รัฐบาลสปป.ลาวได้ดำเนินมาตรการล่วงหน้าเพื่อลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

รัฐบาลมั่นใจว่ามาตรการรัดเข็มขัดจะดำเนินต่อไปเพื่อลดความตึงเครียดด้านงบประมาณและปัญหาทางการเงินในปีที่จะมาถึงแม้จะมีความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการชะลอการใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งสปป.ลาวจะยังคงประสบปัญหาทางการเงินเนื่องจากการจัดเก็บรายได้ไม่เพิ่มขึ้น ขณะนี้มุ่งเน้นการนำมาตรการรัดเข็มขัดไปปฏิบัติจริง เพื่อให้เป็นแบบจำลองสำหรับหน่วยงานรัฐบาลในระดับกลางและระดับท้องถิ่น รวมถึงดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาและระเบียบของนายกรัฐมนตรีในการจัดซื้อและจ้างงาน และการควบคุมยานพาหนะที่ใช้โดยกระทรวงและสำนักงานบริหารส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบโครงการที่ได้รับทุนจากรัฐ และวางแผนที่จะร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ในการแก้ปัญหาการใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดพิธีสำคัญ การเฉลิมฉลองและกิจกรรมฟุ่มเฟือย การออกแบบและคำนวณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล อาคารสำนักงานรัฐบาลและโครงสร้างพื้นฐานอื่น นอกจากนี้ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับไฟฟ้าน้ำและการสื่อสารโทรคมนาคมอีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-govt-ploughs-ahead-measures-cut-unnecessary-spending-108434

ผู้ประกอบการสปป.ลาวเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี

ธุรกิจสปป.ลาว จะสามารถขยายตลาดและแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ดีขึ้นหลังจากได้รับการศึกษาเกี่ยวกับเงื่อนไขและประโยชน์ของข้อตกลงการค้าเสรี การสัมมนาจัดขึ้นโดยกล่าวถึงประโยชน์ของ FTAs ​​และมีส่วนร่วมในอีคอมเมิร์ซ มีตัวแทนธุรกิจเกือบ 100 รายรวมถึงจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเวียงจันทน์และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า และอื่น ๆ เข้าร่วม เป้าหมายของการประชุมครั้งนี้คือการทำให้ผู้ประกอบการคุ้นเคยกับ FTA โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ของ FTA สำหรับนักธุรกิจและกระบวนการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการมีส่วนร่วมในอีคอมเมิร์ซและวิธีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่ประชุมได้แจ้งผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ www.plaosme.com เพื่อสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นในการทำธุรกรรมออนไลน์และเพิ่มความสามารถในการส่งออก

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-business-operators-learn-about-benefits-free-trade-agreements-108433

สีหนุวิลล์จะได้รับการปรับปรุงถนนด้วยงบประมาณ 294 ล้านเหรียญสหรัฐ

https://www.khmertimeskh.com/wp-content/uploads/2019/11/PM-Hun-Sen-drived-buldozere-at-road-the-ground-breaking-ceremony-in-Sihanouk-Ville-1.jpg

          รัฐบาลใช้งบประมาณ 294 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการฟื้นฟูและขยายถนนมากกว่า 30 แห่งในสีหนุวิลล์บนชายฝั่งของประเทศกัมพูชา โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่าโครงการใหญ่จะปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการทำให้เมืองชายฝั่งเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าสนใจ โดยโครงการครอบคลุมถนน 34 สาย (รวม 84 กิโลเมตร), 3 วงเวียนและ 6 สะพาน ซึ่งบริษัทก่อสร้างหลายแห่งจะมีส่วนร่วมในการก่อสร้างและโครงการทั้งหมดจะใช้เวลา 8 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยเมื่อเสร็จสิ้นแล้วสีหนุวิลล์จะกลายเป็นเมืองที่ทันสมัยและน่าดึงดูด เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สองของกัมพูชาอยู่ด้านหลังพนมเปญและหน้าเสียมเรียบ ซึ่งประธานสมาคมผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศแห่งกัมพูชากล่าวว่าโครงการจะช่วยบรรเทาปัญหาด้านโลจิสติกส์ในประเทศ โดยเฉพาะมันจะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่จะเดินทางไปยังท่าเรือสีหนุวิลล์ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50660723/sville-to-get-294m-road-revamp/

กรุงพนมเปญได้รับรางวัลสนามบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิกโดย CAPA

