ไทยผลักดันสินค้าจังหวัดนครพนมสู่ CLMV

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรี และนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เดินทางพบปะหารือด้านการค้ากับกลุ่มหอการค้าจังหวัดนครพนม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดน ซึ่งทราบว่าจังหวัดนครพนมมีศักยภาพมากอีกจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนบน เช่น การค้าชายแดน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งนี้ เมื่อ 2 ปีก่อน ได้รับทราบปัญหา  โดยเฉพาะการส่งออกชายแดน ซึ่งจังหวัดนครพนมถือว่าเป็นประตูไปสู่เวียดนาม และต่อไปจีน บริเวณมณฑลตอนใต้ ไทยได้ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านแดนที่นี่ รวมทั้งผัก ผลไม้ และอื่น ๆ ซึ่งสิ่งที่หอการค้าฯ อยากให้ช่วยคลี่คลายในเรื่องปัญหาการส่งออกผัก ผลไม้ไปที่ชายแดนแล้วข้ามไปจีนบริเวณด่านผิงเสีย ให้ช่วยเจรจาอำนวยความสะดวก นอกจากนี้ ทาง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ระบุว่าจังหวัดนครพนมได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยนำสินค้าไทย และสินค้าท้องถิ่นภาคอีสานไปทำโรดโชว์ (Road Show) ที่ตลาด CLMV และทางหอการค้าจังหวัดนครพนมเสนอไปที่โฮจิมินห์ ฮานอย และดานัง เนื่องมาจากเป็นเมืองใหญ่ของเวียดนาม ถ้าได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมฯ หอการค้าฯ รวมทั้งองค์กรอื่น ๆ โอกาสที่จะได้ตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นก็มีความเป็นไปได้สูง

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 19 ธ.ค. 2562

มาเลเซียขอร่วมลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่นของกัมพูชา

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ถามถึงบริษัทมาเลเซียในการพิจารณาลงทุนบนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาและเป็นส่วนช่วยลดความแออัดของการจราจรในเมืองหลวง โดยกระทรวงกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบอัตโนมัติโมโนเรลหรือรถไฟฟ้าใต้ดินรวมถึงการสร้างทางคู่ขนานเพิ่ม ซึ่งถนนและสะพานเล็ก ใหญ่ได้ถูกสร้างหรือปฏิรูปเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยถนนและสะพานที่ดีขึ้นยังช่วยให้การส่งออกของกัมพูชา, กำลังผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นและผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกมากขึ้น ซึ่งประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศของกัมพูชากล่าวว่าความต้องการเครือข่ายการขนส่งที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการค้าที่เฟื่องฟูในประเทศ โดยกัมพูชากำลังสร้างทางด่วนมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเชื่อมโยงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671081/malaysian-company-asked-to-invest-in-local-infrastructure/

กัมพูชาและอินโดนีเซียจัดสัมมนาทางการค้าร่วมกัน

ตัวแทนจากบริษัทอินโดนีเซียและกัมพูชากว่า 70 ราย เข้าร่วมเวทีสัมมนาธุรกิจในกรุงพนมเปญเมื่อวานนี้เพื่อสำรวจโอกาสทางธุรกิจและหาพันธมิตรใหม่ระหว่างกัน โดย Sudirman Haseng เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียกล่าวว่าเป้าหมายของการจัดงานคือการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการชาวอินโดนีเซียและชาวกัมพูชาเพื่อพบปะสร้างโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการค้าระหว่างประเทศมีมากถึง 558 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 โดยจากเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมปีนี้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 352 ล้านเหรียญสหรัฐแล้วเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศย้ำว่ารัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและเน้นย้ำถึงความพยายามครั้งล่าสุดในการช่วยเหลือธุรกิจ โดยได้จัดตั้งศูนย์บริการครบวงจรในสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชาสำหรับชาวต่างชาติและคนในท้องถิ่นที่ต้องการลงทุนในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671082/indonesia-trade-event-attracts-70-firms/

จังหวัดบิ่นห์เยือง ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด (Provincial People’s Committee) เปิดเผยว่าจังหวัดบิ่นห์เยืองได้ดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ประกอบกับจังหวัดดังกล่าวอยู่ในอันดับที่ 2 ของเป้าหมายการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ บิ่นห์เยืองได้ดำเนินการตั้งโครงการ FDI ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะใช้แรงงานน้อยลง พร้อมกับสร้างมูลค่าสูงขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/binh-duong-lures-over-3-billion-usd-in-foreign-investment/165675.vnp

เวียดนามยังคงเป็นจุดมุ่งหมายในการลงทุนข้ามพรมแดน

จากการสำรวจของบริษัท PwC เปิดเผยถึงผลสำรวจนักธุรกิจชั้นนำกว่า 1,000 คน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจการประกอบธุรกิจข้ามพรมแดนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปี 2562-2563 (Doing business across borders in Asia Pacific 2019-2020) โดยผลของการสำรวจในครั้งนี้ พบว่าบริษัทเวียดนามมีรายได้เพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มทิศทางเป็นบวกมากกว่าธุรกิจในภูมิภาคความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34 ของธุรกิจที่อื่นๆทำรายได้ในระดับสูงได้ โดย 4 ใน 5 ของนักธุรกิจชั้นนำของเวียดนาม ระบุว่าได้วางแผนในการเพิ่มเงินทุนด้านระบบควบคุมอัตโนมัติและทักษะแรงงาน ขณะที่ ผู้ประกอบการร้อยละ 80 มองว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คือกุญแจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ นักธุรกิจเวียดนามส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มเงินลงทุนในประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-remains-a-top-destination-for-crossborder-investment-407715.vov

