EIC CLMV Outlook Q3/2020

การประกาศมาตรการ lockdown ที่เข้มงวดส่งผลให้กลุ่มประเทศ CLMV ประสบความสำเร็จ ในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 และสามารถผ่อนคลายมาตรการ lockdown ได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อย่างไรก็ดี อุปสงค์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ คาดว่าจะยังซบเซาต่อไปในระยะข้างหน้า โดยเป็นผลจากอัตราว่างงานที่สูงขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการขยายระยะเวลาปิดพรมแดน ด้วยเหตุผลข้างต้น EIC จึงปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ CLMV ทั้ง 4 ประเทศในปี 2020 ทั้งนี้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจอาจยิ่งเพิ่มความเปราะบางของกลุ่มประเทศ CLMV ต่อปัจจัยเสี่ยงด้านโครงสร้างและปัจจัยเสี่ยงในระยะยาว ทั้งจากฐานะทางการคลังและฐานะระหว่างประเทศที่อ่อนแอลง รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านต่ำต่อแนวโน้มและอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (sovereign credit rating) นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะ รายประเทศยังคงเป็นสิ่งที่ต้องจับตา ทั้งผลกระทบของการถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า EBA บางส่วนซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม 2020 ต่อเศรษฐกิจกัมพูชา ผลกระทบจากการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือและความเสี่ยงในประเด็นความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงของสปป.ลาว การเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาในเดือนพฤศจิกายน และการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ในเวียดนาม ทั้งนี้จากความเสี่ยงเฉพาะรายประเทศ บวกกับผลกระทบและความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ COVID-19 คาดว่าเศรษฐกิจ CLMV ในระยะข้างหน้าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีระยะการฟื้นตัวช้าเร็วแตกต่างกันในแต่ละประเทศและภาคอุตสาหกรรม

  • กัมพูชา  EIC ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชาจากการหดตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก โดยประเมินว่าเศรษฐกิจจะหดดตัว -3.0% ในปี 2020F
  • สปป.ลาว EICปรับลดคาดการร์การเติบโตขอเศรษฐกิจสปป.ลาวลงเป็น 0.5% ในปี 2020F นอกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแรงแล้ว ข้อจำกัดด้านการคลังและเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่น่ากังวลจะยิ่งทำให้ผลกระทบจากสถานกาณ์ Covid-19 ทวีความรุ่นแรงยิ่งขึ้น
  • เมียนมา EIC ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจเมียนมาลงเป็น 1.5% ในปี 2020F สะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในเกือบทุกภาคส่วน
  • เวียดนาม จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายเมืองหลักน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามชะลอตัวมากกว่าคาด EIC จึงปรับลดคาดการณ์การเติบโตขอเศรษฐกิจเวียดนามลงเป็น 2.3% ในปี 2020F

ที่มา : scbeic

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.scbeic.com/th/detail/product/7015

เวียดนาม-อินโดนีเซีย สองประเทศน่าลงทุน

โดย SME Go Inter

กองส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ หนึ่งในหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มองเห็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยที่สนใจการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญให้กับนักลงทุนไทยในอนาคต คือ “เวียดนามและอินโดนีเซีย”

เวียดนาม

  • มีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
  • เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จาก GDP โดยเฉลี่ยของเวียดนามอยู่ที่ระหว่าง 6-7%
  • จุดแข็ง FTA มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรียุโรป (EVFTA), ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)
  •  ความพร้อมด้านแรงงาน โดยมีแรงงานในวัยหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตรองเท้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อีกทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
  • ประชาชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการที่พักอาศัยในเมืองสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะคอนโดมีเนียม

อย่างไรก็ตาม การดำเนินในเวียดนามมีข้อคำนึงในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ ซึ่งนักลงทุนควรทำการศึกษาให้ดีก่อนทำการลงทุน

จึงเป็นโอกาสอันดีที่อุตสาหกรรมสนับสนุนของไทย ทั้งในด้านการผลิตชิ้นส่วนและบริการ จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่ประเทศเวียดนามมีความต้องการ

อินดีนีเซีย

  • ตลาดใหญ่ ปัจจุบันประชากรมีมากกว่า 270 ล้านคน รวมถึงทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์
  • อุตสาหกรรมเกษตรมีความโดดเด่น ได้แก่ เมล็ดกาแฟ น้ำมันปาร์ม ยางพารา
  • สินค้าไทยที่ขายดีในอินโดนีเซีย เช่น เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภค
  • อุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่งในช่วงนี้ ได้แก่ ธุรกิจอีคอมเมิร์ส อุตสาหกรรมพลาสติกและบรรจุภัณฑ์