สนามบินนานาชาติพนมเปญได้รับรางวัลสนามบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดของปีในเอเชียแปซิฟิก โดย Center for Asia Pacific Aviation. (CAPA) ซึ่งรางวัลนี้มอบให้ในระหว่างการประชุมสุดยอด CAPA Asia ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์เป็นการรวมตัวของผู้นำในภาคการบินและการท่องเที่ยว โดย CAPA เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูลการตลาดสำหรับอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว ซึ่งกัมพูชาได้รับรางวัลสนามบินระดับภูมิภาคแห่งปีที่มีความโดดเด่นที่สุดในเชิงกลยุทธ์ โดยสนามบินนานาชาติพนมเปญในฐานะที่เป็นสนามบินเล็กๆ สามารถปรับตัวและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย ซึ่งผู้บริหารของสนามบินกัมพูชากล่าวว่ารางวัลนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความร่วมมือและเกี่ยวข้องของทุกภาคส่วนในรูปแบบบูรณาการ โดยสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการเติบโตของผู้โดยสารที่แข็งแกร่งจากโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยสนามบินกัมพูชากำลังลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินเพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและในปีนี้คาดว่าจะมีผู้โดยสารถึง 6 ล้านคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50660722/phnom-penh-named-best-regional-airport-in-asia-pacific-by-capa/

การแข่งขันของธุรกิจขนส่งสินค้า “อีคอมเมิร์ซเวียดนาม” มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ‘ช้อปปี้’ (Shopee) ผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแพ็กเกจการให้บริการชุดใหญ่ อย่างไม่คาดถึง ด้วยลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าผ่านบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ และเลือกบริการขนส่งสินค้าแกร็บ (Grab) ซึ่งจะได้รับการบริการจัดส่งฟรี และได้รับสิทธิพิเศษของมูลค่าสินค้าสูงถึง 200,000 ด่อง ทั้งนี้ แพ็กเกจและโปรโมชั่นดังกล่าว จะสามารถใช้เฉพาะในเขตของนครโฮจิมินห์และฮานอยเท่านั้น และระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในปี 2561 จากรายงานของบริษัท Google และ Temasek ระบุว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีอัตราการเติบโต (CAGR) ร้อยละ 35 ต่อปี ในช่วงปี 2558-2561 คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คำนวณเฉพาะมูลค่าของ B2C เท่านั้น) ประกอบกับคนเวียดนามมีความต้องการสินค้าและความใจร้อนสูงมาก โดยทาง MoIT คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามจะมีมูลค่าราว 10 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ecommerce-delivery-battle-in-vietnam-becomes-more-costly-406314.vov

ผลผลิตเนื้อหมู ตอบสนองต่อความต้องการตลาดในประเทศ ในช่วงเดือนหน้า

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน ผลผลิตเนื้อหมูจะอยู่ในทิศทางแจ่มใส ขณะที่ ความต้องการเริ่มเพิ่มระดับสูงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ จากนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 25 ในช่วงเทศกาลตรุษจีนเร็วๆนี้ ทางด้านผู้รักษาการอำนวยการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าต้องมีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งราคาเฉลี่ยเนื้อหมูในภาคเหนือยังอยู่ในระดับเสถียรภาพอยู่ที่ 65,000-66,000 ด่องต่อกิโลกรัม ส่วนภาคใต้อยู่ที่ 60,000-61,000 ด่องต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเร็วนี้ๆ ราคาพุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 75,000 ด่องต่อกิโลกรัม เป็นผลมาจากการสื่อสารที่ผิดพลาด และข้อผิดพลาดในการจำหน่ายสินค้า ทั้งนี้ จากรายงานของกรมอนามัยสัตว์ ระบุว่าโรคไข้หวัดหมูแอฟริกาได้แพร่กระจายไปยังกว่า 63 จังหวัดและทุกเมืองเวียดนาม โดยมีสุกรมากกว่า 5 ล้านตัว ได้ถูกการคัดแยกแล้ว เพื่อหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้ผลิตเนื้อหมูควรใช้มาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและควบคุมปริมาณสุกรอย่างเข็มงวด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/538566/pork-supply-to-meet-demand-on-domestic-market-next-months.html#0wkhBBOzr7y0VjeY.97

สหรัฐฯ ส่งเสริมภาคเกษตรในรัฐคะฉิ่น

เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาได้พบปะกับสมาชิกภาคเกษตรของรัฐคะฉิ่นกว่า 60 คนในเมืองมิตจีเกี่ยวกับกิจกรรมของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ในการพัฒนาการเกษตรและการพัฒนาระบบอาหาร ในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของเกษตรกร กิจกรรมพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเป็นโครงการเกษตรซึ่งเป็นครั้งแรกของ USAID ที่ขยายไปสู่รัฐคะฉิ่น โครงการมีระยะเวลาห้าปีมูลค่า 38 ล้านเหรียญสหรัฐคาดเข้าถึงประชาชนกว่า 125,000 คนในรัฐคะฉิ่น รัฐฉาน และเขตแห้งแล้งส่วนกลาง การสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและบริษัทเกษตรในพื้นที่ โดยเงินทุน 42 ล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนภาคเอกชนอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐและช่วยสร้างงานได้ 3,500 ตำแหน่ง แนวทางดังกล่าวคาดจะสร้างโอกาสการทำมาหากินมากขึ้นสำหรับชุมชนที่หลากหลายในรัฐคะฉิ่น ซึ่งสหรัฐอเมริกามุ่งมั่นที่จะดำเนินการโครงการอย่างเปิดและเผยโปร่งใส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us-promotes-inclusive-agriculture-led-growth-kachin-state.html

