สปป.ลาว กัมพูชาและเวียดนามจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว

เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวจากกัมพูชา สปป.ลาวและเวียดนาม กำลังหารือเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่สามเหลี่ยมครอบคลุม 13 จังหวัดของทั้ง 3 ประเทศ การเจรจาดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 เรื่องการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวสำหรับ CLV ในพื้นที่สามเหลี่ยมพัฒนาระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม ตามรายงานจุดมุ่งหมายคือการพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ หลังการประชุมผู้แทนของกัมพูชา สปป.ลาวและเวียดนามจะหารือกับผู้ร่วมงานเพื่อปรับแผนพัฒนาร่างและส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นและส่วนกลางเพื่อขออนุมัติ ในระหว่างการประชุมคณะผู้แทนจากทั้ง 3 ประเทศจะไปเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในแขวงจำปาสัก สถานที่สำคัญเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญในกัมพูชาและเวียดนามเพื่อสร้างแพ็คเกจท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทาง

 ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-cambodia-vietnam-formulate-tourism-development-plan-102810

มองโกเลียและสปป.ลาวจัดประชุมหารือการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคี

กระทรวงการต่างประเทศมองโกเลียและสปป.ลาวจัดประชุมร่วมเน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านการเมือง การค้าเศรษฐกิจ การเกษตร สุขภาพ การศึกษา แลกเปลี่ยนมุมมองที่เป็นไปได้ ความร่วมมือและเรื่องที่สนใจร่วมกันทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ อีกทั้งขณะนี้โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของทางรถไฟและทางหลวงกำลังดำเนินการในสปป.ลาว เมื่อโครงการดำเนินการแล้วจะไม่มีอุปสรรคจากการขนส่งการค้าขายระหว่างมองโกเลียและสปป.ลาวและจะมีโอกาสเพิ่มการนำเข้าและส่งออกของทั้งสองประเทศ เช่น เนื้อสัตว์ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ พรม ขนแคชเมียร์และขนสัตว์จากมองโกเลีย และผัก ผลไม้ ข้าวและกาแฟจากสปป.ลาว ฝ่ายสปป.ลาวแจ้งความพร้อมในการเช่าที่ดิน 10,000 เฮกตาร์สำหรับนักธุรกิจชาวมองโกเลียและ 5 เฮกตาร์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ นอกจากนี้สปป.ลาวให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือกับมองโกเลียในขณะเดียวกันก็แสดงความยินดีในความร่วมมือทวิภาคีที่ได้รับการพัฒนาในภาคเกษตรด้วย

ที่มา : https://akipress.com/news:624340:Mongolia_and_Laos_hold_consultative_meeting/

รัฐบาลสปป.ลาว , เอฟเอโอ ทบทวนตัวชี้วัดเส้นทางสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับการเกษตรโภชนาการและการถือครองที่ดินและใช้เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในสปป.ลาว ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติจากสำนักงานใหญ่ FAO และสำนักงานภูมิภาค FAO สำหรับเอเชียและแปซิฟิกนำเสนอประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำดัชนีชี้วัดของ SDG และการประเมินตัวชี้วัด 21 ตัวในอนาคตภายใต้การดูแลของ FAO การประชุมเชิงปฏิบัติการจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจถึงตัวชี้วัด SDG ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้ดีขึ้น บทบาทของ FAO ในการติดตามและรายงาน SDG ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ และวิธีการวัดตัวชี้วัดแต่ละตัว ข้อกำหนดของข้อมูลสำหรับการวัดตัวบ่งชี้พร้อมกับแหล่งข้อมูลที่เป็นไปได้จะถูกกล่าวถึงในรายละเอียดด้วย ซึ่งจะหารือเกี่ยวกับประสบการณ์และความท้าทายในการสร้างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดเหล่านี้ในสปป.ลาวและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ SDG

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt.php

การลงทุนที่จำเป็นสำหรับสปป.ลาวเพื่อเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเกษตร

