เมียนมาส่งออกน้ำผึ้ง บุกตลาดต่างประเทศกว่า 4,000 ตันต่อปี

คนเลี้ยงผึ้งและธุรกิจเลี้ยงผึ้งรายย่อยของเมียนมา ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน สามารถผลิตน้ำผึ้งได้ปีละกว่า 6,000 ตัน เป็นบริโภคภายในประเทศ 2,000 ตัน และส่งออก 4,000 ตัน ซึ่งกระทรวงฯ กำลังเตรียมพื้นที่ 1.5 ล้านเอเคอร์เพื่อให้ผึ้งผสมเกสร โดยเขตซะไกง์เป็นผู้ผลิตน้ำผึ้งรายใหญ่ อีกทั้งรัฐมอญก็เริ่มทำการผลิตน้ำผึ้งเช่นกัน ธุรกิจการเลี้ยงผึ้งในเมียนมาเริ่มขึ้นในปี 2522 เริ่มส่งออกตลาดต่างประเทศในปี 2528 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งน้ำผึ้งดอกทานตะวัน น้ำผึ้งปาล์ม และน้ำผึ้งดอกงาเป็นที่ต้องการของตลาด โดยจีนและเวียดนามเป็นผู้ส่งออกน้ำผึ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่เมียนมาและไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-about-4000-tonnes-of-honey-yearly/#article-title

งบประมาณย่อย 64-65 ค้าชายแดนเมียนมา ดิ่งลง 966 ล้านเหรียญดอลลาร์หรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดจากด่านชายแดน 18 แห่งมีมูลค่าเกิน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงงบประมาณย่อย 64-65 ลดลง 966 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 2.409 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 24 ธ.ค.ของปีงบประมาณ 64-65 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าเป็น 427.7 ล้านดอลลาร์ โดยด่านเมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด 581.36 ล้านดอลลาร์หรัฐฯ ตามมาด้วยด่านทิกิที่ 402.06 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าการผลิต และอื่นๆ ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-value-decreases-by-us966-mln-this-mini-budget-period/#article-title

เกตรกรในรัฐฉาน หวังราคามันเทศสูงขึ้น โอดต้นทุนสูง

เกษตรกรผู้ปลูกมันเทศในเมืองตองยี รัฐฉาน ต่างหวังว่าจะได้ราคาที่ดีขึ้นเพื่อคุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนและราคาน้ำมันก๊าดในปัจจุบันสูง เกษตรกรในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลว่าได้ปลูกมันเทศบนพื้น 5 เอเคอร์ ซึ่งสถานการณ์ตลาดในปีนี้ไม่ดีนัก ซึ่งปีที่แล้วมันเทศหนึ่งถุงขายได้มากกว่า 10,000-13,00 จัต แต่ปีนี้เหลือเพียง 10,000 จัต โดยส่วนใหญ่มันเทศจะถูกส่งไปขายยังย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sweet-potato-growers-expect-better-prices-in-shan-state/#article-title

ยอดขายที่ดินเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คาดลดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เหตุพึ่ง FDI เป็นหลัก

การขายที่ดินในเขตอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เป็นหลัก และการขายที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (SEZ) คาดว่าจะลดน้อยลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัท ติละวา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด คาดว่าปีนี้จะเป็นช่วงที่ท้าทายที่สุดและความสำเร็จของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ อาจขึ้นอยู่กับการลงทุนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแผนก่อนหน้านี้ในการขยายร้านค้าและแหล่งช้อปปิ้งถูกเลื่อนออกไป เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/223258

ราคาถั่วลิสงในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่ง 140,000 จัตต่อถุง

ในช่วงต้นปี 2565 ราคาขายถั่วลิสงในตลาดมัณฑะเลย์ดีกว่าปีก่อนๆ อยู่ที่ 140,000 จัตต่อถุงในช่วงสามสัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ โดยช่วงต้นปี 2564 ราคาถั่วลิสงถุงใหม่อยู่ที่ 105,000 จัต ขณะที่ราคาในสัปดาห์แรกของเดือนม.ค.65 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 140,000 จัตต่อถุง ตลาดส่งออกหลักคืออินเดีย และจีน คาดว่าผลผลิตในปีนี้มีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่ดีและศัตรูพืชที่น้อยลง ทั้งนี้ไม่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกและเขตร้อน แต่เหมาะกับสภาพอากาศค่อนข้างอบอุ่น เริ่มจากต้นน้ำจนถึงเขตพะโม แม่น้ำชินวินตอนบน โดยการเพาะปลูกส่วนใหญ่ในเมืองกะเล่วะ เมืองพะโม และเมืองปะโคะกู
ที่มา: https://news-eleven.com/article/223193