พาณิชย์ ปั้นผู้ประกอบการโคนมไทย ใช้เอฟทีเอชิงเค้กส่วนแบ่งตลาดนมในจีนและอาเซียน ยกระดับสู่ฟาร์มโคนมยุคดิจิทัล นำเข้าเทคโนโลยี Smart Farming แห่งแรกในอาเซียน

จากการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 62 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหารือผู้ประกอบการโคนมของไทย ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “จัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ” ซึ่ง จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพนมและผลิตภัณฑ์นมแปรรูปของไทยให้พร้อมแข่งขันได้ในยุคการค้าเพื่อขยายตลาดส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมแปรรูปไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียน และจีน โดยได้ไปเยี่ยมชมโรงเลี้ยงโคนมของบริษัท แมรี่แอนด์แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายนมและผลิตภัณฑ์นมแปร และยังได้รับรายงานว่าภายใต้โครงการดังกล่าว กรมเจรจาฯ ได้จัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ เข้าร่วมอบรมบูธแคมป์ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ตลอดสำรวจตลาด และจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าของจีน และสิงคโปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถจับคู่ธุรกิจ และขยายการส่งออกไปจีนและสิงคโปร์ ยังมีโอกาสร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาระหว่างบริษัท แมรี่แอนด์แดรี่ โปรดักส์ จำกัด กับบริษัท Delaval Export AB ของประเทศสวีเดน ซึ่งมีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมสมัยใหม่และเป็นที่ยอมรับในยุโรป ในการบุกเบิกนำเข้าเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมแบบ smart farming ผ่านโปรแกรมการจัดการฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพด้วยระบบเดลโปร์ (Delpro Herd Management) เข้าสู่ภาคโคนมเป็นแห่งแรกในอาเซียน ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 มูลค่าการส่งออกนมและนมแปรรูปของไทยอยู่ที่ 410.7 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.9% สินค้าส่งออกหลัก คือ โยเกิร์ต บัตเตอร์มิลค์ นมและครีม โดยคู่ค้าหลักยังคงเป็นประเทศในแถบอาเซียน เช่น กัมพูชา ขยายตัว 19.4% ฟิลิปปินส์ ขยายตัว 26.3% และสิงคโปร์ขยายตัว 6.9% รวมทั้งฮ่องกงและจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความตกลงเอฟทีเอกับไทยและได้ลดภาษีนำเข้าสินค้านมโคและผลิตภัณฑ์นมโคแปรรูปให้กับไทยแล้ว จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่ต้องเร่งใช้ประโยชน์ให้สินค้าไทยสามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/beco/3068625

มาเลเซียคาดมีผู้ป่วยเมียนมาเพิ่ม

สภาการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของมาเลเซียคาดนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourist) สร้างรายได้ 22 ล้านริงกิต (8 พันล้านจัตหรือ 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยชาวเมียนมาที่เดินทางมามาเลเซียจะต้องจ่ายราคาเดียวกับชาวมาเลเซีย ปีที่แล้วโรงพยาบาลในมาเลเซียมีรายได้ 12.8 ล้านริงกิตจากผู้ป่วยชาวเมียนมาและจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มาเลเซียมีโรงพยาบาลเอกชน 200 แห่งไม่รวมถึงคลินิกทันตกรรมและศูนย์สุขภาพและสุขภาพ มีโรงพยาบาลพันธมิตรที่ดีที่สุด 78 แห่ง พันธมิตรยอดเยี่ยม 21 รายและสมาชิกสามัญ 52 ราย ส่วนใหญ่ชาวเมียนมาที่เดินทางไปมาเลเซียนั้นเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ มะเร็ง การทำเด็กหลอดแก้ว และโรคเบาหวาน ในปี 54 มีผู้ป่วยมากกว่า 2,000 รายที่มาจากเมียนมา ภายในปี 61 เพิ่มขึ้นเป็น 16,000 คน อนาคตอาจมีการร่วมมือกันสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์และทำงานร่วมกับโรงพยาบาล 7 แห่งรวมถึงโรงพยาบาลวิคตอเรีย ในย่างกุ้ง ทั้งนี้ยังได้รับรางวัล“ ประเทศที่ดีที่สุดในโลกด้านการดูแลสุขภาพ” และ“ประเทศอาเซียนที่ดีที่สุดสำหรับคนวัยเกษียณ” เร็ว ๆ นี้รายงานปี 61 มาเลเซียติดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชั้นนำระดับโลก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/malaysia-expects-more-myanmar-patients.html