ไตรศุลี กำชับตรุษจีนอย่าขายของแพง

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2564 ซึ่งตรงกับวันที่ 12 ก.พ.เผย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จึงได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้ดูแลควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าเอาเปรียบประชาชน ร้านค้าต้องปิดป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจน ซึ่งการไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้า ยังมีโทษตามกฎหมายด้วย ทั้งนี้ ประเมินว่า ประชาชนจะเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม โดยตรวจสอบทั้งราคาและการโฆษณาเกินจริง ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค รวมถึงป้องกันมิจฉาชีพ โฆษณาชวนเชื่อ หลอกลวงประชาชน จึงให้ประชาชน ได้ตรวจสอบข้อมูลก่อนเลือกซื้อสินค้า หากพบพฤติกรรมเข้าข่ายการกระทำความผิด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 1166 โดย ในวันตรุษจีน วันที่ 12 ก.พ.นี้ รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการกรณีพิเศษ ชิญชวนประชาชนจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยสามารถซื้อสินค้าและบริการผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐได้ เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการหมุดเวียนของเม็ดเงิน กระจายสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ด้วย.

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/823919

เอกชนหวั่นรัฐประหารเมียนมาดันแรงงานทะลักเข้าไทย

เอกชนหวั่นแรงงานเมียนมาทะลักเข้าไทย ซ้ำเติมโควิด-19 ยิ่งกระทบศก. ชี้อีกมุมการค้าไทยได้ประโยชน์ ตื่นรัฐประหาร แห่ตุนสินค้าไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากพลเอกอาวุโส มินห์ อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพ ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองประเทศเมียนมาว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินสถานการณ์ทางตรงต่อเศรษฐกิจไทย แต่ผลกระทบทางอ้อมที่น่าเป็นห่วง คือ แรงงานเมียนมา อาจไหลทะลักเข้ามาในไทย จะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดระลอกใหม่ต่อเนื่อง มีสาเหตุหลักมาจากแรงงานต่างด้าวในตลาดอาหารทะเลจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มงวดในการตรวจตราบริเวณชายแดน โดยเฉพาะบริเวณช่องทางธรรมชาติ 2,400 กิโลเมตร และต้องจัดการกับผู้เกี่ยวข้องลักลอบขนแรงงานผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด นายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้า จ.เชียงราย กล่าวว่า ได้ประเมินเบื้องต้นคาดว่า จะทำให้การนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากประชาชนอาจตื่นตะหนกกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย โดยด่านพรมแดนของ จ.เชียงราย มีทั้งหมด 6 ด่าน สร้างรายได้รวมประมาณ 50,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการนำเข้า–ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับเมียนมา และไทยกับลาว โดยจะติดตามสถานการณ์ภายในของเมียนมาอย่างใกล้ชิดต่อไป นายศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ได้ประเมินผลกระทบการทำรัฐประหารเมียนมา จะส่งผลต่อไทยบ้างเล็กน้อยเนื่องจากการค้าและการส่งออกไทยไปยังเมียนมาในปัจจุบันมีไม่มากแล้ว เพราะส่วนใหญ่เมียนมาได้ผลิตในประเทศเองไม่เหมือนเมื่อก่อน โดยสิ่งที่จะกระทบคงจะเป็นด้านพลังงาน เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจไทยแห่งหนึ่งได้เข้าลงทุนในเมียนมา หากยืดเยื้ออาจกระทบต่อการต่อสัมปทานในระยะข้างหน้าได้

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822756

เจ้าท่า ลุยปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุย บูมเที่ยวทะเลอ่าวไทย

กรมเจ้าท่า เร่งปรับโฉมใหม่ท่าเรือเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี คาดแล้วเสร็จปี 67 รองรับการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้น-ยกระดับมาตรฐานท่าเรือให้ปลอดภัย นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามแผนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อยกระดับท่าเรือให้ได้มาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งท่าเทียบเรือดังกล่าว เป็นท่าเรือสำคัญที่จะรองรับนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งท่าเรือเกาะสมุย เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทางไปยังเกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะนางยวน และเกาะม้า จ.สุราษฎร์ธานี ในอนาคตอาจมีแนวโน้มนักท่องเที่ยวเดินทางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมเจ้าท่า จึงดำเนินการปรับปรุงรื้อถอนท่าเทียบเรือเดิมบางส่วน และปรับปรุงท่าเรือดังกล่าว ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือเพื่อส่งเสริมหน้าท่าพื้นที่ 864 ตารางเมตร และเพิ่มพื้นที่สะพานทางเดิน 2,340 ตารางเมตร สร้างอาคารพักคอยรองรับผู้โดยสารเรือครุยส์ ขนาด 1,800 ตารางเมตร และอาคารพักคอยด้านหลังท่าเทียบเรือ 182.25 ตารางเมตร และงานก่อสร้างด้านอื่นๆ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และได้มาตรฐานความปลอดภัย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จปี 67 ทั้งนี้ การปรับปรุงท่าเรือเกาะสมุยจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ในอนาคต หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจฝั่งอ่าวไทยในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อีกด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/822510

นักลงทุนไทยเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในเวียดนาม

สถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทยร่วมกับสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวโอกาสทางการลงทุน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบ 45 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและเวียดนาม นายฟัน จิ้ ทัน เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ได้บรรยายถึงความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามและการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 13 โดยคาดว่าจะส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ด้วยรายได้ปานกลางระดับสูงในปี 2573 และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2588 ทั้งนี้ ธุรกิจไทยทุ่มเงินกว่า 12.84 พันล้านเหรียญสหรัฐไปยัง 600 โครงการในเวียดนาม จำแนกออกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน, นิคมอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีขั้นสูง, พลังงานและเกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ นายสนั่น  อังอุบลกุล  ประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่ามีความสนใจอย่างมากในการลงทุนไปเวียดนาม เนื่องมาจากความมีเสียรภาพทางการเมือง การประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 แรงงานจำนวนมาก กำลังซื้อสูงและสภาพแวดล้อมการลงทุน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/thai-investors-keen-on-future-business-opportunities-in-vietnam-833370.vov

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยต่ำกว่าเป้าหมาย

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยในปี 2020 ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทำได้เพียงครึ่งหนึ่งของเป้าหมายที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่รัฐบาลทั้งสองประเทศกำหนดไว้ในปี 2015 ซึ่งในปี 2019 การค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ 7.236 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 23 ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของไทย โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังไทยในปี 2020 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.148 พันล้านดอลลาร์ ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 49.5 ส่วนกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.089 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยประจำกัมพูชากล่าวว่า โควิด-19 ถือเป็นส่วนที่ทำให้ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศเป็นเรื่องยาก แต่นักลงทุนและนักธุรกิจไทยยังคงมั่นใจในศักยภาพการลงทุนในกัมพูชาและยังคงมีการแสวงหาโอกาสในการลงทุนอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50807076/thai-cambodia-2020-bilateral-trade-below-goal-by-50-percent/

สปป.ลาวคุมเข้มเฝ้าระวังชายแดนหลังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เชื่อมโยงประเทศไทย

สปป.ลาวได้คุมเข้มการลักลอบเข้าเมืองหลังจากพบผู้ติดเชื้อ 2 ราย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทย  ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่จากการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายของแรงงานต่างด้าว สปป.ลาวกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เฝ้าระวังอย่างเข้มงวดเนื่องจากทั้งสองประเทศมีพรมแดนติดกันยาว 1,845 กิโลเมตรโดยส่วนใหญ่ปักปันแม่น้ำโขง ทำให้การลักลอบกลับมาของแรงงานสปป.ลาวที่ไปทำงานในประเทศไทยอาจทำได้ง่าย และอาจเป็นต้นตอให้เกิดการระลอกใหม่ในสปป.ลาว ณ ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อในสปป.ลาวอยู่ที่ 43 รายซึ่งยังคงเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 13,687 คน สูงเป็นอันดับ 6 ของภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2056823/laos-tightens-border-watch-after-virus-imports-from-thailand

ส่งออกข้าวไทยยังซึม ปีนี้ตั้งเป้าแค่6ล้านตัน

พาณิชย์ มักน้อย ตั้งเป้าส่งออกข้าวปีนี้ แค่ 6 ล้านตัน หลังเจอสารพัด มรสุม ทั้งข้าวไทยราคาแพงกว่าคู่แข่ง ค่าบาทแข็ง พิษโควิด นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวไทยในปี 64 ปริมาณ 6 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณใกล้เคียงกับการส่งออกในปี 63 ที่ส่งออกได้ทั้งปี 5.72 ล้านตัน โดยปัจจัยหลักที่กระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในปี 64 ได้แก่ ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น อินเดีย และ เวียดนาม ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นระยะ ปัญหาตู้คอนเทเนอร์ที่ยังคงมีไม่เพียงพอใช้ส่งออก ประกอบกับผู้นำเข้าหลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้กำลังซื้อลดลง ดังนั้น การกำหนดเป้าส่งออกข้าวไทยที่ปริมาณ 6 ล้านตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศ สำหรับแผนการตลาดส่งเสริมการส่งออกข้าวไทยในต่างประเทศในปี 64 จะเน้นประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและการแสวงหากลุ่มลูกค้าใหม่ให้ครอบคลุมตลาดข้าว โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น การหารือกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิรัก บังกลาเทศ เป็นต้น รวมทั้งหารือประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น เวียดนาม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การผลิตและตลาดข้าว การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ และจัดกิจกรรมต่อยอดข้าวหอมมะลิไทยที่ได้เเชมป์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 63 เป็นต้น สำหรับการส่งออกข้าวปี 63 มีปริมาณรวมทั้งปี 5.72 ล้านตัน มูลค่า 1.16 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 62 ที่มีปริมาณ 7.58 ล้านตัน มูลค่า 1.31 แสนล้านบาท โดยมีปริมาณการส่งออกลดลง 24.54% และมูลค่าลดลง 11.23%

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/821272

พาณิชย์ลุยแก้ปัญหาตกเขียวกระเทียม ดึงเอกชนช่วยรับซื้อกก.13.50บ.

