จีนแสวงหาเส้นทางผ่านแม่น้ำอิรวดี สำหรับระเบียงเศรษฐกิจ

จีนกำลังวางแผนที่จะสร้างการเชื่อมโยงการค้าและการขนส่งที่สำคัญกับเมียนมาผ่านแม่น้ำอิรวดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา (CMEC) เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ไม่สะดวก คาดว่าจะเชื่อมโยงมณฑลยูนนานกับมัณฑะเลย์ก่อนจะแยกทางตะวันออกเฉียงใต้สู่ย่างกุ้งและตะวันตกเฉียงใต้ ในฝั่งจีนทางรถไฟและคลังสินค้าถูกสร้างขึ้นที่ Kunming Tenjun International Dry Port ส่วนเมียนมายังต้องการการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ในอิรวดี อย่างการสร้างท่าเรือในพะโม ในรัฐคะฉิ่น อย่างไรก็ตามนักลงทุนจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์สนใจในโครงการท่าเรือตามแนวแม่น้ำอิระวดีซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ พะโมมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกับจีนดังนั้นเมืองนี้จึงเหมาะจะเป็นเมืองท่า  การเชื่อมโยง CMEC ผ่านทางอิรวดีนั้นเกิดขึ้นจากปัญหาความแออัด และความเสียหายที่เกิดจากการปะทะกันตามแนวทางหลวงของมัณฑะเลย์ – มูเซ และล่าเสี้ยว – ชินฉ่วยฮ่อ ปัจจุบันการก่อสร้างท่าเทียบเรือบรรทุกสินค้าแห้งของมัณฑะเลย์และท่าเรือนานาชาติย่างกุ้งได้เสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งผงจาง – พะโม – มัณฑะเลย์ – ย่างกุ้ง มีการใช้ขนส่ง ขนถ่ายสินค้าแล้ว เมื่อสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าที่แล้วเส้นทางนี้จะมีสามารถรองรับการขนส่งสินค้ากว่า 20 ล้านตันต่อปีได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-seeks-road-river-route-ayeyarwady-economic-corridor.html

ธนาคารเพื่อการท่องเที่ยวเมียนมาปล่อยสินเชื่อให้สมาคมการท่องเที่ยว

ธนาคารการท่องเที่ยวแห่งเมียนมา (MTB) ประกาศว่าจะเริ่มปล่อยกู้แก่สมาชิกสมาคมการท่องเที่ยวแห่งสหภาพเมียนมา (UMTA) ในเดือนนี้ MTB ประกาศสินเชื่อ SMEs สำหรับสมาชิก UMTA ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทท่องเที่ยวและการท่องเที่ยว อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันกำหนดไว้ที่ 13% ต่อปีและผู้สมัครจะต้องทำประกันสำหรับสินเชื่อ (CGI) จากเมียนมาประกันภัย จำนวนเงินสูงสุดของสินเชื่ออยู่ที่ 20 ล้านจัต ด้วยเป็นธนาคารที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจึงมุ่งปล่อยสินเชื่อให้กับภาคนี้ แต่ยังวางแผนที่จะให้การสนับสนุนแก่ภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและธุรกิจอื่น ๆ ในมุมมองนักธุรกิจคิดว่าอัตราเงินกู้สูงเกินไป แต่ก็ประสบปัญหาในการขอสินเชื่อกับธนาคารอื่น จากสถิติของกระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวมี บริษัทท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวมากกว่า 2,500 แห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็น SMEs ในขณะเดียวกัน UMTA มีสมาชิกประมาณ 1,000 คน MTB เป็นหนึ่งในห้าธนาคารเฉพาะกิจที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ในปี 60 ก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท การท่องเที่ยวสาธารณะ วัตถุประสงค์เพื่อปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/bank-provide-tourism-association-members-no-collateral-loans.html

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางพร้อมคณะนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ครั้งที่ ๓

