เวียดนามมีแรงกดดันต่อการควบคุมเงินเฟ้อ ในปี 2563

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าในปีนี้ การควบคุมเงินเฟ่อและราคาสินค้าจะมีความซับซ้อนและลำบากมากยิ่งขึ้น ด้วยราคาเนื้อหมูที่มีความผันผวนจากปีที่แล้วและกระทบต่อตลาดสินค้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาเนื้อหมูลดลงอยู่ที่ 46,000-50,000 ด่องต่อกิโลกรัม ไปสู่ในระดับที่ต่ำสุดอยู่ที่ 28,000-32,000 ต่อกิโลกรัมในช่วง 6 เดือนแรกของปีที่แล้ว หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ราคาเนื้อหมูก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อ ซึ่งในเดือนตุลาคม ราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 60-95 เมื่อเทียบกับต้นปีที่แล้ว และในปัจจุบันราคาเนื้อหมูสูงขึ้นมาก อยู่ที่ 160,000-180,000 ต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ จากคำแถลงการณ์ของผู้อำนวยการศูนย์สถาบันเศรษฐกิจศาสตร์-การเงิน เปิดเผยว่าสถานการณ์การพุ่งสูงขึ้นของราคาเนื้อหมูมากกว่าร้อยละ 50 ในไตรมาสที่ 4/62 และควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ก็ยังแสดงให้เห็นว่ามีความไม่แน่นอน เมื่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนธ.ค. ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.23 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากสมมติปัจจัยอื่นๆที่มีผลกระทบต่อภาะเงินเฟ้อไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.5 ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571018/a-lot-of-pressure-for-inflation-control-in-2020.html

จำนวนธุรกิจครัวเรือนหันมาเป็นบริษัท ยังคงอยู่ในระดับต่ำ

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำเมือง เปิดเผยว่าจำนวนผู้ประกอบการครัวเรือนหันมาเปลี่ยนสถานะธุรกิจเป็น “บริษัท” ลดลง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนธุรกิจอยู่ที่ 3,675, 3,380 และ 1,621 ในปี 2560, 2561 และ 8 เดือนแรกของปี 2562 ตามลำดับ ทั้งนี้ ทางประธานชมรมตัวแทนจัดเก็บภาษีเมือง ระบุว่าแม้จะมีความพยายามในการส่งเสริมของรัฐบาล แต่จำนวนผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ (Startup) และธุรกิจครัวเรือนหันมาเปลี่ยนเป็นบริษัทยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก นอกจากนี้ ธุรกิจครัวเรือนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและเจ้าของธุรกิจมีความสับสนในเรื่องของการทำบัญชีและภาษีที่ซับซ้อน รวมไปถึงไม่เข้าใจนโยบายภาษีอย่างถ่องแท้อีกด้วย และอีกหนึ่งอุปสรรคที่ไม่ให้ธุรกิจครัวเรือนหันมาเป็นบริษัทได้ คือ ภาระการผูกพันตามกฎหมายและต้นทุนทางอ้อมที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ รองประธานคณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กรมสรรพกรของเมืองไปให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ ในเรื่องของนโยบายภาษีใหม่ และเร่งขอให้สมาคมธุรกิจในโฮจิมินห์ให้ทำงานร่วมกับชมรมตัวแทนจัดเก็บภาษีเมือง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายภาษี

18 ล้านคน นับว่าเป็นตัวเลขทางสถิติส

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571022/number-of-business-households-turning-into-companies-remains-low.html

กัมพูชาและเวียดนามพยายามส่งเสริมการค้าผ่านชายแดนระหว่างกัน

ขณะนี้กัมพูชาและเวียดนามเริ่มดำเนินการร่วมกันเกี่ยวกับจุดตรวจชายแดนเพื่อส่งเสริมการการค้าการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะขออนุญาตจากรัฐบาลของพวกเขาในการร่างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับประตูชายแดนที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งมองว่าทั้งสองประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาด่านหรือประตูชายแดนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้นเพื่อจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าบริการและการลงทุนระหว่างจังหวัดชายแดนกัมพูชาเวียดนาม โดยในที่ประชุมเห็นชอบที่จะหาทางพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาที่แท้จริงในแต่ละท้องที่รวมทั้งสอดคล้องกับกฎหมายและแผนพัฒนาของแต่ละประเทศ ซึ่งปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีที่แล้วมีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลทั้งสองตั้งเป้าไว้ในปี 2563 ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมตามแนวชายแดนเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50679157/cambodia-vietnam-seek-to-promote-border-trade

