รัฐบาลกัมพูชาส่งตัวแทนหารือสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ

ตัวแทนจากทางฝั่งรัฐบาลกัมพูชาและสหภาพยุโรป เข้าร่วมหารือระหว่างกันเกี่ยวกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชา รวมถึงหารือเกี่ยวกับนโยบายการค้าใหม่ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจกัมพูชากลับมาฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้กรอบการทำงานขององค์การการค้าโลก (WTO) โดยมุ่งเน้นที่การปฏิรูปและกลไกการระงับข้อพิพาทของ WTO ใหม่ ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์จะเป็นตัวแทนของกัมพูชาในการร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 โดยจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ที่มีประเด็นสำคัญหลายประการรวมถึงการให้สัตยาบันข้อตกลงเงินอุดหนุนการประมงฉบับใหม่ และการเจรจาการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50896690/officials-meet-with-their-eu-counterparts-to-talk-recovery/

กัมพูชาส่งออกแตะระดับ 8 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.

กัมพูชาส่งออกรวมมูลค่า 8.201 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าการเดินทาง มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.721 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มรวมอยู่ที่ 1.899 พันล้านดอลลาร์ อาทิเช่น จักรยาน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และวัสดุอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ขยายตัวร้อยละ 50 และการส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.580 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50896757/cambodian-exports-reach-8-billion-jan-june/

ส่งออกประมงเมียนมาลดฮวบ 606 ล้านดอลลาร์ฯ

กระทรวงพาณิชย์ เผย รายได้จากการส่งออกภาคประมงในช่วงเก้าเดือน (1 ตุลาคม-9 กรกฎาคม) ของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงเหลือ 606 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 719 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีที่แล้ว เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และอุปสรรคในการขนส่ง จีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของเมียนมาร์ คิดเป็นมูลค่า 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐ แต่ปัจจุบันได้พื้นที่ชายแดน ทั้งนี้ภาคประมงต้องพึ่งพาการค้าทางทะเลเท่านั้น สมาพันธ์ประมงแห่งเมียนมา (MFF ) ระบุว่ามีเพียงข้อตกลง G2G เท่านั้นที่สามารถแก้ไขปัญหาในการส่งออกได้ ในช่วงปีงบประมาณ 62-63  MFF คาดว่าจะมีรายได้มากกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเป้าหมายการส่งออกสินค้า เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป ปัจจุบันเศรษฐกิจยังต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยภาคประมงมีส่วนสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หากสามารถส่งเสริมเทคโนโลยีการแปรรูปได้ ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศและสร้างรายได้ให้กับผู้มีที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-plummet-to-606-mln-as-of-9-july/

กัมพูชาส่งออกสินค้านอกเหนือเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50

กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มมูลค่ารวมเกือบ 1.9 พันล้านดอลลาร์ ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021 หรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ จักรยาน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ หลอดไฟ ไม้อัด และอื่นๆ โดยการเติบโตของการส่งออกในสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีจากนโยบายรัฐฯ ที่เน้นการกระจายความเสี่ยงในการส่งออกไปยังอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.72 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด กล้วยสด มะม่วง ฯลฯ เพิ่มขึ้นอีกมากกว่าร้อยละ 64 คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.58 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50894726/export-of-non-garment-products-rises-by-50-to-1-9-billion/

กรมศุลกากรกัมพูชารายงานการจัดเก็บภาษีในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021

กรมศุลกากรและสรรพสามิตทั่วไป (GDCE) ของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กล่าวถึงรายรับจากการจัดเก็บภาษีรวมอยู่ที่ 4,695 พันล้านเรียล หรือเกือบ 1.16 พันล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี 2021 ลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายรับนี้คิดเป็นร้อยละ 49 ของเป้าหมายที่ทางการกัมพูชาได้ระบุไว้ในกฎหมายปีงบประมาณ ค.ศ. 2021 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงรายรับจากการนำเข้ายานพาหนะและเครื่องจักรคิดเป็นร้อยละ 42.3, ปิโตรเลียมร้อยละ 23.5, ในขณะที่วัสดุก่อสร้างร้อยละ 6.2 และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ร้อยละ 28 โดยภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร ถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศกัมพูชา อาทิเช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการอำนวยความสะดวกให้กับประชนชนภายในประเทศเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50894733/cambodian-customs-collect-almost-1-16-billion-in-first-semester/

วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กว่า 1 ล้านโดส เดินทางถึงสปป.ลาวแล้ว