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-indonesia-countries-worth-investing

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

1.สภาวะเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

2.สถานการณ์การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว

3.ผลกระทบทางธุรกิจที่นักธุรกิจไทยในสปป.ลาวควรรู้ในสถานการณ์ COVID-19

4.โอกาสของนักธุรกิจไทยใน สปป.ลาวหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

5.นโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการไทย

6.สรุปมาตรการการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของสปป.ลาว

เรียบเรียงโดย : นายชลันธร จิววุฒิพงค์ นางสาวศิกาญจน์ รักใหม่

ที่มา : ISB, World Bank, IMF, CEIC, Globthailand , scbeic

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2563
  2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
  3. แนวโน้มเศรษฐกิจเมียนมา หลัง COVID-19

ที่มา:

  • CEIC DATA
  • International Monetary Fund (IMF)
  • Statista
  • Directorate of Investment and Company Administration (DICA)
  • Ministry of Commerce (Myanmar)
  • Economic Intelligence Center (EIC)
  • Asian Development Bank (ADB)
  • World bank

ภาพรวมเศรษฐกิจของราชอาณาจักรกัมพูชา หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. สรุปภาพรวมของประเทศกัมพูชา
  2. สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ
  3. สถานการณ์เศรษฐกิจ และผลกระทบจาก COVID-19
  4. ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  5. นโยบาย รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
  6. มาตรการป้องกันและรับมือกับการระบาดของ COVID-19

เรียบเรียงโดย : นายทัตเทพ เอี่ยมเวช

ที่มา : NBC, World bank, IMF, ADB, K-Reserch, CEIC data, DITP และ SCB EIC

ภาพรวมเศรษฐกิจของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หลัง COVID-19

หัวข้อสำคัญของเอกสาร มีดังต่อไปนี้

  1. สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
  2. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
  3. สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  4. แนวโน้มเศรษฐกิจของเวียดนาม

เรียบเรียงโดย : นายกวิน งามสุริยโรจน์

ที่มา : CEIC DATA, General Statistics Office, IMF, FitchRatings และ ADB

สปป. ลาวเตรียมให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาวได้เผยแพร่ข้อตกลงว่าด้วยการดำเนินกิจการลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 29 พ.ค. 2563 โดยจะมีการให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการให้มีความเป็นระเบียบ ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ทันสมัย และปลอดภัย โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวอักษร เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข เสียง หรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อบ่งบอกและยืนยันตัวตนของผู้ลงลายมือชื่อและความถูกต้องของข้อมูล โดยหน่วยงานออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มี 2 ระดับ คือ

  1. หน่วยงานออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National Root Certificate Authority) เป็นหน่วยงานให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รายย่อย ซึ่งศูนย์อินเทอร์เน็ตแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ
  2. หน่วยงานออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รายย่อย (Sub – Certificate Authority) ให้บริการ 4 ประเภท ได้แก่
    1. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (Public Certificate Authority)
    2. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government Certificate Authority)
    3. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างชาติ (Foreigner Public Certificate)
    4. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาคเอกชน (Private Certificate Authority)

บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะประกอบด้วยการบริการยืนยันลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) บริการยืนยันระบบแม่ข่าย (Secure Sockets Layer) บริการประทับเวลา (Time Stamp) และบริการอื่น ๆ ตามที่กระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร สปป. ลาวกำหนด โดยนิติบุคคลหรือองค์กรที่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจให้บริการออกรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปต้องขอใบอนุญาตจากกระทรวงไปรษณีย์ฯ และขอใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จากผู้ออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ (1) ใบรับรอง (2) ประวัติผู้บริหาร (3) ประวัติเจ้าหน้าที่เทคนิคและใบรับรองการศึกษา (4) สำเนาใบทะเบียนวิสาหกิจหรือใบรับรองการก่อตั้ง (5) ใบรับรองที่ตั้งสำนักงาน (6) บทวิพากษ์เศรษฐกิจและแผนด้านเทคนิค (7) กฎระเบียบการให้บริการ  (8) ใบรับรองสถานะทางการเงินจากธนาคารแห่งสปป. ลาว และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เงื่อนไขการพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป คือ ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 พันล้านกีบ (1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกอายัติทรัพย์สิน อยู่ในกระบวนการฟ้องล้มละลายหรือถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมายของ สปป. ลาว และไม่เคยถูกยกเลิกหรือถอนใบอนุญาตจากกระทรวงไปรษณีย์ฯ มาก่อน โดยกระทรวงไปรษณีย์ฯ จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องและเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ในกรณีคำร้องถูกปฏิเสธ กระทรวงไปรษณีย์ฯ จะแจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน 10 วันทำการ

