จัดเก็บภาษีเพิ่มสูงขึ้น จากผลกระทบของการค้าเสรี

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าจากการลงนามและการดำเนินงานตามข้อตกลงการค้าเสรีนั้น จะมีการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นของเวียดนามในปีนี้ ซึ่งมูลค่าการจัดเก็บภาษีทั้งหมดอยู่ที่ 335.6 ล้านล้านดง (14.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 11.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และยังคงสูงกว่าที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ ผลกระทบของการค้าเสรี จะขยายไปในทิศทางที่เป็นบวกทั้งการค้าและการลงทุนของเวียดนาม สำหรับงานแถลงข่าวในวันพุธที่ผ่านมา ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม เกาหลีใต้ (RoK) และ ASEAN ในเรื่องข้อตกลงหุ้นส่วนทางการค้า CPTPP ส่งผลเกิดการพัฒนาของธุรกิจเวียดนามและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ มูลค่าการจัดเก็บภาษีส่งออก-นำเข้า อยู่ที่ 105.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 7.97% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์และน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ทางสำนักงานศุลกากรเวียดนามได้ปราบปรามการลักลอบการนำเข้าและการทุจริตทางการค้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570061/free-trade-agreements-increase-tax-collection.html

การขยายวีซ่าเดินทางไม่ส่งผลกับนักเดินทางชาวเมียนมา

การขยายระยะเวลาการยกเว้นวีซ่าให้กับเมียนมาและเวียดนามจาก 14 วันเป็น 30 วันอาจไม่ส่งผลดีต่อนักเดินทางเมียนมามากนัก ส่วนใหญ่นักเดินทางชาวเมียนมาที่ไปทัวร์กับเวียดนามใช้เวลาประมาณห้าวันหรือหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งการใช้เวลารวมทั้งการเดินทางเข้า – ออก สองอาทิตย์ก็เพียงพอแล้ว ในทำนองเดียวกันชาวเวียดนามที่เดินทางมาจะอยู่ได้นานสุดประมาณห้าวัน ชาวเวียดนามไม่ได้อยู่ที่ย่างกุ้งนานนัก มักใช้เวลาประมาณสามวันในการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น ย่างกุ้ง และพระธาตุอินทร์แขวน หรือไปที่พุกามซึ่งก็อยู่ได้ไม่นานนัก จากตัวเลขของกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวตั้งแต่เดือน ม.ค.- ต.ค. 62 มีชาวเวียดนาม 43,146 เดินทางมาเข้ามา ซึ่งลดลง 691 คนเมื่อเทียบปีที่แล้วที่มีจำนวน 43,842 คน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/extended-free-visa-with-vietnam-does-not-benefit-myanmar-travellers-much-tourism-official

การลงทุนจากต่างประเทศสูงกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐภายในสองเดือน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ระบุว่าปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 1.148 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งรวมถึงการลงทุนกว่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ภายในสองเดือนครึ่งในปีงบประมาณนี้ เขตย่างกุ้งอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ 11 ราย และภูมิภาคหงสาวดีได้รับอนุญาต 4 การลงทุนจากต่างประเทศในสัปดาห์นี้ มีการลงทุนในภาคการผลิตไฟฟ้าและการพัฒนาที่อยู่อาศัยและ 15 รายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม การลงทุนจาก 14 ธุรกิจมีมูลค่า 84.171 ล้านเหรียญสหรัฐและสร้างงาน 8,538 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น ตามกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษการลงทุนต่างประเทศทั้งหมดในติละวา อยู่ที่ 15.203 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 14 ธันวาคมในปีงบประมาณนี้ การลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงาน การผลิต การขนส่งและการสื่อสาร ที่อยู่อาศัย โรงแรมและการท่องเที่ยว เหมืองแร่ ปศุสัตว์และการประมง การเกษตร เขตอุตสาหกรรม การก่อสร้างและ ภาคบริการอื่น ๆ ภายใน 31 ปี

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-reaches-over-us1-b-within-over-two-months

สหภาพยุโรปสนับสนุนการศึกษาและโครงการด้านโภชนาการสปป.ลาว

คณะผู้แทนของสหภาพยุโรป (EU) ได้ย้ำการสนับสนุนสำหรับความพยายามอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาและโภชนาการในทุกพื้นที่ของสปป.ลาว รวมถึงความช่วยเหลือทางการเงินและทางเทคนิคสำหรับการริเริ่มโครงการเช่นโครงการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานและโครงการสนับสนุนงบประมาณโภชนาซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่สำคัญและสำคัญมากที่จะช่วยพัฒนาด้านการศึกษาและสุขภาพของคนในประเทศภายใต้งบประมาณจาก EU ถึง 18.8 ล้านยูโรโดยมีกรอบพัฒนาต่อเนื่องไปถึงปี 67 วงเงินถึง 71 ล้านยูโร ในอนาคตจะมีการพัฒนาในสปป.ลาวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์และด้านโภชนาเพื่อความยั่งยืนด้านอาหาร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_EU_274.php

