จากเดือนมีนาคมมีสินเชื่อกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ในกัมพูชา

ภาคธนาคารเห็นการปรับโครงสร้างของเงินกู้ถึง 2.16 พันล้านดอลลาร์ ครอบคลุม 44,500 บัญชี ณ เดือนมิถุนายนปีนี้ ตามรายงานของสมาคมธนาคารแห่งกัมพูชา (ABC) โดยเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการธนาคาร รวมถึงได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ในการปรับโครงสร้างเงินกู้ โดย NBC กล่าวว่าธนาคารและสถาบันการเงินควรระบุลูกค้าที่คาดว่าจะประสบปัญหาทางการเงินอย่างชัดเจนก่อนที่จะปรับโครงสร้างเงินกู้ของผู้ที่ต้องการปรับโครงสร้าง เพื่อช่วยเหลือต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก่อน ซึ่งจากโครงสร้างเงินกู้ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการเกษตร การก่อสร้าง ธุรกิจขนาดเล็ก รวมไปถึงการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยจากข้อมูลของสมาคมการเงินรายย่อยกัมพูชาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงวันที่ 9 สิงหาคมลูกค้าราว 266,820 ราย ยื่นขอปรับโครงสร้างเงินกู้เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งลูกค้ามากกว่า 250,905 ราย ได้รับการอนุมัติสำหรับการปรับโครงสร้างเงินกู้คิดเป็นมูลค่ารวม 1.232 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50754440/more-than-2billion-in-loans-restructured-from-march/

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวถึง FTA ระหว่างเกาหลี

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชากับเกาหลี (FTA) คาดจะขยายศักยภาพการส่งออกข้าวของกัมพูชาตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ที่เกิดขึ้นในการประชุมปรึกษาหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ณ กระทรวงพาณิชย์ โดยการปรึกษาหารือมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมข้อมูลจากภาคเอกชนเพื่อสร้างรากฐานสำหรับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัมพูชากับเกาหลี ซึ่งนอกจากการหารือถึงการขยายตลาดเพิ่มแล้วยังหมายถึงการสร้างการรับรู้ของข้าวที่ทำการปลูกและผลิตภายในประเทศกัมพูชาโดยเฉพาะข้าวอินทรีย์และข้าวกล้องให้เกิดการยอมรับในตลาดโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50754722/rice-federation-upbeat-about-cambodia-korea-fta/

กัมพูชามองถึงภาคการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Impact Hub Phnom Penh ซึ่งได้รับทุนจาก Khmer Enterprise (KE) ภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก โดยกระทรวงการท่องเที่ยวกำลังจะเปิดตัวศูนย์ “Khmer Tourism for the Future incubator.” ซึ่งถือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและนวัตกรรมในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งโปรแกรมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การสนับสนุนบริษัทสตาร์ทอัพและธุรกิจอย่างเข้มข้น เพื่อพื้นฟูภาคการท่องเที่ยวในอีก 12 เดือนข้างหน้า รวมถึงเป็นการปูพื้นฐานเพื่อนำไปสู่อนาคตใหม่สำหรับภาคการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยโปรแกรมนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ประกอบการที่มีต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศกัมพูชาในเชิงบวก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50753983/re-imagining-sustainable-tourism/

สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัมพูชาบางส่วนแล้ว

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมูลค่าราว 7 พันล้านดอลลาร์ต่อปีของกัมพูชากำลังจะถูกถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนที่สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (EU) โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามการตัดสินใจของสหภาพยุโรปตั้งแต่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่ารัฐบาลและภาคเอกชนจะพยายามเจรจาต่อรองให้ EU ไม่ดำเนินการหรืออย่างน้อยก็ชะลอการถอดถอนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาและในเดือนกุมภาพันธ์คณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการยุโรปได้แนะนำให้ถอดถอนบางส่วนของโครงการ EBA ตั้งแต่เดือนสิงหาคมโดยอ้างถึงการละเมิดหลักการของกัมพูชาอย่างร้ายแรงในด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายในประเทศที่ยังไม่ถูกแก้ปัญหา โดยการระงับดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหนึ่งในห้า (1.08 พันล้านดอลลาร์) ของการส่งออกประจำปีของกัมพูชาที่ทำการส่งออกสินค้าไปยัง 27 ประเทศ ของกลุ่มสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50753939/the-eus-tax-free-status-partially-withdrawn/

กัมพูชาและจีนมองเขตการค้าเสรีจะเป็นตัวส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัมพูชาและจีนคาดจะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น กล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการเจรจา FTA ทวิภาคีไปแล้วในวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายอย่างมากต่อเศรษฐกิจของกัมพูชาเนื่องจากเข้าถึงตลาดของประเทศคู่ค้าได้มากขึ้นทำให้กัมพูชาสามารถกระจายผลิตภัณฑ์และขยายตลาดของกัมพูชาได้ และลดการพึ่งพาคู่ค้าเพียงไม่กี่ราย เช่นยุโรป สหรัฐฯและแคนาดา ซึ่งปกติแล้วจะทำการค้ากับกัมพูชาแบบสัมปทานเช่น Everything But Arms (EBA ), Generalized System of Preferences (GSP)” เป็นต้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกล่าวว่าการลงนาม FTA ระดับทวิภาคีนี้จะช่วยกระตุ้นความรวดเร็วของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกัมพูชา รวมถึงโครงการภายใต้ Belt and Road Initiative (BRI) อีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752996/cambodia-china-fta-to-boost-bilateral-trade-investment-ties/

