงบประมาณ 61-62 ส่งออกข้าวโพด 1.5 ล้านตันมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 1.1 ล้านตันมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 58-59 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเมียนมามีมากกว่า 1.9 ล้านเอเคอร์ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐสะกาย มาเกว คายิน ชีน ฉาน และกะยา  โดยราคาข้าวโพดปัจจุบันอยู่ที่ 480 จัตถึง 495 จัตต่อ viss (1.65 กิโลกรัม)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/demand-falters-corn-traders-seek-new-markets.html

LAO Airlines ลดเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางประเทศจีน

สายการบินสปป.ลาวระงับเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยัง 5 เมืองในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดหลักของสายการบิน Mr .Bounma ประธานกรรมการบริหาร LAO Airlines กล่าวว่าผู้ประกอบการทัวร์จีนส่งจดหมายถึง Lao Airlines เพื่อขอให้ระงับเที่ยวบินเช่าเหมาลำหลังจากที่พวกเขาได้รับคำแนะนำให้ยกเลิกทัวร์ขาออกจากจีนมายังลาว เนื่องจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าที่รุนแรงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม LAO Airlines ไม่ได้ยกเลิกเส้นจากจีนทุกเส้นทางเนื่องจากจีนไม่ได้ขอให้สปป.ลาวระงับในบางเส้นทางและสปป.ลาวก็เห็นด้วยกับคำร้องขอดังกล่าว อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างมากแก่สปป.ลาวจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักโดยปี62มีจำนวนคนจีนมาเที่ยวมากถึง 4.9 ล้านคน ทำให้การท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมาเติบโตและเป็นปัจจัยที่สำคัญตัวหนึ่งที่ค่อยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาวให้เติบโต ดังนั้นการเกิดสถานการณ์ในปัจจุบันส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของสปป.ลาวในปีนี้อย่างแน่นอน นั้นจึงเป็นทำให้รัฐบาลต้องกระตือรือร้นเพื่อแก้ปัญหาและวางแนวทางใหม่สำหรับการกระตุ้นการท่องเที่ยว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_Airlines_23.php

ญี่ปุ่นลงทุนโดยตรงไปยังกัมพูชาสูงถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

ในระหว่างปี 2537-2562 กัมพูชาได้รับโครงการลงทุนจากญี่ปุ่นกว่า 137 โครงการ มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายใต้กรอบการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น โดยผู้ช่วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์จัดงานสัมมนาเรื่อง “การได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีค่าผ่านการเชื่อมโยง MSME” ณ กรุงพนมเปญเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งโครงการลงทุนยังคงดำเนินต่อไปโดยมุ่งเน้นไปที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป โรงแรม การท่องเที่ยว โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อีกจำนวน 1,799 แห่ง ที่ญี่ปุ่นลงทุนในด้าน โดยธุรกิจจากญี่ปุ่นมีชื่อเสียงด้านคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าท้องถิ่นสร้างงานและช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของคนงานกัมพูชาซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจำนวนบริษัทญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในกัมพูชาเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการตัดสินใจลงทุนและขยายการดำเนินงานในกัมพูชาเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของรัฐบาลกัมพูชาและมีสภาพแวดล้อมการลงทุนที่ดี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686389/japans-foreign-direct-investment-in-cambodia-peaks-2-5-billion-in-last-15-years

กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 54 เขตทั่วประเทศ

ในปี 2562 กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวม 54 เขต ตามรายงานจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา ซึ่งในปีที่แล้วได้มีการส่งออกสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชาอยู่ที่ 2,688 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงพนมเปญครอบคลุมพื้นที่ 353 เฮกเตอร์ มีบริษัทลงทุนกว่า 121 แห่ง รวมถึงสร้างงานให้กับชุมชนอีกกว่า 21,717 ตำแหน่งให้กับชาวกัมพูชา โดยการส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษในกรุงพนมเปญมีมูลค่าอยู่ที่ 518 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ตามตัวเลขที่มีการรายงานของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งบริษัท ส่วนใหญ่ที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษกรุงพนมเปญมาจากประเทศไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เบลเยียม ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมเขตเศรษฐกิจพิเศษและการลงทุน ซึ่งกฎหมายใหม่นี้จะดึงดูดการลงทุนในประเทศโดยจัดให้มีสิ่งจูงใจเพิ่มความโปร่งใสและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50686294/cambodia-has-54-special-economic-zones-more-to-come

ทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่เวียดนามในเดือนม.ค. สูงสุดในรอบ 4 ปี

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ามีบริษัทจดทะเบียนใหม่ทั้งสิ้น 8,276 ราย ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่เงินทุนจดทะเบียนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 76.8 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 276 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าตัวเลขดังกล่าวมีอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนผู้ประกอบการใหม่ลดลงในช่วงเดือนม.ค.นั้น เป็นผลมาจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของประเทศ ขณะที่ เม็ดเงินทุนต่างประเทศพุ่งสูงขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากบริษัทจดทะเบียนใหม่ในสาขาอุตสาหกรรมการเงิน ด้วยเงินทุนราว 144 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (53.9% ของเงินทุนจะเทียนรวม) ทั้งนี้ จำนวนบริษัทที่หยุดกิจการในเดือนม.ค. 11,702 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนบริษัทที่ล้มละลายมีอยู่ประมาณ 1,621 ราย ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ จำนวนบริษัทจดทะเบียนใหม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ กิจการเหมืองแร่ กิจการรถจักรยานยนต์และรถยนต์ รวมไปถึงกิจการค้าบริการ อย่างไรก็ตาม อีก 5 อุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ กิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าน้ำ, สารสนเทศและโทรคมนาคม, วิทยาศาตร์ เทคโนโลยีและให้คำปรึกษา, การศึกษาและการฝึกอบรม และบริการรับจัดเลี้ยงและที่พัก เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/591583/registered-capital-of-new-enterprises-in-january-hits-four-year-high.html

ยอดลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามสูงขึ้น 179%

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MIP) เปิดเผยว่าในช่วง 20 วันแรกของปีนี้ ยอดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 5.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับเม็ดเงินลงทุน 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น มาจากโครงการลงทุนต่างชาติใหม่จำนวนกว่า 258 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 454.1 และ 14.2 ตามลำดับ ขณะที่ เงินทุนส่วนที่เหลือจะเข้าไปสู่โครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนและการเข้าซื้อหุ้นเวียดนามจากบริษัทต่างชาติ เป็นต้น สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 4.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็น 90.9% ของเงินลงทุนทั้งหมดจากต่างชาติ) โดยเมื่อปีที่แล้ว กลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในอันดับที่ 3 ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ตามมาด้วยเกาหลีใต้อยู่ในอันดับที่ 1 (7.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 2 (7.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ในปี 2563 เวียดนามจะดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 38.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/january-fdi-surges-179-percent/167896.vnp