กัมพูชามีแผนเปิดประตูชายแดนกับเวียดนามอีกแห่ง

กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (MPWT) ระบุว่ากำลังดำเนินเปิดประตูชายแดนอีกแห่งกับเวียดนาม เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งตู้สินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ จากการประชุมระหว่างภาครัฐกับเอกชน กัมพูชาและญี่ปุ่น คุณ Nou Savath เลขาธิการกระทรวง กล่าวว่ากระทรวงโยธาธิการและขนส่ง มีแผนที่จะนำคณะทำงานรัฐมนตรี ทำการตรวจสอบประตูชายแดนอีกแห่งกับเวียดนาม สำหรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ เนื่องจากประตูชายแดน ‘Bavet-Moc Bai’ คับคั่งอย่างมาก อีกทั้ง กัมพูชากำลังพิจารณาที่จะเปิดประตูชายแดนอีกแห่ง ‘Prey Vor-Binh Hiep’ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานของศุลกากรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง และลดความแออัดของชายแดน Bavet

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/cambodia-plans-another-intl-border-gate-with-vietnam-168978/

การค้ากัมพูชา-ญี่ปุ่น ดิ่งลง 6%

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น อยู่ที่ 1.175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.71 เมื่อเทียบกับปีก่อน หากจำแนกชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่น ประมาณ 914.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่น 260.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.06 เมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ คุณ Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวกับสำนักข่าว ‘The Post’ ว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การค้าโลกลดลงที่ละน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 2-3

 ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/kingdom-japan-trade-plummets-almost-6-168981/

คาดปี 67 ตลาดอาหารแช่แข็งกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 119.56 ล้านดอลลาร์

ตลาดอาหารแช่แข็งของกัมพูชาคาดจะมีมูลค่าสูงถึง 119.56 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 67 โดยอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ  3.9 ในช่วง ปี 62-67 รายงานการวิจัยตลาดของ Bulletin Line กล่าวว่าการเปลี่ยนวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการรับประทานอาหารหลายมื้อต่อวันเป็นแบบเดียวประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ที่ทานอาหารสามมื้อต่อวันมากขึ้น แนวโน้มดังกล่าวยังรวมถึงการซื้ออาหารสำเร็จรูปอาหารปรุงสุกและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่เพิ่มขึ้น ทำให้ยอดค้าปลีกในอุตสาหกรรมอาหารบรรจุหีบห่อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอาหารแช่แข็งและแช่เย็น ผู้บริโภคมีความต้องการของหวานแช่แข็ง มันฝรั่งแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น ผู้นำเข้าบางรายในกัมพูชามีความเชี่ยวชาญในการให้บริการร้านอาหารของโรงแรมและมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บและการกระจายสินค้าแช่แข็งและแช่เย็นที่เหมาะสม ร้านค้าปลีกอาหารสมัยใหม่ส่วนใหญ่ เช่น DFI Lucky และ Thai Huot ยังให้บริการการค้านร้านค้าปลีกหรือการค้าส่ง ในปี 2559 สถาบันมาตรฐานแห่งกัมพูชา (ISC) และองค์การเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเล 4 ชนิดที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล น้ำปลา กุ้งแช่แข็ง กุ้งแห้ง และเนื้อปูเป็นการส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ รสชาติ และความชอบที่เปลี่ยนไปในอาหารแช่แข็งของผู้บริโภคจึงได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50761273/cambodia-frozen-food-market-is-forecasted-to-reach-119-56-million-by-2024/

‘กัมพูชา’ ยอดส่งออกข้าวดิ่ง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง เปิดเผยว่าในเดือน สิ.ค. ปริมาณการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ ดิ่งลงมากอยู่ที่ 22,130 ตัน ลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวของกัมพูชา อยู่ที่ 448,203 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งจากการส่งออกข้าวทั้งหมดนั้น แบ่งออกเป็น ข้าวหอม 352,802 ตัน, ข้าวขาว 89,699 ตัน, ข้าวนึ่ง 5,679 ตันและส่วนที่เหลือ 23 ตัน จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกข้าวสำคัญของกัมพูชา ในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 159,253 ตัน รองลงมาฝรั่งเศส (56,964 ตัน) และกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ประธานสมาคมพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (CRF) กล่าวว่าสถานการณ์น้ำท่วมลัภัยแล้ง เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อชาวเกษตรกรและด้านความมั่งคงทางอาหาร รวมถึงการส่งออกอีกด้วย ขณะที่ การเก็บเกี่ยวข้าวเลื่อนออกไป 2 เดือน เนื่องจากในปัจจุบัน ชาวนาต้องปลูกข้าวเปลือกใหม่ ทำให้เก็บเกี่ยวได้อีกครั้งภายในเดือน ต.ค. และ พ.ย. นอกจากนี้ ทางสมาคมพันธ์ข้าว ได้ขอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท (ARDB) ปล่อยเงินทุนมากขึ้นและขอขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ โดยกล่าวโทษจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูเก็บเกี่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759582/big-drop-in-rice-exports/