อุปสงค์ในระดับภูมิภาคสำหรับพืชผลและปศุสัตว์ยังคงอยู่ในระดับสูง แต่สปป.ลาวไม่สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่จะสนองความต้องการของตลาดในภูมิภาคได้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้เน้นย้ำความจำเป็นที่  สปป.ลาวจะต้องดึงดูดการลงทุนด้านการเกษตรเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดส่งออก หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญคือเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติการเกษตรแบบยังชีพด้วยวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปัญหาอีกประการหนึ่งคือผลผลิตในฟาร์มคุณภาพต่ำและการกระจายตัวของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งการรวมตัวกันของแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการทำฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และลดต้นทุน และเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิตเข้ากับธุรกิจการเกษตรและโรงงานแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าส่งออก อีกทั้งสปป.ลาวยังมีศักยภาพสูงในการปลูกพืชอินทรีย์เพื่อการค้าเนื่องจากความต้องการอาหารที่สะอาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีความห่วงใยสุขภาพมากขึ้น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/more-investment-needed-laos-reap-profits-agriculture-102737

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวยังคงพึ่งพาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวจะยังคงขับเคลื่อนโดยการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าในระยะสั้นถึงระยะกลาง ในทางกลับกันการสนับสนุนของภาคเหมืองแร่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การเลื่อนการชำระหนี้ยังคงมีประสิทธิภาพ รัฐบาลสปป.ลาวมุ่งมั่นที่จะผลักดันความคืบหน้าของโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทางรถไฟสายสปป.ลาว – จีน และทางด่วนสายเวียงจันทน์ – วังเวียง รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขยายตัวของภาคเอกชนมากขึ้น เป็นผลมาจากการขาดรายได้ของประเทศและความตึงเครียดด้านงบประมาณ การลงทุนจะเน้นไปที่การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่ดำเนินอยู่และการชำระคืนหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงินของประเทศ ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าการเติบโตจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้น 6.3% ในปี 61

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-growth-remains-reliant-infrastructure-development-102626

บริษัทสปป.ลาวต้องการการควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมาย

ธุรกิจสปป.ลาวจำนวนมากที่ผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศเสียเปรียบเพราะไม่มีการควบคุมการไหลเข้าของสินค้านำเข้าที่ผิดกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่นำเข้าสินค้าอย่างผิดกฎหมาย แม้รัฐบาลมีนโยบายและกฎหมายในการปกป้องจากการค้าที่ผิดกฎหมายแต่การบังคับใช้กฎหมายนี้อ่อนแอ เพื่อให้บริษัทสปป.ลาวสามารถผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องจัดการกับการค้าที่ผิดกฎหมายเพื่อบังคับให้ผู้นำเข้าจ่ายภาษี นอกจากการปราบปรามการค้าข้ามพรมแดนที่ผิดกฎหมายแล้ว รัฐบาลควรใช้มาตรการที่สำคัญเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ผลิตสินค้าสำหรับตลาดในประเทศ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถผลิตสินค้าในราคาที่แข่งขันได้ จากการสำรวจของธนาคารโลกหนึ่งในความท้าทายที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเผชิญคือการเข้าถึงการเงิน ผู้ประกอบการหลายคนกล่าวว่าประเด็นที่เร่งด่วนที่สุดที่รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มผลผลิตคือการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยเฉพาะกฎหมายหนึ่งฉบับระบุถึงอาชีพบางประเภทที่สงวนไว้สำหรับคนสปป.ลาว และหากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมธุรกิจที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ได้อย่างน้อยก็ควรจดทะเบียนและถูกบังคับให้จ่ายภาษีเต็มจำนวนเพื่อให้สปป.ลาวและผู้ประกอบการต่างชาติสามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-firms-demand-regulation-illegal-imports-102623

World Bank: การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสปป.ลาวในปัจจุบันยังคงสูง

ตามรายงานล่าสุดจากธนาคารโลกการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปัจจุบันของสปป.ลาว คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 12% ในปีนี้เนื่องจากการนำเข้าคาดว่าจะเติบโตได้เร็วกว่าการส่งออก การขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการการนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตามรายงานของรัฐบาลคาดว่ามูลค่าการนำเข้าจะสูงถึง 5.77 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้และคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะสูงถึง 5.51 พันล้านดอลลาร์ โดยดุลการค้าขาดดุล 259 ล้านดอลลาร์ หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญสำหรับสปป.ลาวคือการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการแปรรูป เพื่อการส่งออกและเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้สกุลเงินต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/world-bank-lao-current-account-deficit-remains-high

