‘HSBC’ ชี้เวียดนามคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจในด้านการลงทุน

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้เปิดเผยสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคในเดือนกันยายน 2564 ว่าตลาดเวียดนามจะยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดของนักลงทุนต่างชาติในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจเวียดนาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ทั้งนี้ สมาคมเครื่องหนังรองเท้าและกระเป๋าถือของเวียดนาม (LEFASO) ระบุว่าผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากกว่า 30% ระงับการผลิต ส่งผลให้ยอดการส่งออกเสื้อผ้าในเดือนสิงหาคมลดลง 4.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ว่ายอดการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วน พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในเดือนสิงหาคม อัตราการเติบโต 11% ต่อปี ในขณะที่ยอดการส่งออกคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ธนาคารเอชเอสบีซีมองว่าเวียดนามคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเวียดนามมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-continues-to-be-attractive-investment-destination-hsbc-889966.vov

เมียนมาเปิดด่านทิกิ ด่านมุต่อง กลับมาค้าขายได้ปกติ

ด่านตีกีและด่านมุต่อง ชายแดนเมียนมา-ไทย ได้รับอนุญาตให้เปิดกลับมาค้าขายได้ปกติอีกครั้ง ก่อนหน้สการค้าระหว่างเมียนมาและไทยถูกปิดชั่วคราวเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนจนถึงสิ้นเดือนส.ค.64 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งด่านชายแดนเหล่านี้ตั้งอยู่ในเขตตะนาวศรี สินค้าที่ส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนทั้ง 2 ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งปัจจุบัน รถบรรทุกวิ่งผ่านได้แต่พนักงานขับรถต้องได้รับการตรวจ COVID-19 แล้วเท่านั้น และตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงห้องเย็นต้องดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขของเมียนมา ทั้งนี้ไทยถือเป็นผู้นำดข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำรายใหญ่ เมื่อปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาส่งสินค้าประมงมูลค่า 318 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังไทย ในขณะที่การส่งออกการประมงรวมอยู่ที่ 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/hteekhee-mawtaung-border-crossings-return-to-normal/#article-title

ต้นทุนปลูกพริกพุ่งขึ้น ! ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกลดฮวบเกือบครึ่ง

สมาคมตลาดค้าพริกเและการพัฒนาทางเทคนิคของเมียนมา เผย ปีนี้พื้นที่เพาะปลูกพริกลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อความต้องการพริก เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ และข้อจำกัดในการถอนเงินสดจากธนาคารในเมียนมา ทำให้พื้นที่เพาะปลูกพริกลดลง 50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากราคาปุ๋ยและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงซึ่งสร้างกังวลสำหรับผู้เพาะปลูก อีกทั้งยังมีการปิดด่านชายแดนมูเซ ของจีน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 ซึ่งเป็นด่านชายแดนหลักของประเทศ ทำให้เมียนมาหันไปส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดีแทน ขณะที่ราคาพริกในปีนี้เหลือเพียง 1,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ขณะที่ปีที่แล้วทำสถิติสูงถึง 5,000-6,000 จัตต่อ viss โดยพริกขี้หนูสดถูกส่งออกไปยังเวียดนามผ่านทางเรือ และส่งออกไปยังจีนและไทยผ่านชายแดนเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rising-input-costs-drop-half-chilli-cultivation-acres/#article-title

มันฝรั่งจากอำเภอยวางาน ความต้องการสูง ราคาพุ่ง

มันฝรั่งที่เก็บเกี่ยวจากอำเภอยวางาน กำลังขนส่งไปสู่ตลาดขายส่งผักทีริมาร์ลา ในมัณฑะเลย์ โดยจะมีรถบรรทุกมันฝรั่ง7-8 คันต่อวัน ไปยังตลาด ราคาเมื่อปีก่อนอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แค่ ณ ตอนนี้ราคาอาจพุ่งไปถึง 900-1,000 จัตต่อ viss  ขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพ อย่างไรก็ตาม มันฝรั่งยังมีความต้องการสูงในปีนี้ ท่ามกลางผลกระทบจากโควิด-19 เนื่องจากมันฝรั่งดิบสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน ส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แต่ขณะที่ผักอื่นๆ เช่น กะหล่ำปลี ถั่วแดง และดอกกะหล่ำยังขายในราคาปกติ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/potato-from-ywangan-area-fetches-high-price/

เมียนมานำเข้ายา พุ่ง 397.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 9 เดือนแรกของปีงบฯ ปัจจุบัน

