The OPPORTUNITY : ธุรกิจแปรรูปมันสำปะหลังในกัมพูชา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/50368.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

24 ธันวาคม 2561

ธุรกิจร้านอาหารไทย ในเมียนมา (2)

การทำธุรกิจร้านอาหารสมัยนี้หรือที่ต่างประเทศ จำเป็นต้องรอบรู้ และใช้หลักการคิดแบบคนรุ่นก่อนไม่ได้ที่อาศัยความอดทน ขยัน ทำงานกันเป็นครอบครัว ซึ่งระบบเก่าไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในยุคปัจจุบัน แนวคิดคือต้องแบ่งต้นทุนออกเป็นสองส่วนคือ หนึ่งต้นทุนคงที่ คือไม่ว่าคุณจะขายมากขายน้อย ต้นทุนนั้นก็จะเท่าเดิม แล้วนำมาหารจากมูลค่าการขาย เช่น ค่าเช่าร้านค้า หากจ่ายเดือนละหนึ่งหมื่นบาท รายรับจากการขายเดือนละหนึ่งแสนบาท คิดเป็น 10% ถ้าขายได้สองแสนบาท ค่าเช่าจะเหลือแค่ 5% เท่านั้น ต้นทุนอีกประเภทคือต้นทุนผันแปร ต้นทุนนี้จะแปรผันตามยอดขาย ยิ่งขายดี ยิ่งต้องจ่ายเยอะ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสด (Food Costs) เมื่อขายดีขึ้นเราต้องซื้อวัตถุดิบอาหารสดมากขึ้นเป็นตามไปด้วย หลังจากนั้นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้และตั้งสมมติฐานว่ายอดขายได้ 100% ปัจจัยค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1) ค่าวัตถุดิบอาหารสด ต้องประมาณ 30-35% หากน้อยไปอย่าชะล่าใจ นั่นหมายความว่า เราเอาสินค้าไม่ได้คุณภาพมาบริการลูกค้าแล้วลูกค้าจะไม่กลับมาอีก 2) ค่าเช่าร้าน จะต้องอยู่ประมาณ 10-15% โดยประมาณ อย่าสูงกว่านี้ 3) ค่าแรงงาน ควรจะประมาณ 15-20% ส่วนนี้ต้องรวมค่าแรงคนในครอบครัวไปด้วย 4) ค่าภาษี ควรจะเตรียมไว้ 10% 5) ค่าน้ำค่าไฟ ควรจะมีไว้ 5% 6) ค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ค่าของแตกหัก ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือ อยู่ที่ 10% 7) ค่าต้นทุนการเงิน หากไม่กู้มาเราเสียโอกาสในดอกเบี้ยเงินฝากไป หากกู้มาเราก็ต้องจ่าย ดังนั้นควรมี 5% รวมแล้วประมาณ 85-100% ดังนั้นหากคุมงบไม่ได้ไปต่อไม่ได้อย่างแน่นอน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/570552

ธุรกิจร้านอาหารไทยในเมียนมา (1)

พูดถึงอาหารไทยในเมียนมานั้น แม้จะมีชายแดนอยู่ติดกับไทยแต่อาหารจะแตกต่างจากอาหารไทย โดยได้รับอิทธิพลจากอินเดียมากกว่าไทย ในอดีตจะหาทานอาหารไทยในย่างกุ้งยากมาก จะมีร้านอยู่ไม่เกินสิบร้านที่ให้บริการอาหารไทยแท้ๆ เช่น ร้านสีลม ร้านไพลิน ร้านบางกอก เป็นต้น ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยเปิดกันกันเยอะมาก เพราะมีทัวร์จากไทยเข้าไปไหว้พระมากกว่าแต่ก่อนเยอะ ส่วนด้านการลงทุน โดยมากที่นี่จะตกม้าตายกันที่ค่าเช่าร้านเพราะค่าเช่าที่นี่แพงมาก หากรายได้ไม่ดีจริงอยู่ไม่ได้แน่นอน ซึ่งถ้าจะทำร้านอาหารควรจะทำให้มีคลาสหรือการเจาะตลาดผู้บริโภคระดับบนไปเลย เมื่อดูเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่นี่จะแบ่งระดับได้อย่างชัดเจน คนรวยจะรวยมาก คนจนก็จนติดดินมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับสูง เริ่มจากการตกแต่งร้านต้องสวยงาม มีห้อง VIP ไว้คอยต้อนรับแขกมีระดับ อาหารดูดี ตกแต่งจานอย่างสวยงาม วัตถุดิบมีคุณภาพ รสชาติอร่อย และสุดท้ายบริการต้องดี ชาวเมียนมาเวลาจะเชิญผู้เขียนไปทานข้าวมักจะเป็นร้านอาหารไทยที่มีระดับ อีกย่างที่ต้องคอยระวังคือ ไม่ควรทำบุฟเฟต์ เพราะคนเมียนมาจะทานเยอะมาก ผู้เขียนเคยทำร้านอาหารหมูกระทะ ขายดีมาก มีลูกค้า 200-300 คนต่อวัน แต่ยิ่งขายเยอะ ยิ่งเจ๊งเร็ว เพราะเวลาเติมไลน์อาหารลงทั้งของคาวของหวาน ปรากฏว่าชาวเมียนมาทานหมดทุกอย่าง จนต้องปิดกิจการไปเลย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/news/569820

