PESTECH (กัมพูชา) เริ่มเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก

PESTECH (กัมพูชา) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทย่อยของ PESTECH International Bhd. ซึ่งตั้งอยู่ในมาเลเซียได้ทำการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยบริษัทได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ซึ่งการทำ IPO มีเป็นจำนวนทั้งสิ้นอยู่ที่ 3,945,000 หุ้น ในราคาเสนอซื้อที่ 0.76 ดอลลาร์ (3,120 riels) ต่อหุ้น โดยจากการเสนอขายหุ้นทั้งหมดมีมูลค่าคิดเป็นประมาณ 3 ล้านดอลลาร์ (12.308 ล้านเรียล) ซึ่งบริษัทดำเนินกิจการด้านการออกแบบ วิศวกรรม การผลิต การติดตั้ง การทดสอบระบบไฟฟ้าแรงสูง (HV) ไปจนถึงระบบไฟฟ้าแรงสูงพิเศษ (EHV) โดยครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ซึ่ง PESTECH (Cambodia) ถือเป็นบริษัทจดทะเบียนลำดับที่ 13 ในกัมพูชา ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน โดยจะมีการสร้างสายส่งระยะทาง 1,700 กิโลเมตรในกัมพูชาในอีกห้าถึงหกปีข้างหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749136/pestech-cambodia-starts-ipo-roadshow/

กัมพูชาผลักดันการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศ

Century 21 Zillion Holding บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในกัมพูชา ซึ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกา ได้ผลักดันการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาด้วยการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยจังหวัดพระสีหนุได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดแรกในการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างงานและโอกาสด้านการลงทุนสำหรับตลาดที่ดินทั่วประเทศกัมพูชา ซึ่งประธานสมาคมผู้ประเมินราคาและนายหน้าของกัมพูชา (CVEA) กล่าวว่าสีหนุวิลล์ถือเป็นเสาหลักเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากพนมเปญ โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาตลาดอสังหาริมทรัพย์มีการเติบโตอย่างมาก แต่จากรายงานของ CBRE แสดงให้เห็นว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ได้รับผลกระทบอย่างมากเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 โดยกัมพูชายังเห็นการลดลงของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภาคอสังหาริมทรัพย์ร่วมด้วย ตามรายงานของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ซึ่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติไหลเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ลดลงร้อยละ 24

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749319/push-to-develop-property-sector/

กัมพูชาศึกษาความเป็นไปได้ในโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรม

การศึกษาความเป็นไปได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอุตสาหกรรมในจังหวัดเสียมเรียบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแปลงขยะเป็นพลังงานและรักษาความสะอาดในเขตเมือง ซึ่งโรงงานมีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 12 เมกะวัตต์ ถูกเสนอโดยบริษัท MIZUDA ของจีน โดยใช้ขยะอย่างน้อย 210,000 ตันต่อปี เพื่อผลิตพลังงานประมาณ 750,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ถูกนำเสนอในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม โดยคณะผู้แทน MIZUDA ซึ่งบริษัทได้สรุปการสำรวจเมื่อปลายปี 2019 แสดงให้เห็นว่าจังหวัดเสียมเรียบปัจจุบันมีขยะประมาณวันละ 480 ตัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 600 ตัน ในปี 2022 และ 1,000 ตันภายในปี 2035 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมราฐให้การต้อนรับโครงการโดยเน้นว่าจะมีส่วนช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมและจัดจัดสรรไฟฟ้าประมาณร้อยลละ 10 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในจังหวัด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747710/feasibility-study-on-waste-to-energy-plant-in-siem-reap-province-proposed/

กัมพูชาวางแผนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มเติมในสีหนุวิลล์ปีหน้า

การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก Phase 1 ในจังหวัดสีหนุวิลล์มีกำหนดเริ่มต้นในปี 2021 และคาดว่าจะใช้เวลาสามปีในการก่อสร้างจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยรองผู้อำนวยการท่าเรืออัตโนมัติสีหนุวิลล์กล่าวว่าการออกแบบรายละเอียดของโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกบริษัทเพื่อทำการก่อสร้าง ซึ่งท่าเรือน้ำลึกที่กำลังจะก่อสร้างนี้มีความยาว 350 เมตร มีความลึกอยู่ที่ 14.50 เมตร โดยสามารถรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 13 เมตร และเรือขนาดกลางที่มีความจุ 5,000 TEU ได้ ซึ่งใช้เงินทุนจากการกู้ยืมเงินทางญี่ปุ่นประมาณ 209 ล้านดอลลาร์ ในเฟสแรกของท่าเรือน้ำลึกในการสร้างขึ้นด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747703/deep-water-port-terminal-construction-at-sihanoukville-to-begin-next-year/

ขณะที่กัมพูชากำลังพัฒนาสนามบินแห่งใหม่ปริมาณผู้โดยสารทางเครื่องบินกลับลดลงร้อยละ 67

สนามบินนานาชาติ 3 แห่งของกัมพูชาที่ทำการเปิดให้บริการ ได้ให้การต้อนรับผู้โดยสารจำนวน 1.9 ล้านคน ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 67.5 จาก 6 ล้านคนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จากรายงานสนามบินนานาชาติเสียมเรียบและสนามบินนานาชาติสีหนุวิลล์มีปริมาณผู้โดยสารลดลงถึงร้อยละ 72.3 และ 75.1 คิดเป็นจำนวน 617,905 และ 188,502 คนตามลำดับ โดยการขนส่งสินค้าทางอากาศก็ลดลงเช่นเดียวกันมาอยู่ที่ร้อยละ 29.5 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วสนามบินกัมพูชาได้ให้บริการผู้โดยสารจำนวน 11.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับปี 2018

