แผนติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 14MW สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา

กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (MoEP) ได้ประกาศแผนการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีกำลังการผลิตสูงสุด 14 เมกะวัตต์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (SEZ) ในเมืองตันลยิน เขตย่างกุ้ง โดยปัจจุบัน โรงงานสามแห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาได้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2 เมกะวัตต์ การศึกษาเพิ่มเติมที่ดำเนินการโดยบริษัทต่างๆ ในเขตดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 14 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ดี บริษัทเมียนมา-ญี่ปุ่น ติละวา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (MJTD) ยืนยันว่าเมื่อติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว พลังงานส่วนเกินจะถูกส่งและแจกจ่ายไปยังโรงงานอื่นๆ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษผ่านสายไฟฟ้าของกระทรวงไฟฟ้ากำลัง ทั้งนี้ Thilawa SEZ ครอบคลุมพื้นที่ 667.275 เฮกตาร์ (ประมาณ 1,650 เอเคอร์) ดึงดูดการลงทุนจากบริษัท 114 แห่งใน 21 ประเทศ ในบรรดาเขตเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ในเมียนมา เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวามีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จมากที่สุด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/installation-of-14mw-solar-power-system-planned-for-thilawa-sez/

โครงการลงทุน 3 โครงการ ได้รับการอนุมัติ สร้างงาน 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

ในการประชุมที่จัดขึ้นที่สำนักงานของรัฐบาลสหภาพในกรุงเนปิดอว์ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 3 โครงการ ที่จะมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คิดเป็นมูลค่า 0.180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 300 พันล้านจ๊าด ซึ่งจะสร้างโอกาสในการทำงานในท้องถิ่น 744 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ดี จากต้นปีที่ผ่านมาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2566 ใน 52 ประเทศและภูมิภาคที่ลงทุนในเมียนมาร์ ประเทศนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ จีน และไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ ในบรรดาธุรกิจ 12 ประเภทในเมียนมาร์ ร้อยละ 28.49 ของการลงทุนทั้งหมดไหลเข้าสู่ภาคพลังงาน ร้อยละ 24.44 ลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น และร้อยละ 14.39 เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/three-invested-businesses-approved-to-generate-744-jobs-in-industrial-agricultural-sectors/

ยอดขายที่ดินเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา คาดลดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เหตุพึ่ง FDI เป็นหลัก

การขายที่ดินในเขตอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เป็นหลัก และการขายที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (SEZ) คาดว่าจะลดน้อยลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัท ติละวา พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด คาดว่าปีนี้จะเป็นช่วงที่ท้าทายที่สุดและความสำเร็จของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ อาจขึ้นอยู่กับการลงทุนภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแผนก่อนหน้านี้ในการขยายร้านค้าและแหล่งช้อปปิ้งถูกเลื่อนออกไป เพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/223258

รัฐบาลเมียนมาเผยแผนสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ (SEZ) ในรัฐมอญ

เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ (SEZ) จะดำเนินการในรัฐมอญโดยเชื่อมโยงเมียนมากับแนวพื้นที่เศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำตะวันออก-ตะวันตก โดย SEZ แห่งใหม่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมต่อกับดานังของเวียดนามและจะเป็น SEZ ที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาหากได้รับการอนุมัติ คาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 117 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการพัฒนาและใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปีจึงจะแล้วเสร็จ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับประเทศที่อยู่บนทางเดินเศรษฐกิจโดยมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) ผ่านเครือข่ายการขนส่งท้องถิ่น ในการเลือกที่ตั้ง การศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแผนแม่บทโดยได้รับความช่วยเหลือจากทีมที่ปรึกษาระหว่างประเทศ จุดประสงค์ในการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ (SEZ) ของรัฐมอญกับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) เพื่อให้ทั้งสองพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐาน มีความโปร่งใส และมีคุณภาพระดับโลก โครงการนี้จะรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเมืองเพื่อพัฒนาอย่างเมืองเมาะลำเลิงในรัฐมอญ เมืองพะอานและเมืองเมียวดีในรัฐกะเหรี่ยง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-reveals-plans-build-new-sez-mon-state.html