ตลาดค้าปลีกฮานอยในไตรมาสที่ 4/2562 : ศูนย์การค้าแห่งใหม่

จากรายงานของโจนส์ แลง ลาซาลล์ หรือเจแอลแอล (JLL) เปิดเผยว่าตลาดค้าปลีกในกรุงฮานอย ช่วงไตรมาสที่ 4/2562  มีการเปิดศูนย์การค้าแห่งใหม่ ภายใต้ชื่อ “อิออน” (AEON) ด้วยพื้นที่ประมาณ 74,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นศูนย์การค้าอยู่ในอันดับที่ 5 ของแบรนด์เวียดนาม ด้วยแรงกระตุ้นของแบรนด์และโครงการใหม่ จะช่วยให้อิออนมอลล์สามารถดึงดูดลูกค้าได้อย่างประทับใจ ตั้งแต่ช่วงเปิดตัวในปลายเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ มีอัตราการให้เช่าเพิ่มสูงขึ้นและแตะในระดับร้อยละ 91 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ขณะที่ค่าเช่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงระหว่างไตรมาส ซึ่งมีค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 29.3 ดอลลาร์สหรัฐ/ตร.ม./เดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยศูนย์การค้าดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในนอกเขตเมือง แต่ก็ยังสามารถควบคุมราคาที่ใกล้เคียงกับตลาดทั่วไปได้ แสดงให้เห็นว่าอิออนมอลล์เป็นเครือข่ายศูนย์กลางของลูกค้าและผู้ให้เช่า

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-retail-market-in-q42019-new-shopping-center-enters-market-408727.vov

ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามเพิ่มขึ้น 12%yoy ในปี 2562

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่าในปี 2562 ตลาดรถยนต์ของเวียดนามเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง มียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 322,322 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในเดือนธันวาคม มียอดขายรถยนต์อยู่ที่ 33,159 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วและลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หากจำแนกประเภทรถยนต์ พบว่ายอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (PC) อยู่ที่ 24,823 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว สำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (CV) มียอดขายอยู่ที่ 959 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และรถยนต์ที่ใช้งานเฉพาะด้าน (SPV) อยู่ที่ 377 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ทั้งนี้ ทางสมาคมฯ มองว่าในปี 2562 สถานการณ์ตลาดรถยนต์เวียดนามอยู่ในช่วงยากลำบาก แต่ก็ยังอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกของผู้ผลิตรถยนต์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/car-sales-in-vietnam-up-12-yy-in-2019-408725.vov

ปูนซีเมนต์ ปูนเม็ด สร้างสถิติยอดการส่งออกสูงสุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

ในปี 2562 เวียดนามส่งออกปูนซีเมนต์และปูนเม็ดประมาณ 34 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของเวียดนามสร้างสถิติเป็นผู้ส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ตัวเลขส่งออกซีเมนต์สูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่สอง สำหรับการจำหน่ายปูนซีเมนต์และปูนเม็ดอยู่ที่ 98-99 ล้านตันและการบริโภคในประเทศอยู่ที่ 67 ล้านตัน นอกจากนี้ สมาคมปูนซีเมนต์เวียดนามคาดว่าความต้องการปูนซีเมนต์จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4-5 ในปี 2563 ด้วยปริมาณราว 101-103 ล้านตัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cement-clinker-exports-set-record-for-second-consecutive-year/167085.vnp

เม็ดเงิน FDI ไหลเข้าไปยังโครงการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามอย่างมาก