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747225/passenger-traffic-slides-down-67-percent-while-development-of-new-airports-boom/

การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในกัมพูชา

ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตพื้นฐานในกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้สู่ 249,132 คน เนื่องจากความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งข้อมูลเผยแพร่โดย Telecommunication Regulator of Cambodia (TCR) ซึ่งโฆษกของ TRC กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของสมาชิกอินเทอร์เน็ตในรูปแบบคงที่ สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ จากความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตในหลาย ๆ ด้าน เช่นการทำงานและการศึกษาผ่านทางไกล ที่มีส่วนช่วยให้การใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือจำนวน 14.8 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของประชากรกัมพูชา และมีผู้ใช้ซิมการ์ดที่ลงทะเบียนทั้งหมดจำนวน 20.4 ล้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 124 ของประชากร (รวมการลงทะเบียนซิมการ์ดจากนักท่องเที่ยว) ซึ่งในเดือนพฤษภาคมจากรายงานแสดงให้เห็นว่ากัมพูชามีผู้ใช้ Facebook ประมาณ 10.9 ล้านคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50747218/fixed-internet-users-on-the-rise/

กัมพูชาส่งออกกล้วยกว่า 1.4 แสนตัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020

กัมพูชาส่งออกกล้วยสดกว่า 140,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยจีนเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกกล้วยของกัมพูชา ซึ่งตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนปีนี้มีรายได้ประมาณ 68 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกกล้วยสดไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัท 9 แห่ง ได้รับการรับรองให้มีสิทธิ์ส่งออกกล้วยไปยังตลาดจีนได้ โดยนอกจากจีนแล้วยังมีการส่งกล้วยสดไปยังสหภาพยุโรป เอเชียและโอเชียเนียอีกด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเคารพมาตรฐานด้านสุขอนามัยเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเพื่อรักษาระดับการเติบโตของการส่งออกกล้วยให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกกล้วยสดจำนวน 150,000 ตัน ไปยังต่างประเทศมีรายได้รวมจากการส่งออกอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746833/cambodia-exports-140000-tons-of-banana-and-earns-68-million-in-first-half-of-the-year/

กัมพูชาสำรวจความเป็นอยู่ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมผลิตเครื่องนุ่งห่ม

กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีพ (MLVT) กำลังทำการสำรวจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานต่อผลกระทบของ COVID-19 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ตามประกาศของ MLVT โดยได้แจ้งเจ้าของหรือผู้อำนวยการของสถานประกอบการ / สถานประกอบการและคนงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะทำการสุ่มตัวอย่างข้อมูลพนักงานในเขตจังหวัดพนมเปญ โดยมีจุดประสงค์ของการสำรวจเพื่อจัดสรรมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อไป ซึ่งจากข้อมูลในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา อ้างอิงจากตัวเลขของ MLVT พบว่ามีโรงงานมากกว่า 410 แห่งที่ถูกระงับส่งผลกระทบต่อคนงานแล้วกว่า 240,000 คน เนื่องจากผู้ซื้อจากต่างประเทศยังไม่ได้วางคำสั่งซื้อใหม่และสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ดีสำหรับภาคการตัดเย็บเสื้อผ้า รวมถึงการที่กัมพูชาเสียสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) จากสหภาพยุโรปร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746694/survey-on-garment-workers-lives/

กัมพูชาอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า

กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเผื่อการส่งออกในปริมาณมาก ซึ่งอาจได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าภายในประเทศเผื่อการส่งออก โดยจากรายงานล่าสุดของฟิทช์โซลูชั่นส์ กล่าวว่ากัมพูชา เวียดนามและเมียนมา เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม จากการเป็นซัพพลายเออร์ที่ทำการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศทั่วโลก โดยกัมพูชาคิดเป็นร้อยละ 1.4 ของตลาดในปี 2019 ภาคการผลิตเครื่องนุ่งห่มเติบโตขึ้นต่อปีที่ร้อยละ 13 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากส่วนใหญ่มาจากต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างต่ำและนโยบายการลงทุนที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ซึ่งการส่งออกเครื่องแต่งกายของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปีที่แล้ว เพิ่มส่วนแบ่งทั่วโลกสู่ร้อยละ 8.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.8 ในปี 2018

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746403/cambodia-may-gain-from-shifts-in-apparel-manufacturing-says-fitch-solutions/

บริษัทจากเวียดนามลงทุนในกัมพูชาประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์

ผู้ประกอบการเวียดนามลงทุนประมาณ 2.7 พันล้านดอลลาร์ ในกัมพูชา ซึ่งเป็นอันดับสามรองจากลาว โดยได้รับเงินลงทุนมากที่สุดจากผู้ประกอบการเวียดนามที่มีทุนจดทะเบียนเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์ จาก 208 โครงการ ตามด้วยรัสเซียได้รับเงินลงทุนประมาณ 2.8 พันล้านดอลลาร์ ตามด้วยกัมพูชาและเวเนซุเอลาประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วนักธุรกิจเวียดนามมีการลงทุนราว 21 พันล้านดอลลาร์ในโครงการต่างประเทศมากกว่า 1,300 โครงการ โดยมีกำไรจากการโอนกลับมายังประเทศเวียดนามถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม ซึ่งในโครงการดังกล่าวมีโครงการที่สำคัญหลายโครงการ เช่นโครงการเครือข่ายโทรคมนาคมของ Viettel ในกัมพูชามูลค่า 22.1 ล้านดอลลาร์ โดย Metfone ของ Viettel มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 50 ครอบคลุมเครือข่ายกว่าร้อยละ 99 และมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านรายซึ่งอยู่ใน 3 อันดับแรกของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50746400/vietnamese-enterprises-invest-approximately-2-7-billion-in-cambodia/