สำหรับอายุของใบอนุญาตการให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีอายุ 3 – 5 ปี โดยสามารถต่ออายุได้ สำหรับใบอนุญาตบริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐมีอายุ 1 – 3 ปี ใบอนุญาตบริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศมีอายุไม่เกิน 3 ปี และใบอนุญาตบริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะมีอายุไม่เกิน 5 ปี

ที่มา : https://globthailand.com/laos-03072020/

รัฐบาล สปป. ลาวกําหนด 8 มาตรการ เพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการค้า

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2563 นายสุลิยน พิลาวง หัวหน้ากรมการนําเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาว ในฐานะรองหัวหน้าคณะเลขานุการคณะกรรมการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าขั้นศูนย์กลาง ได้เป็น ประธานการประชุมทบทวนแผนการปฏิบัติงานอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าปี 2560 – 2565 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และการปฏิบัติตามคําสั่งนายกรัฐมนตรีเลขที่ 12/นย. ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวกให้แก่ การนําเข้า ส่งออก การนําเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน สปป. ลาว โดยมีความคืบหน้าหลาย ด้าน เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าขั้นแขวง การวางแผนกิจกรรมและงบประมาณ เพื่อจัดการประชุมหารือแนวทางลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคทางการค้าขั้นท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่ยังไม่ได้รับการ แก้ไข เช่น ผู้ประกอบการยังพบกับความยุ่งยากในการรวบรวมเอกสารการนําเข้าและส่งออกสินค้า โดยพบว่าบางแขวงยังมี ขั้นตอนมากมายและคาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงานและแต่ละหน่วยงานก็ยึดถือตามกฎระเบียบของตนเอง นอกจากนี้ ยังพบการตั้งด่านตรวจตามเส้นทางขนส่งสินค้า ซึ่งกระทบต่อการขนส่งของภาคธุรกิจ

ในโอกาสนี้ นายสุลิยนฯ ได้ให้มอบแนวทางในการดําเนินแผนงานอํานวยความสะดวกทางการค้าปี 2560 – 2565 และการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้

1. เผยแพร่และปฏิบัติตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี เลขที่ 12/นย. ลงวันที่ 16 ต.ค. 2562 ว่าด้วยการอํานวยความสะดวก ให้แก่การนําเข้า ส่งออก การนําเข้าชั่วคราว การผ่านแดน และการเคลื่อนย้ายสินค้าใน สปป. ลาว

2. ปรับปรุงการอํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจตามตัวชี้วัดที่ 8 (การค้าระหว่างประเทศ) ให้ดีขึ้นในปี 2563 และดําเนินการตามแผนงานอํานวยความสะดวกทางการค้าปี 2560 – 2565 ให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยกระทรวง อุตสาหกรรมฯ เป็นหน่วยงานหลัก

3. ดําเนินการตามความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Agreement – TEA) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) โดยเฉพาะข้อบัญญัติในหมวด A B และ C ให้สําเร็จตามกําหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้กับ สํานักงานเลขาธิการ WTO เช่น การทบทวนการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวด A และ B และการปฏิบัติตามข้อบัญญัติหมวด C ให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งได้ขอความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคนิคไปแล้ว

4. ผลักดันให้หน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่นกําหนดมาตรฐานการบริการ จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสารที่ใช้ และระยะเวลาในการให้บริการ เพื่อเผยแพร่ลงเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาว แขวง ด่านชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. จัดการประชุมวิชาการและฝึกอบรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายต่าง ๆ ในการอํานวยความสะดวกทางการค้าให้แก่ภาครัฐและภาคธุรกิจในนครหลวงเวียงจันทน์และแขวงต่าง ๆ ทบทวนและ ประเมินผลกระทบจากมาตรการด้านการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Meeasure – NTMs) และเสนอไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทําแผนปรับปรุงการดําเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

6. พัฒนาศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาวให้ทันสมัยและมีความยั่งยืน

7. ปรับปรุงคู่มือแผนดําเนินงานการอํานวยความสะดวกทางด้านการค้าของ สปป. ลาวปี 2560 – 2565

8. เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออํานวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบ การค้าชายแดนและการค้าทวิภาคี