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว สั่งระงับโรงงานรีไซเคิลขยะพลาสติก

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะไม่ออกใบอนุญาตปฏิบัติการให้กับโรงงานผลิตที่ใช้ขยะพลาสติกเป็นวัตถุดิบอีกต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานในอุตสาหกรรมการแปรรูป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ลงนามในคำสั่งรัฐมนตรีให้อำนาจเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมทั่วประเทศเพื่อหยุดการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้กับโรงงานผลิตเหล่านี้ชั่วคราว โรงงานที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับคำเตือนและได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงกระบวนการผลิต ธุรกิจที่ล้มเหลวในการปรับปรุงวิธีการดำเนินการตามมาตรฐานอุตสาหกรรมจะถูกสั่งให้ปิดกิจการ ธุรกิจที่มีใบรับรองการลงทะเบียน, ใบกับกับภาษี, ใบอนุญาตการลงทุนและใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานแล้วสามารถสร้างโรงงานผลิตต่อไปได้ แต่ไม่สามารถเข้าสู่การผลิตได้จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ บริษัทที่ได้รับอนุญาตการลงทุน แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้สร้างโรงงานให้ระงับการดำเนินงานจนกว่าจะมีการออกประกาศใหม่ โรงงานผลิตที่ไม่มีเอกสารทางกฎหมายที่เหมาะสมจะให้หยุดการดำเนินการทันที

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/industry-ministry-orders-suspension-plastic-waste-recycling-plants-102439

รถโดยสารประจำทางจากนครหลวงเวียงจันทน์สู่การจ่ายแบบไร้เงินสด

Vientiane Capital State Bus Enterprise (VSCBE) ซึ่งให้บริการรถโดยสารนครหลวงเวียงจันทน์กำลังใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เงินสดสำหรับบางเส้นทางในเมืองหลวง ผู้ที่เดินทางสายสนามบิน และสาย ITECC สามารถชำระค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางผ่านบริการ LDB trust ระบบชำระเงินรหัส QR ที่พัฒนาโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาสปป.ลาว นอกจากนี้ยังสามารถชำระเงินด้วย VISA, MasterCard, UnionPay และ JCB ตามรูปภาพของบริการที่เปิดเผยโดย Japan International Cooperation Agency (JICA) Laos หากประสบความสำเร็จธนาคารอื่น ๆ จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อให้บริการการชำระเงินแบบไร้เงินสดสำหรับผู้ใช้รถบัส JICA ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เพิ่มขีดความสามารถของ VSCBE รวมถึงเพื่อส่งเสริมการเป็นรถโดยสารสาธารณะในเวียงจันทน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงระบบการจัดการของบริษัท บริการการดำเนินงานรถบัสและนโยบายการขนส่งในการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2019/08/22/vientiane-city-bus-moves-toward-cashless-payment/

สปป.ลาวหวังว่าจะจุดประกายการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในปีหน้า

สปป.ลาวคาดว่าจะนำเข้ายานพาหนะไฟฟ้าในปีหน้า เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยที่สุด การนำเข้ายานพาหนะไฟฟ้าจะเป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาล วิสาหกิจไฟฟ้าสปป.ลาวและ บริษัท อีวีลาว จำกัด กำลังทดสอบการติดตั้งสถานีชาร์จ จะติดตั้ง 20 สถานีในเวียงจันทน์ในปีนี้ สถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ สนามบินนานาชาติวัตไต สถานีขนส่งสะพานมิตรภาพลาว – ไทยแห่งแรกและหน่วยงานราชการต่างๆ การทดสอบกำลังดำเนินการเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการดำเนินงานระหว่างรถยนต์ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงมาตรการด้านความปลอดภัยและเพื่อยืนยันคุณภาพของยานพาหนะ ที่ผ่านมาสปป.ลาวนำเข้าเชื้อเพลิงจำนวนมากเป็นประจำทุกปี ซึ่งทำให้เกิดการขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมากในช่วงหลายปี ในปี 59 นำเข้าน้ำมันเกือบ 2,000 ล้านลิตรคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐและเพิ่มขึ้นเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว การทดสอบระบบชาร์จสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญของการเตรียมการระยะยาวเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด อีกทั้งยังส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในภาคการขนส่ง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-hoping-spark-use-electric-vehicles-next-year-102441