เศรษฐกิจ สปป.ลาว ส่อผันผวน จากกระแสเงินทุนไหลออก

กระแสเงินทุนไหลออกของสกุลเงินต่างประเทศพุ่งสูงขึ้น นำหน้ากระแสเงินทุนไหลเข้าในปัจจุบัน ส่งผลทำให้สกุลเงินต่างประเทศขาดสภาพคล่อง กระทบภาคการนำเข้าเป็นสำคัญ โดย Vientiane Times รายงานว่า Sonexay Sithphaxay ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ สปป.ลาว รายงานว่ามีเพียงร้อยละ 33 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สปป.ลาว ผ่านระบบธนาคารในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ ซึ่งส่วนที่เหลือถูกนำไปฝากไว้ในต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ประมาณร้อยละ 98 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมดถูกโอนออกนอกประเทศผ่านระบบธนาคารในช่วงนี้ อีกทั้งการลงทุนจากต่างประเทศที่แท้จริง ไหลเข้าผ่านระบบต่ำกว่ามูลค่าการลงทุนที่ได้ตกลงกันไว้มาก ส่งผลทำให้เงินทุนไหลออกมากกว่าเงินทุนไหลเข้า กระทบอุปทานของสกุลเงินต่างประเทศที่ยังไม่เพียงพอ ถึงแม้ภาคการค้าจะเกินดุลในช่วง 3 เดือนแรกของปีก็ตาม โดยปัจจุบันเงินกีบอ่อนค่าลงเป็นอย่างมากอยู่ที่ร้อยละ 18.36 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ และ ร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับค่าเงินบาทในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2022/05/19/laos-economy-short-changed-by-foreign-currency-outflows/

รัฐบาลสปป.ลาว-เวียดนาม เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจลาว-เวียดนาม

Vuong Dinh Hue ประธานสมัชชาแห่งชาติของเวียดนาม เรียกร้องให้ภาคธุรกิจในสปป.ลาวและเวียดนามสร้างความก้าวหน้าในด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติสำหรับทั้งสองประเทศ การพัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนให้อยู่ในระดับเดียวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทูตระหว่างเวียดนามและสปป.ลาวเป็นสิ่งสำคัญ รัฐบาลลาวและเวียดนามตกลงที่จะส่งเสริมการค้าแบบพหุภาคีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เป็นร้ยละ 15 ในช่วงปี 2564 โดยสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดน เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนทางการค้า อย่างไรก็ตาม ผู้บัญญัติกฎหมายระดับสูงของเวียดนามกล่าวว่ามูลค่าการค้าสองทางยังคงอยู่ในระดับที่พอประมาณเมื่อเทียบกับศักยภาพและความได้เปรียบของทั้งสองประเทศ ดังนั้นทุกภาคส่วนของทั้งสองประเทศต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งรัดโครงการความร่วมมือ ด้านการลงทุนในปี 2564 ผู้ประกอบการเวียดนามได้ลงทุนในสปป.ลาวมากกว่า 417 โครงการ ตั้งแต่เกษตรกรรมไปจนถึงการขุด พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และบริการ ทั้งนี้รัฐบาลของทั้งสองประเทศตกลงที่จะแก้ไขข้อบกพร่องทั้งหมดที่ต้องเผชิญกับแผนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เหมือง และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้พวกเขาดำเนินการต่อไปตามที่คาดไว้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten93_Businesses_y22.php

‘สัมพันธ์เวียดนาม-ลาว’ ผลักดันการค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี 1962 เวียดนามและสปป.ลาว ได้ส่งเสริมความร่วมมือผ่านซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยในปี 2559-2563 การค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ สามารถบรรลุการค้ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนั้นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภัยธรรมชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าการค้าทวิภาคีในปี 2563 ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการส่งออกเวียดนามอยู่ที่ 571.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.5% อย่างไรก็ดี การค้าทวิภาคีกลับมาขยายตัวขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 เพิ่มขึ้น 33.3% คิดเป็นมูลค่า 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุสำคัญมาจากการแก้ไขปัญหาของผู้นำเวียดนามและสปป.ลาว ทั้งในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่อย่างรวดเร็วและขจัดอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดสปป.ลาว ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า, เครื่องจักรและอุปกรณ์ม ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปุ๋ยและผัก เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamlaos-trade-ties-growing-sustainably/228623.vnp

 