กัมพูชาเผยช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ ‘อังกอร์ รีสอร์ท’ รองรับนักท่องเที่ยว 400,000 คน

หน่วยงาน “Angkor Enterprise” เปิดเผยว่าอุทยานโบราณสถานอังกอร์ในจังหวัดเสียมฐาน สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 393,293 คน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่า 18,332,011 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้น ชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ 74.66 ขณะที่ รายได้ลดลงร้อยละ 73.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8,817 คน ที่เข้ามาเยี่ยมชมปราสาทเกาะแกร์ (Koh Ker) จ.พระวิหาร และสร้างรายได้จากการขายตั๋วถึง 88,170 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชายังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่นเดียวกันหลายๆประเทศทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759735/angkor-resort-received-400000-tourists-in-first-eight-months/

ฟาร์มโคนมแห่งใหม่จะเริ่มดำเนินการในจังหวัดตาแก้ว

ฟาร์มโคนมแห่งใหม่ในจังหวัดตาแก้วจะเริ่มการผลิตเต็มรูปแบบในปลายปี 2563 และจะมีส่วนช่วยในการหาตลาดในประเทศและลดการการนำเข้าจากต่างประเทศ ฟาร์มนี้มีมูลค่าการลงทุนมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงทุนโดย บริษัท Khmer Fresh Milk Co. , Ltd. บนพื้นที่กว่า 300 เฮกตาร์ในอำเภอบาตี จังหวัดตาแก้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงให้ความสำคัญกับการลงทุนของบริษัทในการผลิตนมแห่งนี้ การลงทุนดังกล่าวจะช่วยตอบสนองความต้องการในประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปของท้องถิ่นและจะนำเทคโนโลยีล้ำสมัยในห่วงโซ่การผลิตนมจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคและโภชนาการทางอาหาร บริษัทระบุว่าตอนนี้ฟาร์มเริ่มผลิตนมสด 6,000 ลิตรต่อวันและจะผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อวันภายในสิ้นปีนี้ โดยได้นำเข้าโคนมจำนวน 550 ตัวและอาหารที่ใช้เลี้ยงจากออสเตรเลีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759276/new-dairy-farm-to-start-operations-in-takeo-province/

สิงหาคมที่ผ่านมาการส่งออกข้าวกัมพูชาลดลงอย่างมาก

จากรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงการส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 ที่ 448,203 ตันในช่วงแปดเดือนแรกของปี รายงานระบุว่าจนถึงขณะนี้กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 448,203 ตันมื่อเทียบกับ 342,045 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมเพียงอย่างเดียวการส่งออกข้าวกัมพูชาร้อยละ 22 มีจำนวน 130 ตันเมื่อเทียบกับ 34,032 ตันในเดือนสิงหาคม 2562 ในการส่งออกข้าวทั้งหมด 352,802 ตัน เป็นข้าวหอม 89 ตัน ข้าวขาว 699 ตัน ข้าวนึ่ง 5,679 ตัน และข้าวอื่นๆ 23 ตัน จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับต้นของกัมพูชา กัมพูชาส่งออกประมาณ 159,253 ตันในช่วง 8 เดือนแรกตามด้วยฝรั่งเศส 56,964 ตัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศอาเซียน มาเลเซีย นำเข้าจากกัมพูชาประมาณ 23,201 ตัน เวียดนาม 12,836 ตัน บรูไน 10,500 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759273/cambodias-rice-exports-drop-drastically-in-august/