ถั่วแระสด ทะลักเข้าศูนย์สินค้าโมนยวา

ศูนย์สินค้าโมนยวา (Monywa Commodity Center) เตรียมจัดส่งถั่วแระสดที่เก็บเกี่ยวใหม่ในราคา 35,000 จัตต่อตะกร้า โดยเริ่มขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ท่ามกลางความไม่แน่นอนผลผลิตที่มีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจำนวนมากทำให้ราคาลดลงเล็กน้อยที่ 5,000-7,000 จัตต่อตะกร้า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2563 ถึง 30 ก.ย.2564 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 214,000 ตันไปต่างประเทศ สร้างรายได้กว่า 144 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดหลักจะเป็นอินเดีย และบางส่วนถูกส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ทั้งนี้ข้อตกลงการค้าแบบ G to G ระหว่างเมียนมาและอินเดีย พร้อมกับการผ่อนคลายเกี่ยวกับโควตานำเข้า จะทำให้ตลาดแข็งแกร่งในอีก 5 ปีข้างหน้า
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fresh-pigeon-pea-flowing-into-monywa-commodity-centre/#article-title

ภาคปศุสัตว์เมียนมา อ่วม! ต้นทุนการผลิตพุ่ง

สหพันธ์ปศุสัตว์เมียนมา (MLF) ระบุ ภาคปศุสัตว์ของเมียนมาประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง รวมถึงต้นทุนอาหารสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิงและค่าขนส่งที่พุ่งขึ้น อีกทั้งปัญหาการนำเข้าเนื้อสัตว์แช่แข็งอย่างผิดกฎหมาย ค่าเงินจัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัว รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้ผลผลิตไก่ไข่และไก่เนื้อในปีนี้ลดลง การผลิตสินค้าปศุสัตว์และสัตว์ปีกในเมียนมาโตขึ้น 10-15% ต่อปี ส่วนใหญ่ใช้วิธีการแบบดั้งเดิมและบางส่วนได้เปลี่ยนไปใช้วิธีการสมัยใหม่ ซึ่งบางครั้งการเลี้ยงสัตว์ปีกและการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานยังพบเห็นได้ทั่วไปในเมียนมา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุน เช่น  จีน ไทย และอินเดีย นั่นคือเหตุผลที่ต้องปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ท้องถิ่นใหม่ เพื่อตอบรับการลงทุนในการเลี้ยงสัตว์ปีกของนักลงทุนต่างชาติ
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-sector-struggling-with-high-input-cost/

สายการบิน MAI, KBZ พร้อมเปิดเที่ยวบิน ย่างกุ้ง-ซิตต์เวย์ และ ย่างกุ้ง-ทันดเว

สายการบินเมียนมาแอร์เวย์อินเตอร์เนชั่นแนล (MAI) และสายการบิน KBZ จะเปิดให้บริการเที่ยวบินย่างกุ้ง-ซิตต์เวย์ และย่างกุ้ง ตันดเว ทุกวันสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางในประเทศ สายการบินเหล่านี้จะให้บริการเที่ยวบินย่างกุ้ง-เจาะพยู ทุกวันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ ขระเดียวกันเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 โดยตั้งแต่ปี 2559 ถึงเดือนส.ค. 63 เมียนมามีรายได้จาก e-Visa หรือ ระบบตรวจตราคนต่างด้าวที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศเมียนมาทางอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 69.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนักท่องเที่ยวกว่า 1.7 ล้านคนที่สมัครผ่านระบบ e-Visa ทั้งนี้ ณ วันที่ 21 ธ.ค.64 เมียนมามียอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมรวม 528,380 ราย เสียชีวิต 19,226 ราย ในขณะเดียวกันมีผู้หายป่วยกลับบ้านแล้วจำนวน 505,761 ราย
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mai-air-kbz-to-fly-yangon-sittway-and-yangon-thandwe-daily/#article-title

เมียนมาอนุญาตนำเข้ารถยนต์การพาณิชย์เพื่อจำหน่ายรถในโชว์รูมและศูนย์จำหน่ายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ประกาศว่าจะเริ่มนำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์สำหรับโชว์รูมรถยนต์และศูนย์จำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศ สำหรับปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ตัวแทนขายรถในกรุงย่างกุ้งคาดว่าการนำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์จะลดลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้การนำเข้าต้องปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งเฉพาะรถยนต์พวงมาลัยซ้ายเท่านั้นที่จะสามารถนำเข้าได้เท่านั้น
ที่มา : https://news-eleven.com/article/222383

ตำบลพวงพิน เขตซะไกง์ ผลผลิตข้าวช่วงมรสุม คาด ลดลงครึ่งหนึ่งจากปีก่อน

ผลผลิตข้าวในช่วงมรสุมของตำบลพวงพิน อำเภอพะงัน เขตซะไกง์ คาดลดลงมากกว่าครึ่งจากปีก่อน เนื่องจากขาดน้ำ สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนน้อยลง ทำให้นาข้าวขาดน้ำและผลผลิตลดลง โดยปกติผลผลิตจะอยู่ที่ประมาณ 60 ตะกร้าต่อเอเคอร์ทุกปี แต่ในปีนี้มีเพียง 30 ตะกร้าเท่านั้น ในตำบลพวงพิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีผลผลิตข้าวเปลือกน้อยลงและส่งออกข้าวน้อยลงในปีนี้เช่นกัน ในบรรดาเมืองจินดวินตอนบนริมแม่น้ำจินดวิน (Chindwin River) ของเขตซะไกง์ พบว่า ตำบลพวงพินมีผลผลิตข้าวมากที่สุด
ที่มา: https://news-eleven.com/article/222307