สปป.ลาว เกาหลี พัฒนาเวทีส่งเสริมการท่องเที่ยว

สปป.ลาวและเกาหลีใต้เป็นพันธมิตรกันในการแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และอุตสาหกรรมระหว่างสองประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะนำนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีมาที่สปป.ลาวมากขึ้น Green Discovery Laos และสมาคมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (ICIA) ของสมาคมอุตสาหกรรมและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเกาหลี-ลาว ได้ตกลงที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศลาว โดยรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ร้านอาหาร และโรงแรมทั่วประเทศ MOU มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวเกาหลี ไม่เพียงเพื่อให้พวกเขาสามารถเพลิดเพลินกับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว Green Discovery แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวอื่น ๆ ทั่วประเทศลาว สอดรับกับรัฐบาลเกาหลีวางแผนที่จะเปิดประเทศอีกครั้งเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวและเพิ่มเที่ยวบินลาว-เกาหลีภายในสิ้นปีนี้              ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่ายในการฟื้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten92_Laos_korea_y22.php

ประตูชายแดนเวียดนาม-ลาว กลับมาเปิดดำเนินการหลายแห่ง หลังโควิด-19 บรรเทาลง

ประตูชายแดนระหว่างเวียดนาม-ลาว ได้แก่ ด่านลาวบ๋าว (Lao Bao), ด่านสากลลาไล้ (La Lay) และด่านนามเกิ่น (Nam Can) กลับมาเปิดให้บริการตามปกติเมื่อวันที่ 9 พ.ค. โดยด่านลาวบ๋าวในจังหวัดกว๋างจิ คนขับรถบรรทุกจากเวียดนามได้แสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อเข้าประเทศสปป.ลาว และการเปิดประตูชายแดนอีกครั้ง จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ การยกเลิกคำสั่งเปลี่ยนคนขับยังช่วยลดเวลาที่จำเป็นสำหรับพิธีการทางศุลกากรและบรรเทาความแออัดของการจราจรที่หันหน้าไปทางทางหลวงหมายเลข 9 ใกล้ประตูชายแดนลาวบ๋าว อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าตามตามชายแดน คาดการณ์ว่าการเดินทางเข้า-ออกตามด่านพรมแดนจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/many-vietnam-laos-border-gates-reopen-as-pandemic-subsides/

โอกาสทางอาชีพ “ค่ายในฝันสู้คนตกงาน”

บริษัทจัดหางาน 108Jobs ซึ่งเป็นช่องทางการหางานที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในสปป.ลาว เฉลิมฉลองการครบรอบ 10 ปีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาและได้เปิดตัว 108M-Lab ซึ่งเป็นแล็บนวัตกรรมทางสังคมและการจ้างงาน ห้องปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2565 ได้เปิดตัวโครงการแรกที่เรียกว่า Occupational Opportunities (O2) เพื่อฝึกอบรมและฝึกสอนกลุ่มพนักงานขายหน้าใหม่ซึ่งมีเป็นแรงงานที่มีความต้องการสูงในตลาด โครงการ O2 มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความไม่ตรงกันของทักษะสำหรับทั้งผู้หางานและนายจ้างในตลาดงาน เช่น ทักษะการขายและทักษะด้านดิจิทัล ทั้งสองทักษะเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่มีการฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นทางการต่ำ ปัจจุบัน 108Jobs และกลุ่มธุรกิจในเครือกำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการสร้างงานมากขึ้นผ่านห้องปฏิบัติการนวัตกรรมทางสังคมที่ก่อตั้งขึ้นใหม่: 108M-Lab เพื่อสังคมสปป.ลาวที่ขึ้นทั้งในแง่ของทุนมนุษย์เพื่อพัฒนารวมถึงกรลดอัตราการว่างงานระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Occupational89.php

กระทรวงการวางแผน ADB ประเมินความร่วมมือด้านต่างๆ

สปป.ลาวกำลังทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อบรรลุ 24 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารด้วยเงินมากกว่า 829 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงเงินกู้มูลค่า 470.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินช่วยเหลือมูลค่า 358.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความร่วมมือระหว่างสปป.ลาวและ ADB เกิดขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระยะยาว 5 ปีตั้งแต่ปี 2560-2564 และแผนธุรกิจ Country Operations Business Plan ซึ่งจะมีการทบทวนทุก 3 ปี นอกจากนี้ สำนักงาน ADB ได้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของประเทศเพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดสรรงบประมาณสำหรับแต่ละภาคส่วนอย่างเหมาะสม แนวทางการกำกับของ ADB เป็นเพื่อนำพาสปป.ลาวสู่ความสำเร็จทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจโดยมีแบบแผนและกลยุทธ์ที่สำคัญ ตามกรอบแนวทางที่ ADB เป็นผู้วางและติดตาม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten88_Planning.php

