‘หม่อมเต่า’ เผย ที่ประชุม รมต.แรงงาน CLMTV เห็นชอบการเคลื่อนย้าย-คงสิทธิประกันสังคมต่างด้าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 3 ณ อัปสรา พาเลส รีสอร์ทและคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในหัวข้อ “Toward the Protection of Migrant Workers in CLMVT Countries: Social Security Cooperation” โดยสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมในครั้งนี้ได้มีการให้ความเห็นชอบร่วมกันในหลักการของแผนงาน เพื่อการเคลื่อนย้ายและการคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศ CLMTV และร่างแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการจะร่วมกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวกลุ่มประเทศ CLMTV ให้เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี โดยจะมีการรับรอง ในการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 4 ณ สปป.ลาว ต่อไป

ที่มา : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-372745

เวียดนามตั้งเป้าหมายเจาะตลาดฮาลาล

จากข้อมูลของงานส่งเสริมการลงทุนและการค้า (ITPC) ณ นครโฮจิมินห์ ระบุว่าหากเวียดนามไม่ทำการค้าในกลุ่มตลาดฮาลาล จะเสียมูลค่าการส่งออกไปกว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทางผู้อำนวยการศูนย์การค้าและการลงทุน มองว่าตราสินค้าที่ได้รับรองตามมาตรฐานฮาลาลนั้น จะแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของชาวมุสลิมในการบริโภคผลิตภัณฑ์ได้ นับว่ามีส่วนสำคัญในการปกป้องผู้บริโภค เพราะไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางศาสนา แต่ยังสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่เข็มงวดของชาวมุสลิม ผ่านการรับรองจากเครื่องหมายรับรองฮาลาล จากสถิติประชากร ระบุว่าชาวมุสลิมทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1.8 พันล้านคนทั่วโลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของประชากรโลก ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มประชากรชาวมุสลิมอยู่ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทำให้ประเด็นดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เวียดนามได้เปิดโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมไปถึงเวียดนามมีข้อได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าฮาลาล เช่น กาแฟ ข้าว อาหารทะเล เครื่องเทศ ถั่ว ผัก เป็นต้น และได้ยอมรับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ การเติบโตของร้านอาหารและโรงแรม จึงเป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535542/viet-nam-needs-to-target-halal-markets.html#jG1m6ZpFBfmp8ztb.97

จังหวัดหล่างเซินเวียดนามตั้งเป้าการลงทุน 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากคำแถลงการณ์ของรองประธานคณะกรรมการประจำจังหวัด ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ณ กรุงฮานอย เปิดเผยว่าเขตจังหวัดหล่างเซิน (Lang Son) ในชายแดนภาคเหนือ ได้มีการลงนามข้อตกลงการลงทุน ด้วยโครงการมากกว่า 100 โครงการ และเงินทุนประมาณ 3.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจังหวัดดังกล่าว ได้นำเสนอโครงการ 37 โครงการที่ต้องการเงินทุนจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงตั้งแต่ปี 2562-2568 และสามารถแบ่งประเภทของอุตสาหกรรม ดังนี้ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน 8 โครงการ, การค้าและการท่องเที่ยว 9 โครงการ และภาคเกสรกรรม ป้าไม้ ประมง 9 โครงการ รวมไปถึงมุ่งเน้นในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้แก่นักลงทุน ให้โปร่งใสมากขึ้นและมีเสถียรภาพ ซึ่งเขตพื้นที่จังหวัดจะดำเนินตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเร่งปฏิรูปการบริหารท้องถิ่น นอกจากนี้ ในช่วงปี 2554-2561 เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการขยายตัวร้อยละ 8-9 หากจำแนกอุตสาหกรรม พบว่าภาคการเกษตร ป่าไม้ มีสัดส่วนร้อยละ 20.3, ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างร้อยละ 19.7 และภาคบริการร้อยละ 49.78 เป็นต้น ในขณะที่ จังหวัดดังกล่าวได้ตั้งเป้าหมายในการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในภูมิภาคร้อยละ 8-9 ในปี 2563 และรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 2,600-2,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/535540/lang-son-aims-to-attract-343b-in-investment.html#3x13l4BQWmBYQVFX.97

กำไรการส่งออกประมงทางทะเลพุ่ง 660 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้

สหพันธ์ประมงเมียนมาระบุว่าจนถึงเดือน ส.ค.ของปีงบประมาณนี้มีรายได้แตะ 667.007 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่ม15.788 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตั้งแต่เดือน ต.ค.ถึง ส.ค.ของปี 60-61 ภาคการเดินเรือ 651.219 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออก 536,396.055 ตัน ในช่วงปีงบประมาณนี้การส่งออกทางทะเลมีจำนวน 544,533.187 ตัน ปีนี้การส่งออกอาจจะไม่ต่างจากปีที่แล้วเนื่องจากความล่าช้าและการปิดกั้นเส้นทางการค้าทางทะเลของจีน ซึ่งเดือนนี้การส่งออกจะไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่ใช่ฤดูการจับปลา ปีงบประมาณที่ผ่านมารายได้จากการส่งออกอยู่ที่ 720 ล้านเหรียญสหรัฐสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบทศวรรษ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/marine-export-earnings-hit-over-660-m-usd-this-fy