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางพร้อมคณะนายกรัฐมนตรีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี สมัยพิเศษ ครั้งที่ ๓ และการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ นครปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี โดยนายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมฯ ในฐานะประธานอาเซียนและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานร่วมการประชุมฯ กับประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ทั้งนี้ การประชุมจะทบทวนถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา และการกำหนดทิศทางในอีก ๓๐ ปีข้างหน้า รวมถึงจะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นความเชื่อมโยง (connectivity) เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและความยั่งยืนระหว่างกัน และในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๑ โดยการประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ยกระดับการประชุมสู่ระดับสูงสุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม) กับสาธารณัฐเกาหลี โดยที่ประชุมจะรับรองปฎิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮัน โดยให้ความสำคัญกับประชาชน ความเจริญรุ่งเรืองของอนุภูมิภาค และสันติภาพ ซึ่งสอดรับกับแนวนโยบายของไทยที่จะส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีและผู้นำประเทศสมาชิกจะร่วมชมนิทรรศการความร่วมมือเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้หัวข้อ “วิถีชีวิตในลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงประชาชน สร้างอนาคตใหม่” (Life on the Mekong: Connecting People, Creating a New Future) ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นกิจกรรมคู่ขนานของการประชุมด้วย อนึ่ง กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับเกาหลี จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๔ ประกอบด้วยสมาชิก ๖ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย และสาธารณรัฐเกาหลี

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/mfa/3070979

อุตสาหกรรมนำหรือสกัดทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของกัมพูชา

รัฐบาลกล่าวว่าอุตสาหกรรมสกัดเป็นเส้นทางหลักทางเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว เสื้อผ้าและภาคการเกษตร ซึ่งรัฐบาลกำลังมองหาความหลากหลายในอุตสาหกรรม โดยภาคการผลิตจะกลายเป็นแรงหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญ กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ในระหว่างการประชุมฟอรั่มอุตสาหกรรมสกัดครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งอุตสาหกรรมนี้จะเป็นแรงหลังของเศรษฐกิจกัมพูชา ที่จะสร้างแหล่งรายได้ใหม่และสร้างงานให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งบริษัท KrisEnergy จากสิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มการสกัดน้ำมันได้ในปีหน้า โดยรายได้จากน้ำมันที่สกัดในกัมพูชาจะถูกนำไปใช้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงด้านการศึกษา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่ารายได้จากภาคเหมืองแร่และน้ำมันสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนคือรายได้จากภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี โดยรายได้ที่มิใช่ภาษีหมายถึงค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสัญญาเช่าที่ดินและค่าสิทธิที่จ่ายให้กับรัฐบาล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50663802/extractive-industry-to-become-new-economic-driver-ministry/

บริษัทจากสหรัฐเร่งการลงทุนในกัมพูชา

การพบกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาขอให้สหรัฐฯเร่งการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตรกรรม การผลิตอัญมณี การผลิตไฟและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตัวแทนสถานทูตสหรัฐฯกล่าวว่าในไม่ช้าจะมีการจัดเวทีที่มุ่งเน้นภาคเกษตร โดยเป้าหมายของการจัดงานคือการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกัมพูชา ภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งนักการทูตสหรัฐฯกล่าวกับทางรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ว่า บริษัท General Electrics ได้แสดงความตั้งใจที่จะลงทุนในภาคพลังงานของกัมพูชา โดยโฆษกประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกากำลังส่งเสริมธุรกิจของสหรัฐฯให้แสวงหาโอกาสการลงทุนในกัมพูชารวมทั้งเชื่อมโยงบริษัทกัมพูชาเข้ากับธุรกิจในสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯกับกัมพูชา โดยวางแผนที่จะติดตามกิจกรรมนี้โดยเชิญ บริษัท ชั้นนำบางหลายแห่งของสหรัฐฯไปยังกัมพูชาในเดือนกุมภาพันธ์เพื่อสำรวจโอกาสทางการค้าและการลงทุนในภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50663745/us-companies-urged-to-invest-in-cambodia/

