INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.07%

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office) เปิดเผยว่าในเดือน สิ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากมีฝนตกหนักทั่วประเทศและการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวในประเทศ รวมถึงราคาของธุรกิจในกลุ่มการศึกษายังขยับเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-increases-by-007-percent/182140.vnp

เวียดนามเผยการลงทุนสาธารณะสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม และในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 และ 30.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ซึ่งมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แตะ 47.7 ล้านล้านด่อง (หรือ 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนสิงหาคม และตั้งแต่เดือน ม.ค.-สิ.ค. มูลค่าอยู่ที่ 250.5 ล้านล้านด่อง ทั้งนี้ กระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าในวันที่ 20 สิ.ค. เวียดนามดึงดูดการลงทุน FDI อยู่ที่ 19.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จำแนกออกเป็นโครงการ FDI ที่จดทะเบียนใหม่ 1,797 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 9.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 ในแง่จำนวนโครงการ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ในแง่มูลค่าเงินทุน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันโครงการในปัจจุบันมีอยู่ 718 โครงการ ที่มีการปรับเพิ่มเงินทุนมากกว่า 4.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/public-investment-hits-fiveyear-high/182129.vnp

ดัชนี CPI เวียดนาม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนสิ.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากผลกระทบของการเกิดฝนตกหนักทั่วประเทศและราคาข้าวข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาของธุรกิจในกลุ่มการศึกษายังขยับเพิ่มขึ้น ขณะที่ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก่อน สูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าและบริการ 11 หมวดในจำนวนกลุ่มสินค้าหลัก 7 หมวดมีการปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารและบริการจัดเลี้ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.11, เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.05%), ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.1%), บริการด้านสุขภาพและยา (0.02%), ค่าขนส่ง (0.1%), การศึกษา (0.18%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.2%) นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.08 อยู่ในระดับ 23,288 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐในตลาดเสรี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-cpi-index-goes-up-slightly-in-august-417977.vov

เวียดนามเผยนำเข้าหมูพุ่ง ส่งผลให้ราคาหมูในประเทศลดลง

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าการพัฒนาสายพันธุ์สุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและปริมาณการนำเข้าเนื้อสุกรแช่แข็งและสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตในประเทศลดลง โดยทางกระทรวงฯ คาดว่าผลผลิตเนื้อสุกรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3 ไปถึงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรในประเทศมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรมากกว่า 93,248 ตัน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากแคนาดา เยอรมัน โปแลนด์ บราซิล สหรัฐฯ สเปนและรัสเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 223 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 กระทรวงฯ ได้อนุมัติให้นำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทยไปเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. นอกจากนี้ นาย Phung Duc Tien รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่าปัจจุบัน ต้นทุนสุกรมีชีวิตอยู่ที่ 71,000 ด่องต่อกิโลกรัม ในขณะที่ กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19, ไข้หวัดหมูแอฟริกันและผสมพันธุ์สุกร เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตสุกรมีเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศจนสิ้นไตรมาสที่ 3

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pig-imports-push-domestic-pork-prices-down/182103.vnp

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรก

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 26.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่ากว่า 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน (24.13% ของยอดส่งออกรวม) รองลงมาจีน (-10.1%YoY) สหภาพยุโรป (-2.2%YoY) ขณะที่ อาเซียนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.4 และ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ กลุ่มสินค้าส่งออกหลายอย่างลดลง แต่ยอดส่งออกข้าวยังคงเพิ่มขึ้น (10.4%, 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามมาด้วยผัก (12.8%), มันสำปะหลัง (95%), กุ้ง (11.4%) และไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (9.6%) เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้เข้ามาประสานงานกับกระทรวงอื่นๆ, หน่วยงานท้องถิ่นและธุรกิจ เพื่อขจัดอุปสรรคและส่งเสริมการส่งออก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด—19 รวมถึงอัพเดทกฎระเบียบใหม่ๆ และส่งเสริมการทำตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agroforestryfisheries-exports-reach-over-26-billion-usd-in-first-eight-months/181984.vnp