รัฐบาลผลักดันแผนพัฒนาปี 63

รัฐบาลจัดประชุมพิเศษเพื่อสร้างพื้นฐานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนพัฒนาแห่งชาติในปี 63 มีประสิทธิภาพจากการเปิดเผยของสื่อจากสำนักนายกรัฐมนตรีประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงการระบุถึงการพัฒนาและเป้าหมายสำคัญที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องบรรลุในปี 63 หนึ่งในเป้าหมายหลักของรัฐบาลคือการลดการขาดดุลงบประมาณและในขณะเดียวกันต้องรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงไว้ที่ 6.5 เปอร์เซ็นต์ในปี 63 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าที่ผ่านมาโครงการลงทุนขนาดใหญ่จะช่วยรักษาอัตราการเติบโตของ GDP ส่วนดุลการค้าต้องลดการนำเข้าและพึ่งพาการผลิตและบริโภคในประเทศให้ได้  นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาในการปรับปรุงบริการเบ็ดเสร็จเพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศรวมถึงในหัวข้ออื่นอีกเช่น การส่งเสริมการผลิตเพื่อการค้าความมั่นคงด้านอาหารการบริโภคสินค้าในประเทศ การบริหารและกฎระเบียบของการนำเข้า โครงการสัมปทานที่ดินและการพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_274.php

ได้ฤกษ์ปัดฝุ่นเจรจา เอฟตา ไทยส่งออกผลไม้กระหึ่มโลก

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ผู้แทนของสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์ มาเข้าพบ และยื่นหนังสือเพื่อขอเริ่มต้นการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย ที่กรมต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอเดิม และเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอกับประเทศใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเจรจากับเอฟตาที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างนำผลการศึกษาที่เคยทำมาตั้งแต่ปี 2549 มาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อดูว่ามีประเด็นใด ที่จะนำเข้าสู่การเจรจาเพิ่มเติมอีก รวมถึงจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงผลดี ผลเสีย มาตรการเยียวยา โดยจะรวบรวมทำเป็นข้อสรุป เสนอนโยบายเพื่อตัดสินใจต่อไป โดยล่าสุด เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอได้ลด/เลิกเก็บภาษีนำเข้าผลไม้จากไทย ทำให้การส่งออก 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,213 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก รองจากสเปน เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก สหรัฐฯ ชิลี ขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปี 2561 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 41% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน และจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1729453

โรงไฟฟ้าถ่านหินในกัมพูชาได้รับความเสียหาย

โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 350 เมกะวัตต์ สองแห่งได้รับการความเสียหาย โดยมีกำหนดที่จะเชื่อมโยงกับกริดแห่งชาติภายในปี 2565 ซึ่ง CIIDC Erdos Hongjun Electric Power ลงทุนประมาณ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในโรงงานในเขต Stung Hav ของจังหวัดพระสีหนุ โดย CIIDG Erdos Hongjun Electric Power และ International Investment Development Group Co Ltd. ร่วมลงทุนบนโครงการโรงผลิตไฟฟ้า ซึ่งตามที่วางแผนไว้โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 350 เมกะวัตต์จะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าไปยังกริดแห่งชาติในปี 2565 และอีกแห่งมีกำหนดเปิดตัวในปี 2566 โดยผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานกล่าว ซึ่งการลงทุนมีความสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับกริดแห่งชาติ โดยราคาไฟฟ้าที่ขายให้แก่ EDC อยู่ที่ 0.0743 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาผลิตไฟฟ้าได้ 505 เมกะวัตต์จากโรงไฟฟ้าถ่านหินสองแห่งที่ทำการดำเนินการอยู่ โดย 100 MW มาจาก CEL I ในขณะที่ส่วนที่เหลือถูกสร้างโดย CIIDG Erdos Hongjun Electric Power ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินขนาด 135 เมกะวัตต์สามแห่งในจังหวัดพระสีหนุ โดยตอนนี้เหมืองถ่านหิน Han Seng กำลังสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าเพิ่มขนาด 200 เมกะวัตต์ในจังหวัดอุดรมีชัย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671475/coal-fired-power-plant-breaks-ground/

ภาคการส่งออกกัมพูชายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกของกัมพูชาภายใต้ GSPs และข้อตกลงการค้าเสรีมีมูลค่าถึง 10.81 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 6.45% ตามที่กระทรวงพาณิชย์ระบุ โดยในรายงานล่าสุดกระทรวงระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคมกัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าที่ 6.4 พันล้านเหรียญ, สิ่งทอ 40 ล้านเหรียญ, รองเท้า 905 ล้านเหรียญและข้าว 286 ล้านเหรียญ เป็นต้น ซึ่งความสำคัญอยู่ที่การเพิ่มความหลากหลายของตลาด ปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้ากับพันธมิตรของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย ซึ่งผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จากกัมพูชารายใหญ่ที่สุด คือ สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา แคนาดาและจีน โดยกัมพูชากำลังขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆผ่านข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบครบวงจร (RCEP) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในปีหน้า โดยประธานสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นรากฐานของความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศมีการพัฒนามาจากการเกษตร อุตสาหกรรมและภาคบริการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671488/exports-continue-strong-growth-ministry-report/