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาสร้างงานกว่าแสนตำแหน่ง

ภาคการก่อสร้างของกัมพูชาสร้างงานมากกว่า 170,000 ตำแหน่ง โดยเฉลี่ยต่อวันทั่วประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 134,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วตามตัวเลขของกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง (MLMUPC) ซึ่งรายงานแสดงให้เห็นว่าในเมืองหลวงพนมเปญเพียงแห่งเดียวมีการสร้างงานมากถึง 24,130 ถึง 24,500 ตำแหน่งต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.16 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากการศึกษาพบว่าต้นทุนแรงงานในภาคการก่อสร้างสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยรายงานระบุว่าแรงงานด้อยฝีมือมีรายได้ระหว่าง 10 ถึง 15 ดอลลาร์ต่อวัน ในขณะที่คนงานที่มีทักษะและหัวหน้าทีมมีรายได้ระหว่าง 15 ถึง 25 ดอลลาร์ต่อวัน วิศวกรมีรายได้ประมาณ 2,500 ดอลลาร์ต่อเดือนทั่วประเทศ ซึ่งมีโครงการดำเนินการอยู 2,522 โครงการ ที่ได้รับการอนุมัติในช่วงครึ่งปีแรกด้วยมูลค่ากว่า 3.842 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 1,047 โครงการในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 3.392 พันล้านดอลลาร์หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.26

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752957/construction-sector-creates-hundred-thousands-of-jobs/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและอินเดียเพิ่มขึ้น

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังเดินหน้าไปสู่การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศต่อไป โดยสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศอยู่ที่ 271 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากจำนวนดังกล่าวกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังอินเดียมูลค่า 65 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และนำเข้าสินค้ามูลค่าราว 207 ล้านดอลลาร์ จากอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 โดยกัมพูชาและอินเดียกำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเจรจา FTA และข้อตกลงดังกล่าวจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752363/cambodia-india-trade-on-the-rise/

กัมพูชาคาดภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศอาจจะใช้เวลาฟื้นตัวถึง 7 ปี

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาคาดการณ์ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดต่อภาคการท่องเที่ยว อาจใช้เวลาถึง 7 ปี ในการกลับสู่สภาวะปกติเนื่องจากผลกระทบของไวรัส COVID-19 โดยกระทรวงกล่าวว่าวิกฤตในครั้งนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาของโลกในทุกด้านโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในบริบทของการระบาดของโรคภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาในปี 2020 โดยคาดการณ์ไว้สามสถานการณ์ คือสถานการณ์แรกจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากร้อยละ 50 ถึง 60 ซึ่งคาดว่าจะให้การต้อนรับรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศประมาณ 2.5 ล้านคน ในสถานการณ์ที่สองลดลงร้อยละ 60 ถึง 70 หรือประมาณ 2 ล้านคน ในสถานการณ์ที่สามคาดว่าจะลดลงร้อยละ 70 ถึง 90 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 1.5 ล้านคน ด้วยสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของ COVID-19 กัมพูชามีแนวโน้มที่จะประสบกับสถานการณ์ที่สาม ซึ่งจะใช้เวลาถึง 7 ปีในการกลับสู่สภาวะปกติตามที่กระทรวงระบุ โดยสถานการณ์ที่ดีที่สุดจะใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752225/tourism-may-take-7-years-to-recover/

กัมพูชามองหาวิธีการลดต้นทุนอาหารสัตว์ที่ผลิตในท้องถิ่น

รัฐบาลกำลังมองหาข้อมูลจากภาคเอกชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการผลิตอาหารสัตว์ในท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจะช่วยให้อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าไฟยังคงสูงสำหรับภูมิภาคตามที่กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) รายงาน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MAFF และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจัดประชุมโต๊ะกลมเรื่องการผลิตอาหารสัตว์สำหรับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น โดยมีส่วนร่วมจากสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมทั้งภาคเอกชน ซึ่งกระทรวงหารือถึงความท้าทายที่เกษตรกรเผชิญในห่วงโซ่ปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้การผลิตมีความสามารถในการแข่งขันต่อประเทศเพื่อนบ้านสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น โดยในปัจจุบันกัมพูชานำเข้าอาหารสัตว์เกือบร้อยละ 50 เนื่องจากราคาวัตถุดิบในท้องถิ่นเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50751913/methods-to-cut-costs-of-locally-produced-animal-feed-discussed/

จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนยังกัมพูชาลดลงอย่างน่าตกใจ

ในช่วงหกเดือนแรกของปีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามากัมพูชาลดลงประมาณร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว โดยรายงานระบุว่าในเดือนมิถุนายนเพียงเดือนเดียวจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงถึงร้อยละ 97.3 ซึ่งกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศประมาณ 1.183 ล้านคน ลดลงร้อยละ 64.6 เมื่อเทียบกับช่วงหกเดือนแรกของปีที่แล้ว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนลดลงร้อยละ 78.7 (275,673 คน) เวียดนามลดลงร้อยละ 55 (161,084 คน) สหรัฐลดลงร้อยละ 60 สาธารณรัฐเกาหลีลดลงร้อยละ 62 สหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 50 เป็นต้น ขณะนี้กระทรวงการท่องเที่ยวกำลังดำเนินการเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่เสียหายโดยเตรียมแผน “Travel bubble” ไว้รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/751716/visitor-numbers-to-kingdom-collapse/