เวียดนามเผย 8 เดือนแรกของปี 2563 ดึงดูดเม็ดเงิน FDI 19.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่า ณ เดือนสิงหาคม เวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) 19.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับโครงการที่ได้รับการอนุญาตใหม่นั้น มีจำนวน 1,797 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 9.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.3 ในแง่ของโครงการ แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากโครงการบากเลียว (ก๊าซธรรมชาติ) ในขณะเดียวกัน โครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน 718 โครงการ มีการปรับเพิ่มเงินลงทุนมากกว่า 4.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงดึงดูดเม็ดเงิน FDI สูงสุด ที่ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (47.7% ของยอดลงทุนทั้งหมด) รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า, อสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีกค้าส่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยมูลค่า 6.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (33.5% ของยอดลงทุนทั้งหมด) รองลงมาเกาหลีใต้ จีน, ญี่ปุ่น, ไทยและไต้หวัน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/eightmonth-fdi-attraction-hits-1954-billion-usd/181983.vnp

ดัชนี CPI เวียดนาม อาจอยู่ภายใต้การควบคุม ปี 2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เชื่อว่าสามารถควบคุมดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในปี 2563 ให้ต่ำอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 โดยการชยายตัวของ CPI นั้นอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัว ถึงแม้ว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ ราคาสินค้าสำคัญ อาทิ อาหาร ผลไม้และผัก โดยเฉพาะเนื้อหมู ล้วนแต่ส่งผลให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตลาดโลก ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจและการเงิน ระบุว่าความต้องการเชื้อเพลิงจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตข้างหน้า ราคาน้ำมันดิบคาดว่าอยู่ในระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและไม่น่าผลักดันดันชี CPI สูงขึ้นในทันที นอกจากนี้ รัฐบาลขอให้กระทรวงการคลังและธนาคารกลางเวียดนาม ดำเนินใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเร่งการเบิกจ่ายสำหรับการลงทุนสาธารณะ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-cpi-may-be-kept-under-control-in-2020-23851.html

เวียดนามมีอัตราการเติบโตของ SMEs สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการสำรวจของกลุ่มธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (UOB) จากสิงคโปร์ และ ‘Accenture’ บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินอย่างมืออาชีพจากไอริช รวมถึง ‘Dun & Bradstreet’ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าผู้ประกอบการ SMEs ในเวียดนาม ส่วนใหญ่ร้อยละ 63 ตั้งเป้าที่จะลงทุนในเทคโนโลยี ตามมาด้วยร้อยละ 37 ลงทุนในเครื่องจักรและโรงงาน และร้อยละ 49 ส่งเสริมทักษะของพนักงาน อีกทั้ง ธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 46 เลื่อนแผนงานออกไป เหตุโควิด-19 ในขณะที่ ร้อยละ 2 ไม่มีแผนการดำเนินงาน ตามการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ รายได้ของผู้ประกอบการชาวเวียดนาม SMEs มองว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 90 คาดว่าในปี 2563 รายได้หดตัวลง เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่ ด้านมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่านักธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 68 มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของภาครัฐฯ เวียดนาม มากที่สุด รองลงมาไทย (47%) และ อินโดนีเซีย (45%) ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-possesses-the-highest-rate-of-smes-in-southeast-asia-23798.html

บริษัทเหล็กเวียดนาม “Hoa Phat Steel Sheet” ได้เปรียบการส่งออกจาก FTA

ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA), ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวทั้งหมด ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบต่อบริษัทในแง่ภาษีศุลกากรจากยุโรป อาเซียน จีนและกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้ร่วมลงนามสัญญาหลายฉบับ เพื่อส่งออกสินค้าไปยังตลาดเอเชีย ยุโรปและเม็กซิโก เป็นต้น ด้วยจำนวนแผ่นเหล็ก 10,000 ตันไปยังไทย ทั้งนี้ โรงงาน Dung Quat ของหวาฟัต ประสบความสำเร็จในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตของอิตาลี นอกจากนี้ สินค้าในปัจจุบันได้วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ยุโรป ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชาและประเทศอื่นๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hoa-phat-steel-sheet-enjoying-export-advantages-from-ftas-417781.vov

INFOGRAPHIC : เมืองญาจางติดท็อป 10 จุดหมายของการดำน้ำในปี 2563

Forbes นิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินในสหรัฐอเมริกา จัดอันดับเกาะมุน (Hon Mun) จังหวัดคั้ญฮหว่า เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทาง 10 แห่ง ที่ต้องดำน้ำ (Must-Dive) ในปี 2563

ที่มา : https://m-english.vov.vn/travel/nha-trang-among-top-10-destinations-for-diving-in-2020-410466.vov