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มากกว่า 1 ล้านโดสที่รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาคให้ มาถึงสปป.ลาวแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา วัคซีนได้รับการบริจาคผ่าน COVAX Facility ซึ่งเป็นความร่วมมือที่นำโดย Coalition for Epidemic Preparedness Innovations (CEPI), Gavi, the Vaccine Alliance และองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมียูนิเซฟเป็นพันธมิตรในการจัดส่งที่สำคัญ การบริจาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนของสหรัฐฯ ในการยุติการแพร่ระบาดทั่วโลก และสนับสนุนเป้าหมายของสปป.ลาวในการฉีดวัคซีนให้ได้ 50% ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้วัคซีนที่ได้รับบริจาคจะฉีดให้กับประชาชนลาวทั้งหมด 1,030,461 คนในสปป.ลาวคิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_More_138.php

ค้าชายแดนของเมียนมาทะลุ 8.4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64

ณ วันที่ 9 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนของเมียนมาทะลุ 8.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคู่ค้าสำคัญได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย ไทย และจีน ซึ่งการค้าโดยรวมมีมูลค่ากว่า 23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่า 5.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 2.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยด่านชายแดนมูเซติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด คือ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือเมียวดีที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าจากฟาร์ม สัตว์ ทะเล ป่าไม้ เหมืองแร่ สินค้าCMP (Cutting Making และ Packaging) ส่วนการนำเข้าคือสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม สินค้าส่วนบุคคล และวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า CMP เป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-over-8-4-bln-in-first-ten-months-of-fy2020-21/#article-title

เวียดนามก้าวขึ้นเป็นซัพพลายเออร์กาแฟรายใหญ่อันดับที่ 5 ของออสเตรเลีย

ตามข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าเวียดนามกลายเป็นซัพพลายเออร์กาแฟรายใหญ่อันดับ 5 ในตลาดออสเตรเลีย พร้อมกับเวียดนามใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ทำให้กาแฟของเวียดนามขยายเข้าสู่ตลาดที่มีความต้องการมากขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ตามสถิติของศูนย์การค้าระหว่างประเทศ ชี้ว่าออสเตรเลียเพิ่มการนำเข้ามากขึ้นจากเวียดนาม ซึ่งในปี 2559-2563 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15.54% ในแง่ของปริมาณและ 14.7% ต่อปี ในแง่ของมูลค่า อีกทั้ง ในไตรมาสแรกของปีนี้ ออสเตรเลียนำเข้ากาแฟจากเวียดนาม ปริมาณกว่า 510 ล้านตัน ด้วยมูลค่า 965,000 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 9.9% ในแง่ของปริมาณ และ 6.9% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-becomes-fifth-largest-supplier-of-coffee-to-austria-874709.vov

‘กระทรวงการคลังเวียดนาม’ อัดฉีดเงิน 21.5 ล้านล้านดอง ใช้สู้โควิด-19

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2564 กระทรวงการคลัง ประกาศว่าเวียดนามใช้งบประมาณรวมกว่า 21.5 ล้านล้านดอง เพื่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 และจำนวนเงินดังกล่าว มีการใช้เงิน 8.4 ล้านล้านดอง เพื่อซื้อวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันมีการใช้เงิน 13.1 ล้านล้านดอง เพื่อบรรเทาและสนับสนุนทางการเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นไปตามมติของรัฐบาลฉบับที่ 42 และฉบับที่ 154 ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้เสนอให้รัฐบาลจัดสรรเงิน 1,237 ล้านล้านดองจากกองทุนสำรองของรัฐ ปี 2564 เพื่อที่จะให้กระทรวงฯ จัดซื้อวัคซีนและดำเนินการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ขอให้ส่วนราชการและหน่วยงานท้องถิ่น ลดค่าใช้จ่ายลง 50% และรายจ่ายประจำอย่างน้อย 10% เพื่อที่จะนำเงินไปต่อสู้กับการระบาดโควิด-19

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83203/finance-ministry-says-has-spent-vnd215-trillion-on-covid-19-fight.html

ปธ.หอค้า ชี้ 4 ประเด็นเสี่ยงจากขยายล็อกดาวน์ คาด ศก.เสียหาย 1.2 แสนล้าน ใน 30 วัน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เผยว่า จากประกาศควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพิ่มจาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ภาคเอกชน มีความเห็นว่า 1.ภาคเอกชน ต้องการความชัดเจนในการจัดการ ประกาศที่ออกมาควรมีรายละเอียดเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการมีการเตรียมความพร้อม 2.สำหรับที่มีการยกระดับเพิ่มใน 3 จังหวัด เห็นว่าเป็นจังหวัดที่มีภาคการผลิตสูงมาก ควรต้องมีมาตรการเชิงรุกในการตรวจ การคัดแยก และจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึง 3.จากการประเมินความเสียหายเบื้องต้นคาดว่าผลกระทบ 1 เดือน จะประมาณ 90,000-120,000 ล้านบาท 4. รัฐต้องเร่งกระจายวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่มีการระบาดหนักเป็นการด่วน

ที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2836170