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวนมากไหลเข้าไปในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม โดยประเทศที่มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอมากที่สุดของเวียดนาม คือ ฮ่องกง (447 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาสิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้และสาธารณรัฐเซเชลส์ ตามลำดับ นอกจากกลุ่มประเทศข้างต้นแล้ว อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามมีเงินทุนจดทะเบียนรวมราว 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่มาจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งเม็ดเงินทุน FDI ได้ไหลเข้ามาในโครงการวัสดุต่างๆ ได้แก่ โครงการสิ่งทอ,ย้อมผ้า,ตัดเย็บเสื้อผ้า,เส้นใยและผลิตเส้นใย เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/strong-fdi-inflows-poured-into-textile-and-fiber-projects-408588.vov

จังหวัดคั้นห์หว่า ตั้งเป้ามีจำนวนผู้ประกอบการเอกชนกว่า 30,000 ราย ในปี 2568

เจ้าหน้าที่ในเขตจังหวัดคั้นห์หว่า (Khanh Hoa) วางแผนปรับปรุงคุณภาพและการดำเนินงานของธุรกิจในภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นที่จะเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการราว 30,000 และ 35,000 ราย ในปี 2568 และ 2573 ตามลำดับ ซึ่งทางคณะกรรมประชาชนของจังหวัด ได้ดำเนินการแผนพัฒนาสร้างความยั่งยืนของธุรกิจเอกชนภายใต้การลงนามของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังตั้งเป้างบประมาณรายรับรวมที่เก็บจากภาคเอกชน อยู่ในระดับร้อยละ 39 ในปี 2568 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น คณะกรรมการจึงกำหนดแนวทางและเป้าหมายมา 6 ด้านสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้ธุรกิจเอกชนให้นำวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดโอกาสทางธุรกิจ นอกจากนี้ จำนวนผู้ประกอบการที่จดทะเบียนใหม่ในปีที่แล้ว มีอยู่ประมาณ 1,900 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 757.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.12 และ 8.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ประกอบกับผู้ประกอบการกว่า 447 ราย กลับมาดำเนินธุรกิจต่อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570809/khanh-hoa-aims-to-have-30000-private-businesses-by-2025.html

GDP ของเวียดนามชะลอตัวเล็กน้อยในปี 2563

จากการคาดการณ์ของ Fitch Solutions ระบุว่าการเติบโตของ GDP เวียดนามจะแตะอยู่ในระดับร้อยละ 6.8 จากร้อยละ 7.02 ในปี 2562 เนื่องมาจากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นคอขวด ทำให้การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.5 ของเศรษฐกิจเวียดนาม ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย. 62 การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม มีการชะลอตัวลงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2560 ส่วนภาคเกษตรกรรมได้รับแรงกดดันอย่างมาก เนื่องมาจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ในบริเวณแม่น้ำโขง สปป.ลาว และผลกระทบของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกา อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาคการก่อสร้างและการบริการจะสามารถพยุงการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจได้บางส่วน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าการขยายตัวของภาคบริการได้รับแรงสนับสนุนจาก 4 ด้าน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานที่แท้จริง นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเยือนอย่างต่อเนื่อง การเข้ามาของบริษัทต่างชาติที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาษีจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคการเงินที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/570811/viet-nams-gdp-to-ease-slightly-in-2020.html

ราคาทองคำเวียดนาม พุ่งสูงขึ้นสูงที่สุดในรอบ 6 ปี

ในวันที่ 6 มกราคม 2563 ราคาทองคำเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 6 ปี เป็นผลจากสถานการณ์ตึงเครียดทางทหารระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านที่เพิ่มสูงขึ้น โดยบริษัท DOJI เป็นผู้ผลิตเครื่องประดับรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ราคาทองคำแตะที่ระดับ 44.44 ล้านด่อง (1,924 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง (1.2 ออนซ์) เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.78 เมื่อเทียบกับวันศุกร์ โดยนับว่าเป็นครั้งแรกที่ราคาทองคำเวียดนามปรับตัวแตะระดับที่ 1,922 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ราคาทองคำทั่วโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 1,579 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.8 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมาจากสถานการณ์ที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สั่งให้มีการสังหารนายพลอิหร่าน รวมไปถึงความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-gold-price-hits-6year-high-408485.vov