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528

สร้างแบรนด์ อาหารไทย สิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนไปต่างแดน

จากทุกรัฐบาลที่ผ่านมา มีการผลักดันให้อาหารไทยก้าวไกลในระดับโลกด้วยคำขวัญที่ว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก” ผู้ประกอบการจะต้องใช้ความได้เปรียบจากความแข็งแกร่งมาต่อยอดการสร้างแบรนด์ของตัวเองและควรเรียนรู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีความคุ้นเคยกับอาหารไทยอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญคือ มาตรฐานด้านรสชาติ คือ คงรสชาติดั้งเดิมไว้มากที่สุด ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นของไทยและปรับรสชาติตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ แต่รสชาติต้องมีความใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด มาตรฐานด้านบรรจุภัณฑ์ ต้องมีมาตรฐานสอดคล้องกับจุดยืนของผลิตภัณฑ์อาหาร ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีองค์ประกอบสำคัญอย่าง ชื่อ ตราสินค้า สัญลักษณ์ทางการค้า รายละเอียดกฎหมายข้อบังคับต่างๆ มาตรฐานทางด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการควรศึกษาเรื่องมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกเพื่อความมั่นใจของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ เช่น มาตรฐาน GMP, HACCP, Halal และ Codex การประสบความสำเร็จยังมีอีกหลายองค์ประกอบ เช่น ทั้งด้านการตลาด การจัดหาตัวแทนจำหน่าย รวมถึงการบริหารจัดการ อย่างน้อยความเข้าใจใน 3 มาตรฐานจะช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นได้ดี เพียงแค่นี้ก็สามารถมีแบรนด์อาหารไทยที่จะช่วยสร้างความประทับใจให้คนอาศัยในต่างแดนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม

ที่มา: https://www.smartsme.co.th/content/101451

เคล็ดลับในการเจาะตลาดสินค้าออนไลน์ในกัมพูชา

ตลาดออนไลน์ในกัมพูชาถือว่าเติบโตเร็วมาก เพราะมีผู้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากกว่า 50% ของประเทศ (ประมาณ 8 ล้านคน) มีบัญชี facebook ถึง 7 ล้านคน บัญชี instragram เพียง 660,000 คน ดังนั้นควรวางตำแหน่งของสินค้าให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย โฆษณาส่วนมากจะนิยมเอาดาราที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์ นิยมดูสื่อเคลื่อนไหวอย่างวีดีโอมากกว่าภาพนิ่ง การจัดส่งสินค้าควรให้รวดเร็วเพราะคนกัมพูชาไม่ชอบการรอคอย เพราะถ้ารอรับสินค้าเกินกว่าหนึ่งวันจะมีผลต่อการตัดสินใจทันที ทางออกคือจัดส่งด้วยมอเตอร์ไซค์ที่สะดวกและรวดเร็ว ส่วนการชำระเงิน เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคารและมีผู้ใช้บัตรเครดิตเพียง 3% จึงนิยมชำระเป็นเงินสดหรือใช้บริการโอนผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือแทน ในอนาคตการทำธุรกรรมทางการเงินจะมีการเปลี่ยนไปเพราะคนกัมพูชาเปิดรับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49815_0.pdf

26 มิถุนายน 2561

SME เพิ่มโอกาสรวยแบบก้าวกระโดด! บนตลาดกัมพูชากับเวียดนาม

งานสัมมนา “Krungsri Business Talk : กัมพูชา VS เวียดนาม ตลาดไหน ใช่เลย!” มีการนำผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศมาถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญคือ ประเด็นที่ 1 การเติบโตและสินค้าที่เป็นไปได้ในตลาด กัมพูชาชอบดีทีวีไทยเป็นอย่างมากจึงไม่จำเป็นต้องทำโฆษณาตัวสินค้าไทยเพราะเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ส่วนเวียดนาม มี FTA เชื่อมต่อการส่งออกของไทยและนิยมสินค้าอย่างเครื่องสำอางและไอที ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมผู้บริโภค กัมพูชาเปิดรับสินค้าทุกอย่าง ไม่สนใจว่าฉลากจะเป็นภาษาไหนแต่ถ้าเป็นภาษาไทยจะยิ่งมีความเชื่อมั่น ส่วนเวียดนามมีรสนิยมในสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ชอบผลิตภัณฑ์ที่มีกิมมิคและแปลกใหม่ ประเด็นที่ 3 การจับจ่ายและกฎระเบียบ การเข้าไปทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศจะคล้ายคลึงกันคือหาคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย ด้านกฎระเบียบของเวียดนามจะมีความอ่อนไหวมากกว่าเพราะเปลี่ยนแปลงบ่อย สิ่งที่นักลงทุนพึงตระหนักคือการติดตามข้อมูลข่าวสาร นโยบายและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอยู่ตลอด