สปป. ลาวเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2556 และเป็นประเทศสมาชิกลําดับที่ 158 จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 164 ประเทศทั่วโลก โดยความตกลงด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าภายใต้ WTO (Trade Facilitation Agreement – TEA) กําหนดเรื่อง การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Different Treatment – SDT) โดยจําแนกข้อบัญญัติออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวด A คือ ข้อบัญญัติที่ต้องปฏิบัติทันทีที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ หมวด B คือ ข้อบัญญัติที่สมาชิกสามารถ กําหนดเวลาที่จะเริ่มปฏิบัติตามพันธกรณีได้เอง และหมวด C คือ ข้อบัญญัติที่สมาชิกต้องได้รับการความช่วยเหลือก่อน จึงจะปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้ SDT ให้ความสําคัญกับความพร้อมของประเทศสมาชิก จึงไม่ได้กําหนดให้ประเทศกําลังพัฒนาและ ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันเท่าเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดย SDT อาจอยู่ในรูปแบบของการให้ ระยะเวลาในการปรับตัวก่อนที่จะผูกพันตามความตกลงฯ หรือให้การยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงบางส่วน สมาชิก แต่ละประเทศ (ยกเว้นประเทศพัฒนาแล้ว) มีสิทธิพิจารณาจัดกลุ่มและผูกพันตนเองต่อความตกลงดังกล่าวตามที่เห็นสมควร

ที่มา : https://globthailand.com/laos-08072020/

“หุ้นเวียดนาม” ยังถูก-ปัจจัยหนุนต่อเนื่อง แนะทยอยสะสมหวังผล ‘ระยะยาว’

โดย กฤษฎิ์ รัตนธีระธาดา I WEALTHY THAI

Wealthy Thai ได้รวบรวมมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ จากหลากหลายสถาบัน มาฉายภาพพื้นฐานเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเวียดนาม

‘วิน พรหมแพทย์’ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนพรินซิเพิล จำกัด ได้ให้ความคิดเห็นว่า การฟื้นตัวของตลาดหุ้นเวียดนามที่เยอะกว่าประเทศเพื่อนบ้านนั้น เพราะการควบคุมสถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19 ได้ดี โดยไม่มีท่าทีของตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ รวมทั้งผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19 ที่น้อยมาก จากการเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่ล็อกดาวน์ประเทศก่อนประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ผลกระทบต่อจีดีพีไม่มากนัก ซึ่งตัวเลขจีดีพีของประเทศเวียดนามเป็นไม่กี่ประเทศที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ยังคงเป็น ‘บวก’ โดยคาดการณ์จีดีพีปีนี้จะเติบโตได้ 4% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 7-8%

“ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเอง ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าลงทุน เนื่องด้วยระดับ P/E ที่ 14 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะสามารถดึงดูดฟันด์โฟลว์ของนักลงทุนต่างชาติแล้ว ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นอย่างการปรับเกณฑ์ ETF ใหม่ของรัฐบาล ที่จะช่วยดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ง่ายขึ้น และการเป็นแหล่งฐานผลิตระดับต้นๆ ที่ผู้ประกอบการให้น้ำหนักการย้ายฐานผลิตเป็นอันดับต้นๆ หากเกิดประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ”

‘คมสัน ผลานุสนธิ’ กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาดและผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ได้ให้ความคิดเห็นว่า ในระยะยาวตลาดหุ้นเวียดนามถือว่าน่าสนใจทั้งพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังเติบโตได้ในสถานการณ์ระบาด ‘ไวรัส COVID-19’ และปัจจัยสนับสนุนอย่างสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่เวียดนามถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงอาจได้เห็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในเวียดนาม อย่างอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

“อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีปัจจัยสนับสนุนให้ตลาดไปต่อได้ แต่ในระยะสั้นก็ยังต้องระมัดระวังการแรงขายเพื่อกำไรหลังจากตลาดปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างสูง ซึ่งในช่วงนี้ที่ตลาดปรับตัวลงก็ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะทยอยสะสมได้เช่นกัน”

สำหรับ “ตลาดหุ้นเวียดนาม” ใน ‘ระยะยาว’ ยังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่นักลงทุน สามารถทยอยสะสมได้ แต่อย่างไรก็ตามใน ‘ระยะสั้น’ นักลงทุนอาจจะระมัดระวังแรงขายเพื่อทำกำไร หลังจากที่ดัชนีฟื้นตัวขึ้นมาค่อนข้างเยอะในช่วงที่ผ่านมา อาจเห็นการย่อตัวลงมาพักฐานของตลาดได้เช่นกัน

ที่มา : https://www.wealthythai.com/web/contents/WT200600126