สะพานมิตรภาพลาว-ไทยเปิดอีกครั้ง ด้านสปป.ลาวแอร์ไลน์วางแผนเที่ยวบินเพิ่ม

จุดผ่านแดนหลักของสปป.ลาวที่สะพานมิตรภาพลาว-ไทยแห่งแรกที่เชื่อมระหว่างเวียงจันทน์กับจังหวัดหนองคายในประเทศไทย ได้เปิดขึ้นอีกครั้งหลังจากถูกปิดมานานกว่าสองปีเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ Covid-19 ด้วยการยกเลิกข้อจำกัดการเดินทาง ชาวต่างชาติและคนไร้สัญชาติสามารถเข้าและออกจากลาวได้อย่างอิสระในเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยมี 100 คนข้ามสะพานมายังประเทศไทย ขณะที่อีกเกือบ 300 คนเข้าสู่ลาว ด้านสายการบินจะเพิ่มเที่ยวบินระหว่างเวียงจันทน์และกรุงเทพฯ เป็น 2-3 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม รัฐบาลได้เรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบธุรกิจ และทุกภาคส่วนในสังคม เตรียมพร้อมต้อนรับและให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten87_Lao_thai_y22.php

อัตราเงินเฟ้อสปป.ลาว ใกล้สองหลัก

อัตราเงินเฟ้อปีต่อปีในประเทศลาวเพิ่มขึ้นเป็น 9.9% ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ตามรายงานล่าสุดจากสำนักงานสถิติลาว ดัชนีราคาผู้บริโภคพุ่งขึ้นเร็วที่สุดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินค่าอาหาร เชื้อเพลิง และสิ่งจำเป็นอื่นๆ มากขึ้น สปป.ลาวมีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจากขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลให้ตลาดเชื้อเพลิงทั่วโลกผันผวนและการอ่อนค่าของ kip อย่างต่อเนื่อง ในเดือนเมษายน ค่าใช้จ่ายในหมวดการสื่อสารและการขนส่งเพิ่มขึ้น 6.7%  ราคาในหมวดสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และร้อยละ 16.3 เมื่อเทียบปีต่อปี ค่ารักษาพยาบาลและค่ายาเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 11% เมื่อเทียบเป็นรายปี การเพิ่มขึ้นของหมวดนี้เป็นผลมาจากราคายาและค่ารักษาพยาบาล ในขณะเดียวกัน ราคาเสื้อผ้าและรองเท้าเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 9.4 % เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ราคาในหมวดที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า และก๊าซ เพิ่มขึ้น 1.7% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ค่าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 5.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten86_Inflation_y22.php

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นปัญหาที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ

จากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนได้เพิ่มความไม่แน่นอนทางการเมืองและสินค้าโภคภัณฑ์และตลาดการเงินที่สั่นสะเทือนท่ามกลางการระบาดของโควิดนอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นและความตึงเครียดทางการเมืองจะเพิ่มแรงกดดันต่อราคาสำหรับสินค้านำเข้าในสปป.ลาว โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปีในลาวจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.8% ในปี 2565 และ 5.0% ในปี 2566 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากข้อมูลราคาน้ำมันเบนซินเกรดพรีเมียมในเวียงจันทน์อยู่ที่ 20,620 กีบต่อลิตร เกรดปกติ 18,060 กีบ และดีเซล 18,000 กีบ อีกปัจจัยที่สำคัญคือการอ่อนค่าของ kip อย่างต่อเนื่อง ซึ่งค่าเงินกีบอ่อนค่าโดยเฉลี่ยต่อปีที่ 7.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อไม่เพียงเป็นปัญหาเดียว ที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ ขณะนี้หนี้สาธารณะและหนี้ที่ภาครัฐค้ำประกันได้รับรายงานล่าสุดที่ร้อยละ 78.8 ของ GDP ในปี 2564 ค่าใช้จ่ายภายในประเทศที่ค้างชำระ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง และ kip ที่อ่อนตัวลงในปี 2564 ส่งผลให้ระดับหนี้เพิ่มขึ้น ในขณะหนี้สาธารณะต่างประเทศของสปป.ลาวคาดว่าจะมี 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีในช่วงห้าปีข้างหน้าคิดเป็นร้อยละ 7 ของ GDP ทั้งนี้รัฐพยายามแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนรวมถึงปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนให้ดียิ่งขึ้น และผลักดันให้มีการดำเนินการตามแผนโครงการขนาดใหญ่อย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนยกเครื่องการจัดการธุรกิจนำเข้าเพื่อให้แน่ใจว่าสกุลเงินต่างประเทศที่เพียงพอเข้าสู่ระบบธนาคาร

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten85_spiralling_22.php