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1258896

19 เมษายน 2561

ก้าวต่อไปของ CLMV

 

จากรายงานการวิเคราะห์ของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) เกี่ยวกับศักยภาพของอาเซียน พบว่าการเติบโตของกลุ่มประเทศอย่างกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) เป็นที่น่าจับตามอง เช่น การที่ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในเมียนมามากกว่า 1000% ตลอดหกปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้อุปสรรคสำคัญคือ สงครามการค้า กรณี Brexit หรือการถอนตัวของสหรัฐออกจากกรอบการค้าเสรี (TPP) ที่เป็นตัวฉุดในบางครั้ง แต่ความได้เปรียบอีกอย่างคือ ค่าจ้างแรงงานถูกและต่ำที่สุดในประเทศกลุ่มอาเซียนอื่นๆ โดยมีค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อคน/ปี ในปี 2559 (ส่วนไทยอยู่ที่ 6,000 เหรียญสหรัฐต่อคน/ปี) แต่เมื่อเทียบเป็นรายปีจะพบว่าเพิ่มขึ้นถึง 6.5% เทียบกับอินโดนีเซีย 1.7% มาเลเซีย 4.4% ผลการศึกษาของ ERIA ชี้ว่ากลุ่ม CLMV จำเป็นต้องปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การผ่อนคลายกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ ลดช่องว่างรายได้ของประชากรในประเทศ เร่งสร้าง SMEs ที่เข้มแข็งในท้องถิ่น ลดการพึ่งพาของอียูในการสร้างงานและการลงทุนทางตรงในประเทศ CLMV จึงน่าจับตามองของนักลงทุนที่เข้ามาลงในกลุ่มอาเซียนเพราะมีส่วนผลักดันเป้าหมายในปี 2593 ที่หมายมั่นจะมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของโลก

ที่มา: http://www.eria.org/news-and-views/clmv-countries-must-go-beyond-regional-integration/

16 กุมภาพันธ์ 2561

ธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ : โอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นแหล่งส่งออกกาแฟกว่า 1.4 ล้านเมตริกตัน เป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (2.5 ล้านเมตริกตัน) คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้ว การบริโภคเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นถึง 1.5 กิโลกรัม/ปี เพราะปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคกาแฟแบบเดิมเปลี่ยนไปและชนชั้นกลางที่มากขึ้น อย่างร้านกาแฟ/คาเฟ่ที่ได้รับความนิยมในนครโฮจิมินห์มักจะมีการตกแต่งที่ทันสมัย มีบริการ Wifi และเครื่องปรับอากาศ เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางสังคม อีกทั้งการกินกาแฟยังมีแตกต่างกันออกไปโดยแบ่งเป็นภาคเหนือและภาคใต้ โอกาสของธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ 1) ภาคใต้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและมีชนชั้นกลางจำนวนมาก เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจแฟรนไซส์กาแฟเพราะทั้งรายได้ประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 2.) พฤติกรรมการบริโภคที่เร่งรีบมากขึ้น กาแฟแคปซูล จึ่งเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะมีการเติบโต 11% และกำลังตีตลาดในอาเซียน 3) กาแฟสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพและมีโอกาสที่จะทำตลาดได้ 4) อุตสาหกรรมสนับสนุนหรือธุรกิจต่อยอด เช่น การนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

เมษายน 2561

ทำไมคนเวียดนามในภาคใต้จึงนิยมบริโภคสินค้าไทย ?

ปัจจุบันชนชั้นกลางเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของเวียดนาม ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจึงมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยราคาสมเหตุสมผลคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ปัจจัยที่พิสูจน์ว่าสินค้าไทยมีดีอย่างไร คือ 1) การเต็มใจจ่ายซื้อสินค้า 2) การซื้อสินค้าไม่เอาราคาเป็นที่ตั้ง 3) สัญลักษณ์ Made in Thailand สามารถการันตีได้ถึงคุณภาพ แม้ปัจจุบันจำนวนคู่แข่งจะมากขึ้นแต่โอกาสยังสดใสอยู่ โดยเฉพาะเมืองอย่างโฮจิมินห์ ดานัง และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะกำลังซื้อที่เพิ่มถึง 10% ในปี 2560 และคาดว่าในปี 2563 มูลค่าการค้าปลีกจะอยู่ที่ 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หนทางสำหรับสินค้าไทยยังมีอยู่มากจากความชื่นชอบสินค้าไทยในคุณภาพ ภาพลักษณ์ และราคา และการที่ปัจจัยทางด้านการคมนาคมที่เชื่อมกัน รวมถึงระบบโลจิสติกส์มีความเข้มแข็ง สินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโตในภาคใต้เวียดนาม ได้แก่ สินค้าด้านการดูแลสุขภาพ เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม และการศึกษา

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

21 กันยายน 2560