พาณิชย์ คลอดมาตรการเชิงรุกช่วยเหลือชาวไร่กระเทียม ดึงเอกชน 8 รายทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กก.ละ 13.50 บาท หลังพบตกเขียวกดราคาเหลือ กก.8 บาท พร้อมอัดมาตรการเสริม ช่วยดอกเบี้ยเงินกู้ 3% เพื่อซื้อกระเทียมเก็บ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมวางแผนเชิงรุกรองรับการแก้ไขปัญหากระเทียม ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ว่า กระทรวงฯ ได้เตรียมการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมเป็นการล่วงหน้าเพื่อรองรับผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. โดยกรมการค้าภายในได้ประสานงานกับพาณิชย์จังหวัด ซึ่งเป็นทีมเซลส์แมนของจังหวัด ร่วมกับภาคเอกชนจัดให้มีการเจรจาซื้อขายกระเทียมสดในราคาที่เป็นธรรม 8 สัญญา มีภาคเอกชน 8 บริษัทเป็นผู้ซื้อและกลุ่มเกษตรกร 8 กลุ่มเป็นผู้ขาย ในราคากระเทียมสดกิโลกรัมละ 13.50 บาท ซึ่งเป็นราคาชี้นำตลาดในฤดูกาลผลิตนี้ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้กำหนดมาตรการเสริมในช่วงที่กระเทียมออกมาก โดยมีมาตรการชะลอขาย ถ้าเกษตรกร ผู้รวบรวมกระเทียมหรือสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรชะลอขาย จะมีวงเงินช่วยเหลือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ผู้รวบรวมกระเทียม ประมาณ 6 เดือน เมื่อราคาดีค่อยขาย ช่วยดอกเบี้ย 3% และมาตรการทางกฎหมายให้มีการบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด โดยเฉพาะปัญหาการลักลอบการนำเข้ากระเทียมจากต่างประเทศ โดยได้สั่งการให้กรมศุลกากร ตำรวจ ฝ่ายความมั่นคง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เคร่งครัดการแก้ปัญหาลักลอบการนำเข้า ซึ่งจะนำเรื่องนี้ไปเรียนให้ที่ประชุม ครม.ทราบอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 26 ม.ค.64 เพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้ากระเทียมต่อไป  นอกจากนี้ จะเข้มงวดการออกไปอนุญาตนำเข้ากระเทียม ให้มีการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของกระเทียมที่นำเข้า และเข้มงวดการตรวจสอบการขนย้าย หากตรวจพบการกระทำผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/820902

ไทยลงทุนในเวียดนามพุ่งขึ้น

ตามข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยมีโครงการจดทะเบียนใหม่ 40 โครงการ และอีก 23 โครงการที่จดทะเบียนเพื่อปรับเพิ่มเงินทุน และ 100 รายที่เป็นการช่วยเหลือทางเงินทุนในการบริหารจัดการทางบริษัท รวมถึงการเข้ามาซื้อหุ้นในเวียดนาม ด้วยเงินทุนราว 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตัวเลขข้างต้น เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2562 และประมาณ 7 เท่าเมื่อเทียบกับปี 58-63 ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ไทยติดอันดับ 1 ใน 9 ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยเงินทุนสะสมทั้งหมด 12.8     ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี นักลงทุนชาวไทยมีความสนใจในสาขาธุรกิจที่หลากหลายด้วยกัน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป พลังงานสะอาดและอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ทำให้นักลงทุนชาวไทยลงทุนมากขึ้น ทำการควบรวมและเข้าซื้อกิจการในเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/858771/thai-investment-in-viet-nam-increases.html

พัฒนาการของไทย สู่ ‘ฮับ’ ยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน

ยานยนต์ไฟฟ้า ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างจริงจังในประเทศไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะ “อุตสาหกรรมใหม่” และในฐานะ “หนทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ของประเทศ หลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เฉพาะแต่เพียงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย แตกแขนงออกไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรถบัสโดยสาร รถตุ๊กตุ๊ก รถขนาดเล็ก 4 ที่นั่งสำหรับใช้งานในเมือง บริการเช่ารถไฟฟ้า แอพพลิเคชั่นสำหรับเช่ารถไฟฟ้า เรื่อยไปจนถึงเรือใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทั้งหมดนั่นเริ่มต้นจากพื้นฐานของการเป็น “ฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย เป็นรองเพียงแค่จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น” ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 ในเวลานี้ “โรดแม็ป” ของไทยในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ราวร้อยละ 30 ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศในปีหนึ่งๆ หรือราว 750,000 คัน ต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในสิ้นทศวรรษนี้ จัดสรร “แรงจูงใจ” เชิงภาษีให้เพื่อดึงดูดบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ให้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการนี้

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_390875