กัมพูชาและเกาหลีใต้เตรียมจัดเจรจา FTA รอบ 2

วันนี้เกาหลีใต้ประกาศการเจรจาการค้าเสรี (FTA) รอบที่ 2 กับกัมพูชาในสัปดาห์นี้เนื่องจากกัมพูชาพยายามขยายการส่งออกเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจจากของการระบาด COVID-19 กัมพูชาเป็นแหล่งส่งออกอันดับที่ 58 ของโลก เป้าหมายเพื่อมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีกำหนดจะเริ่มการประชุมแบบ Virtual meeting .ในอีกสี่วันซึ่งการจัดการเจรจารอบแรกในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 63 ภายหลังหนึ่งปีหลังจากที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาเสนอให้มีการเตรียมการสำหรับสนธิสัญญาการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างการประชุมสุดยอดกับประธานาธิบดีมุนแจอินของเกาหลีใต้ที่พนมเปญในเดือนมีนาคม 62 การประชุมครั้งนี้จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของสินค้าผลิตภัณฑ์ตลอดจนวิธีอื่น ๆ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทวิภาคี กัมพูชากำลังลดการพึ่งพาจีนและสหรัฐอเมริกาในการส่งออกเนื่องจากทั้งสองประเทศต้องใช้เวลาการขนส่งสินค้าขาออกโดยรวมมากถึงร้อยละ 40 ข้อมูลของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีพบว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรับ ในปี 62 เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า โดยเกาหลีใต้ส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่าถึง 697 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เกินดุลการค้าถึง 361 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศส่วนใหญ่ส่งออกรถบรรทุกสินค้า เครื่องดื่ม และสิ่งทอถักไปยังกัมพูชาในขณะที่การนำเข้าจะเป็นเสื้อผ้าและรองเท้า เมื่อลงนามในสนธิสัญญาแล้วกัมพูชาจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อพันธมิตรคู่ค้า FTA ของเกาหลีใต้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมเวียดนามและสิงคโปร์ ซึ่งกรุงโซลและกรุงมะนิลาจัดการเจรจา FTA เป็นรอบที่ 5 ในเดือนมกราคม 63 และอยู่ระหว่างดำเนินการการเจรจากับมาเลเซียและกำลังรอพิธีลงนามอย่างเป็นทางการในกรอบข้อตกลง Comprehensive Economic Partnership Agreement (CEPA) กับอินโดนีเซีย

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50758831/cambodia-and-south-korea-set-to-hold-2nd-round-of-fta-talks/

กัมพูชา-เยอรมนีพร้อมดำเนินโครงการใหม่เพื่อส่งเสริมความทันสมัยทางเศรษฐกิจ

กัมพูชาและเยอรมนีกำลังวางแผนจะดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานระยะใหม่เพื่อส่งเสริมความทันสมัยทางเศรษฐกิจในกัมพูชา โดยมีการพิจารณาจากการประชุมแบบ Virtual meeting ซึ่งมี Chhieng Yanara รัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนากัมพูชาของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และ ดร. Sabine Schmid ผู้เชี่ยวชาญภาษาเยอรมันจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อหารือและกำหนดลำดับความสำคัญสำหรับโครงการที่จะประสบความสำเร็จในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคระยะที่ 4 (RED IV) ซึ่งจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่สามของปี 64 โครงการใหม่นี้จะเริ่มต้นปี 64 โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบครบวงจรซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจครอบครัวไปสู่ความหลากหลายและความทันสมัยทางเศรษฐกิจ RED IV ที่มีอยู่เป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างเยอรมนีผ่าน GIZ และสวิตเซอร์แลนด์ผ่าน Swiss Agency for Development and Cooperation (SDC) โดยร่วมมือกับ CDC และหน่วยงานย่อยระดับชาติ RED IV ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 61 ใน 4 จังหวัดของกัมพูชา ได้แก่ บันเตียเมียนเจย อุดดอร์เมียนเจ็ย ปราสาทพระวิหาร และเสียมราฐ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 8.41 ล้านยูโรซึ่งรวมอีกร้อยละ 10 จากรัฐบาลกัมพูชา

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50758828/cambodia-germany-to-implement-new-programme-to-boost-economic-modernization/

กัมพูชาวางแผนจัดซื้อเครนใหม่เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในท่าเรือน้ำลึก

Kalmar ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Cargotec ได้สรุปข้อตกลงระหว่าง Phnom Penh Autonomous Port (PPAP) เพื่อจัดหาเครนจาก Kalmar SmartPower Rubber-Tyred Gantry (RTG) จำนวน 4 ตัว สำหรับท่าเรือ LM17 Container Terminal โดย Cargotec จำทำการส่งมอบเครนภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ซึ่งท่าเรือ LM17 ของ PPAP เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ในเดือนมกราคมปี 2013 ในจังหวัดกันดาล สามารถขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ได้ราว 150,000 TEUs ณ ปัจจุบัน ซึ่งการสั่งซื้อเครนในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยายโครงสร้างพื้นฐานภายในท่าเรือน้ำลึก โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนแผนการเติบโตของบริษัทภายในประเทศที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเทอร์มินัลขนส่งให้เป็นสองเท่า รวมถึงเป็นการจัดซื้ออุปกรณ์ภายในท่าเรือที่ได้มาตรฐานในระดับสากล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50758112/kalmar-smartpower-rtgs-chosen-for-port-expansion-in-cambodia/