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวเมียนมาส่งออกข้าวไปยังจีน

สมาคมอุตสาหกรรมข้าวเมียน (MRF) ส่งออกข้าว 250,000 ตันไปยังจีนโดยมีการลงนาม MOU กับธัญพืชและน้ำมันกับจีน ในเดือน พ.ย.ระหว่างการจัดงานธัญพืชและน้ำมันแห่งชาติของจีนที่จัดโดย MRF ส่วน MOU ดังกล่าวลงนามในเดือนมิ.ย.โดยจะส่งออกข้าว 100,000 ตัน แต่ปัจจุบันส่งออกอยู่ที่ 90,000 ตัน การส่งออกข้าวไปจีนผ่านข้อตกลงระหว่างรัฐผ่านระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าของจีนและส่วนใหญ่ส่งออกผ่านชายแดน อย่างไรก็ตามการส่งออกได้ลดลงในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากการหยุดชะงักจากการตรวจจับสินค้าที่ผิดกฏหมาย ดังนั้นเมียนมาจึงเล็งตลาดส่งออกใหม่สำหรับข้าวผ่านทางทะเล กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าโมซัมบิกและไลบีเรียเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ซึ่งเมียนมาส่งข้าวมากกว่า 30,000 ตันทุกสัปดาห์ จากข้อมูลในช่วงปีงบประมาณ 60-61 เมียนมาส่งออกข้าวสูงถึง 3.6 ล้านตัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-federation-export-rice-china.html

ธนาคารกลางของสปป.ลาวและเวียดนามสนับสนุนความร่วมมือทวิภาคีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ธนาคารกลางสปป.ลาวและเวียดนามจะยกระดับความร่วมมือทวิภาคีในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประเด็นทางเทคนิคและประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการธนาคาร การประชุมระหว่างธนาคารกลางทั้งสองได้ทบทวนความสำเร็จในปีที่ผ่านมาในด้านความร่วมมือทางการเงินและสกุลเงินและหาวิธีในการเสริมสร้างความร่วมมือในอนาคต และหารือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค นโยบายเงิน การจัดการของธนาคารพาณิชย์ของรัฐและประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ธนาคารทั้งสองให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมและสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อธนาคารพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเพื่อสร้างความร่วมมือการค้าและการลงทุนทั้งสองด้านเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบธนาคารและเพื่อตอบสนองการลงทุนการค้าและกิจกรรมทางธุรกิจของธุรกิจและนักลงทุน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-laos-central-banks-foster-collaboration/160641.vnp

เมืองใหม่ที่จะสร้างในเสียมราฐของกัมพูชา

จะมีการสร้างเมืองแห่งใหม่ในเสียมเรียบ โดยโครงการนี้เพิ่งถูกเพิ่มไปในแผนแม่บทในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกล่าวว่าเมืองใหม่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมในจังหวัดมากขึ้น โดยมีสถานที่สำคัญคือ Angkor Archeological Complex ตั้งอยู่ห่างจากเสียมราฐในทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งแผนแม่บทจะแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า โดยจากตัวเลขของอังกอร์เอ็นเตอร์ไพรส์สหราชอาณาจักรมีรายได้กว่า 55.7 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการขายตั๋วเข้าชมสถานที่ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยกลยุทธ์ดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักอาศัยนานขึ้น และนิยามความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดใหม่ ซึ่งประเทศจีนก็ยังคงเป็นประเทศที่ติดอันดับยอดนิยมของนักท่องเที่ยงที่มาเยือนเสียเรียบโดยคิดเป็นประมาณ 540,000 คนในช่วงครึ่งปีแรกตามมาด้วยเกาหลีและสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643972/new-city-to-be-built-in-siem-reap-province/

World Bank อนุมัติเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนากัมพูชา

ธนาคารโลกได้อนุมัติการเบิกจ่ายอย่างเป็นทางการจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในกัมพูชา โดยเงินให้กู้ยืมจะอยู่ภายใต้ กรอบความร่วมมือในระดับประเทศในช่วง ปี2562-2566 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากธนาคารโลกในเดือนพฤษภาคมตามแถลงการณ์ที่ออกหลังจากการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง โดยโครงการกู้ยืมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสำคัญของรัฐบาลและจัดการกับความท้าทายภายในประเทศเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร เสริมสร้างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกรอบการทำงานจะมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของรัฐและส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643974/world-bank-approves-1-billion-in-development-assistance/

กรมพัฒน์ฯ หนุนแฟรนไซส์ไทย เตรียมดัน 27 ธุรกิจ ลุยตลาดสากล

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งเครื่องผลักดันสู่ตลาดสากล จำนวน 27 ธุรกิจ หลังพบธุรกิจแฟรนไซส์ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังคึกคัก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (CLMV) ที่ถือว่าเป็นทำเลทองในการขยายธุรกิจของไทย พร้อมเปิดตัวเลขแฟรน์ไซส์ไทยมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท โดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข็มแข็ง ผ่านการสนับสนุน ส่งเสริม และขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไซส์ รวมไปถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ให้พร้อมสู่ระดับสากล ทั้งนี้ กรมฯ ได้ดำเนินการสร้างความเข็มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไซส์ไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน โดยเน้นการสร้างมาตรฐานคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ จากข้อมูลของธนาคารกสิกรไทย พบว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 15,000 – 20,000 ราย ถือว่ากลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์เป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมทุกระดับ และสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน

ที่มา : ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ฉบับที่ 16-30 ก.ย. 2562