มูลค่าส่งออกข้าวหักมากกว่า 48 ล้านเหรียญสหรัฐ ในสองเดือน

ข้อมูลของสหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. –  29 พ.ย.ในปีงบประมาณ 62 – 63 เมียนมามีรายรับ 48.413 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกข้าวหักจำนวน 0.1866 ล้านตันไปยัง 38 ประเทศ มีรายได้มากกว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวหัก 64,900 ตัน ไปยังอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังส่งออกไป 27,500 ตันมูลค่ากว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังเบลเยียม จำนวน 5,000 ตันมูลค่ามากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังมาลี และประมาณ 5,000 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐมายังไทย การส่งออกไปยังตลาดอียูและแอฟริกาผ่านทางเรือ และไปจีนผ่านชายแดนมูเซ ในปี 61-62 มีรายรับ 709.693 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวสารและข้าวหัก 2.355 ล้านตัน ส่วนปี 60-61 การส่งออกข้าวและข้าวหักทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกือบ 3.6 ล้านตันในรอบ 50 ปี

ที่มา:https://elevenmyanmar.com/news/broken-rice-export-fetches-over-48-m-in-two-months

ILO ชูงานวิจัยความยั่งยืนของตลาดภาคเกษตรในเมียนมา

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และพันธมิตรอย่าง Myanmar Women’s Coffee Alliance (MWCA) ร่วมวิจัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการทำงานและความยั่งยืนของตลาดในภาคเกษตรกรรมของเมียนมา โดยพิจารณาว่าธุรกิจการเกษตรดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบหรือไม่ การวิจัยจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 63 โดยให้ความสำคัญกับปลูกพืชและการผลิตอาหารทะเล ตั้งแต่เมียนมาส่งออกวัตถุดิบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในห่วงโซ่การผลิต ผู้ซื้อจากต่างประเทศจะพิจารณามากกว่าแบรนด์สินค้าแต่ยังรวมถึงความรับผิดชอบของสินค้านั้นด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ilo-lead-research-market-sustainability-agriculture.html

สปป.ลาว ร่วมมือ UNDP แก้ปัญหาซากระเบิด (UXO) เพื่อการพัฒนาประเทศ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมโดยความร่วมมือกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กำลังดำเนินารเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) 18  กล่าวคือชีวิตปลอดภัยจากอาวุธหรือระเบิดที่ตกค้างและยังไม่ระเบิด (UXO) ซึ่งรัฐบาลและ UNDP ได้ทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาภายใต้โครงการนี้จากปี 60 ถึงปี 64 เพราะ UXO ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา และทั้งสองพันธมิตรหารือเพื่อเพิ่มความร่วมมือในปี 63 เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราการเสียชีวิตและบาดเจ็บจาก UXO ลดลง จากการเก็บกู้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าชุมชนจะสามารถทำฟาร์มสัตว์ในพื้นที่ปลอดภัยซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและลดความยากจนของประเทศ โดย UNDP จะให้การสนับสนุนเชิงกลยุทธ์แบบเต็มเวลาและการผลิตให้กับ UXO ในรูปแบบที่ปรึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งจะทำการร่างขึ้นในปีหน้าและจะต้องสอดคล้องกับ SDG18 และวาระ 2030

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos273.php

จำปาศักดิ์มองการเปลี่ยนแปลงปากเซให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะศูนย์กลางการขนส่ง

แขวงจำปาศักดิ์และTai Hoe Holdings จะร่วมมือกันในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเพื่อจัดตั้งเมืองอัจฉริยะเชิงนิเวศในปากเซทางใต้สปป.ลาวหลังจากบรรลุข้อตกลงในสัปดาห์นี้ภายใต้ข้อตกลงบริษัท Tai Hoe จะขอสัมปทานที่ดินเพื่อพัฒนาแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเมืองที่ชาญฉลาดและเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ตามนโยบายที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลเพื่อปรับปรุงชุมชนให้ทันสมัยและเสริมความเป็นอยู่ของท้องถิ่น นอกจากนี้ Tai Hoe จะรับผิดชอบการศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคในการสร้างเมืองและให้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติเกี่ยวกับตลาดเครื่องเพชรพลอยการเกษตรและการแปรรูปอาหารโรงแรมและจะพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจที่ยั่งยืน (เมืองอัจฉริยะ) ซึ่งนักลงทุนและชุมชนท้องถิ่นสามารถหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ทำกำไรร่วมกันในสปป.ลาวใต้ได้รวมถึงเป็นโอกาศของนักลงทุนในการเข้าไปลงทุนในแขวงดังกล่าวอีกด้วย  

ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak273.php