มูลค่าการนำเข้ายาของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 397.46 ล้านดอลลาร์ในช่วงเก้าเดือน (ต.ค.63- มิ.ย.64) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 โดยเมียนมานำเข้ายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ 90% จากต่างประเทศ อินเดียเป็นแหล่งนำเข้าหลักสำหรับเมียนมา นอกจากนี้ยังมีบังคลาเทศ จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ใต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ปัจจุบันมีการนำเข้ายาอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ราคายาเพิ่มขึ้น 5-10% จากการอ่อนค่าของจัต ส่วนกรมการค้าเมียนมาได้ยกเว้นใบอนุญาตนำเข้าชั่วคราวสำหรับสินค้า 92 HS code (รหัสศุลกากร) รายการ นาน3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.64 เป็นต้นไป เพื่อเอื้อสำหรับการค้าในช่วงวิกฤต COVID-19 ปัจจุบันสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) พร้อมหน่วยงาน ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง กำลังเร่งดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการของยาในช่วงวิกฤต COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pharmaceutical-imports-top-397-46-mln-in-nine-months/

แตงโมเขตมะกเว ยอดขาย พุ่ง เกษตรกรเฮ รายได้งาม

ผลผลิตแตงโมเมือง Gangaw Township ในเขตมะกเวเริ่มจำหน่ายในท้องถิ่นและพื้นที่แถบชายแดน เมียนมา-อินเดีย และเมืองกะเลย์ มะละกอในเขตชินวินตอนบน ซึ่งสร้างรายได้อย่างงามให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นจากความต้องการที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาอยู่ที่ 700-1,000 จัตต่อลูก ขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ตาม ราคาลูกเล็กราคาอาจถึง 1,200 จัตต่อลูก และ 2,500 จัตสำหรับลูกโตในตลาดกะเล่, ตามู และเมาลาย ในตลาดชายแดนเมียนมา-อินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-in-magway-sells-well/#article-title

ค้าต่างประเทศเมียนมา ดิ่งฮวบ 6.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ ปัจจุบัน

การค้าต่างประเทศของเมียนมามีมูลค่า 26.11 พันล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 20 ส.ค. 64 ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 ซึ่งลดลง 6.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีมูลค่า 33.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา การส่งออกมีมูลค่ากว่า 13.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 13.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการส่งออกจีนอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่เมียนมาส่งออกสินค้ามากที่สุด โดยมีมูลค่า 3,985.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือไทย 673.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และญี่ปุ่น 485.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่การนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-foreign-trade-declines-by-6-98-bln-this-fy/

ความต้องการมะเขือเทศสูงแม้ราคาดิ่ง

จากรายงานของผู้ค้าส่งมะเขือเทศใน Thiri Marlar Wholesale Center ของเมืองมัณฑะเลย์ เผย แม้ความต้องการมะเขือเทศยังคงพุ่งสวนทางกลับราคาที่ดิ่งลง สังเกตได้จากรถบรรทุกระหว่าง 15 ถึง 20 คัน วิ่งมาถึงศูนย์ค้าส่งต่อวัน ปัจจุบัน แม้ว่าราคามะเขือเทศจะอยู่ระหว่าง 2,000 จัต เป็น 2,500 จัต ต่อกล่อง ขณะที่อัตราการติดเชื้อโควิด-19 ลดลง สิ่งที่ผู้ค้าต้องการคือการผ่อนปรนมาตรการในตลาด ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ซื้อและผู้ขาย ตลาด Thiri Marlar เป็นแหล่งซื้อขายผัดสดทุกประเภท โดยจะรับมะเขือเทศที่ปลูกจากเมืองอินเล, เมืองหยั่วหงั่น และเมืองเมเมียว มาเพื่อจำหน่าย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/demand-for-tomatoes-high-despite-prices-slump/#article-title

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา โตทะลุ 25%

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุ การส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (1 ต.ค.63 – 20 ส.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่า 4.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พุ่งขึ้น 25% ท่ามกลางการปิดด่านชายแดนสำคัญอย่างด่านมูเซ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าการส่งออกในกลุ่มอื่น ๆ มีแนวโน้มลดลงเป็นผลมาจากมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแถบชายแดนและต้นทุนการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงตัวเลขเพิ่มขึ้น 877 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 3.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน โดยในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรมีอนาคตที่สดใสที่สุด โดยคิดเป็น 34% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-agro-exports-grow-25-per-cent-as-of-20-aug/

ปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่งลง 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ณ วันที่ 20 สิ.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศมีมูลค่ารวม 35.41ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการส่งออกมีมูลค่า 16.98 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามีมูลค่า 18.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน การส่งออกลดลง 9.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้าลดลงเกือบ 6.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียนมาส่งออกสินค้าไปยังบังกลาเทศทั้งทางทางทะเลและทางบก ซึ่งการค้าชายแดนส่วนใหญ่ผ่านเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ สินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งและปลาน้ำเค็ม ลูกพลัมแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพลัม รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-border-trade-decreases-16-mln-this-fy-2/