เวียงจันทน์มั่นใจจะมีนักท่องเที่ยวลาว-จีน มาเที่ยวในปี 62 ถึง 2 ล้านคน

เจ้าหน้าที่เวียงจันทน์มีความมั่นใจว่าจะมีนักท่องเที่ยวจำนวน 2 ล้านคน สำหรับการเยี่ยมชมสปป.ลาว – ​​จีนในปี 62 ซึ่ง ผอ.ฝ่ายข้อมูลสารสนเทศวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของนครหลวงเวียงจันทน์กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ของเมืองร่วมมือกับภาคเอกชนพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้น โดยการสร้างและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวในเวียงจันทร์ เช่น การซ่อมแซมพิพิธภัณฑ์หอพระเกตุและเจดีย์หลวง ทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเวียงจันทร์ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้มีผู้เข้าชมมากกว่า 1.5 ล้านคน โดยปัจจัยที่ทำให้เวียงจันทร์มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าเดิมนั้น นอกจากการร่วมมือกันในการสร้างและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว อีกสาเหตุที่สำคัญคือเป็นจุดหมายปลายทางที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในประเทศ และเป็นศูนย์กลางสำหรับการเดินทางทั่วประเทศและยังต่อไปประเทศอื่น ๆ เข้าถึงตัวเมืองได้ง่ายจากทั้งทางอากาศหรือทางบก ก็ล้วนแล้วแต่สะดวกสบายต่อนักท่องเที่ยว จึงทำให้เวียงจันทร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต  ทั้งนี้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวสปป.ลาวในช่วง 6 เดือนแรกมากถึง 2.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วถึง 5 %

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Vientiane_on_256.php

การจัดฝึกอบรมหลักสูตรประเมินโครงการเพื่อให้ผู้หญิงในชนบทมีทักษะการทำงานในสปป.ลาว

สหภาพสตรีสปป.ลาวและกระทรวงความเสมอภาคทางเพศและครอบครัวสาธารณรัฐเกาหลี ได้ร่วมมือกันจัดฝึกอบรมอาชีพให้สตรีสปป.ลาวเพื่อพัฒนาโอกาสในการทำงาน โครงการฝึกอบรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงความเสมอภาคทางเพศและครอบครัวสาธารณรัฐเกาหลี ดำเนินการโดย the Dorundorun Asia Women Bridge การประชุมครั้งนี้จะรายงานความคืบหน้าของโครงการและความท้าทายที่เราเผชิญในอนาคตรวมทั้งหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะของผู้หญิงและวิธีการสร้างความสามารถ ซึ่งโครงการฝึกอบรมสายอาชีพเริ่มขึ้นในปี 59 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้หญิงมีทักษะที่จำเป็นในการหางาน หลักสูตรนี้มุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงด้อยโอกาสในชนบทที่พยายามหางานทำและหาเลี้ยงชีพ ล่าสุดผู้หญิง 57 คนที่ด้อยโอกาสจากทั่วประเทศได้เรียนรู้ทักษะในด้านการทำอาหาร การตัดเย็บและการเสริมความงาม

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Course_256.php

เวียดนามตั้งเป้า GDP ขยายตัว 7% ในปี 2564-2568

จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลและวิเคราะห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NCIF) คาดการณ์ว่าเวียดนามจะมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเวียดนาม (GDP) ที่ระดับร้อยละ 7 ต่อปี ในช่วงปี 2564-2568 สำหรับเศรษฐกิจมหภาคอยู่ในระดับทรงตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.5-4.5 ต่อปี และผลิตภาพแรงงานจะขยายตัวร้อยละ 6.3 ต่อปี โดยข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะมีผลกระทบเขิงบวกมากกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เนื่องมาจากมีกลุ่มประเทศที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับเวียดนามอยู่แล้ว ซึ่งทั้ง 2 ของความตกลงการค้าเสรีดังกล่าวนั้น จะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมาก ได้แก่ เสื้อผ้า สิ่งทอ และรองเท้า  เป็นต้น นอกจากนี้ เขตการค้าเสรีจะช่วยให้เวียดนามปรับปรุงนโยบายและสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-gdp-expected-to-expand-7-in-20212025-406577.vov