เครื่องบิน ATR ลำใหม่ของ MNA

สายการบินประจำชาติแห่งเมียนมา (MNA) ได้รับเครื่องบินซีรี่ส์ใหม่ ATR 72-600 จาก บริษัท ATR ของฝรั่งเศส MNA จำนวน 10 ลำ ประกอบด้วย ATR 72-600 series และเครื่องบิน ATR 72-500 Series โดยเครื่องบินใหม่จะถูกเพิ่มในเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศ เครื่องบินดังกล่าวบินมาจากตูลูสประเทศฝรั่งเศสและใช้เวลาสามคืนในสนามบินกรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดียก่อนบินไปย่างกุ้ง โดยสายการบินได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อเครื่องบิน ATR 72-600 series จำนวน 6 ลำจาก ได้เปิดศูนย์ซ่อมบำรุงที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งซึ่งได้รับการยอมรับจากสำนักงานความปลอดภัยการบินแห่งยุโรป (EASA) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารวมถึงการตรวจสอบ 8 ปีมีมูลค่าสูงกว่า 700,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2007 และมากกว่า 400,000 เหรียญสหรัฐสำหรับรุ่นปี 2010 ของสิงคโปร์ การบำรุงรักษาของมาเลเซียจะมีราคาสูงกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2012 ส่วนของเมียนมาจะอยู่ที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mna-receives-new-atr-plane

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมากำลังเจอความท้าทาย

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมาได้เพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น บริษัท ซูซูกิเมียนมาร์มอเตอร์ จำกัด ผลิตรถยนต์ 15,000 คันเมื่อเทียบกับ 12,000 คันในปี 61 หรือเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบเป็นรายปีและเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาในปีนี้โดยมีออเดอร์การผลิต 60% ของความต้องการในประเทศ ที่ผ่านมา Suzuki Myanmar เปิดโรงงานในเมือง South Dagon ของย่างกุ้งในปี 56 และย้ายโรงงานไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา เพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น แต่คำเตือนของฟิทช์โซลูชั่นส์ระบุว่าการเติบโตอาจเจออุปสรรค เช่น ระบบธนาคารที่ด้อยพัฒนา การเข้าถึงเครดิตของผู้บริโภคและเส้นทางคมนาคมที่ล้าหลัง จากการคาดการณ์เมียนมามีรถ 26.5 คันต่อประชากร 1,000 คนในปี 62 ซึ่งต่ำกว่าไทยที่ 290 คันต่อประชากร 1,000 คน ในปี 61 ยอดขายรถยนต์ใหม่ 18,000 คัน ซึ่งมากกว่า 2.1 เท่าของปีที่แล้ว ภายในปี 63 มีการประเมินว่าจะมีรถใหม่มากกว่า 2 ล้านคัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกขึ้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ซึ่งจะผลิต Toyota Hilux ตั้งแต่เดือนก.พ. 64 เป็นต้นไป โรงงานแห่งใหม่มูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐใช้ประกอบรถ Hilux ได้ 2,500 คัน โดยใช้วิธี Semi Knocked Down (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/car-makers-local-production-despite-challenges.html

สปป.ลาวพยายามหาวิธีหนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะร่วมมือกันเพื่อจัดการกับปัญหาที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการสนับสนุนการขยายตัวของภาคบริการเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว จัดประชุมพิเศษซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นเวทีเปิดสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชนในการหารือเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวตลอดจนหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จัดการกับอุปสรรคและหาวิธีใหม่ ๆ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ในภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งจำนวนนักเดินทางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในทศวรรษหน้าเนื่องจากภูมิภาคอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตนี้ ดังนั้นแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวของสปป.ลาวจะกลับมาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ระหว่างการประชุมมีการนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาดและนักธุรกิจท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-seeks-ways-bolster-tourism-industry-105757

BCEL,EV Lao เป็นพันธมิตรในการผลิตสมาร์ทการ์ดเพื่อชำระค่าใช้จ่ายการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว และ บริษัท อีวีลาว จำกัด เป็นพันธมิตรในการผลิตสมาร์ทการ์ดเพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สมาร์ทการ์ดที่เสนอสำหรับการชำระค่าใช้จ่ายในการชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจะเชื่อมโยงระบบสมาร์ทการ์ดของ BCEL และระบบ EVBox ของ EV Lao นอกจากนี้กำลังร่วมมือกันในโครงการนำร่องที่จะเห็นการติดตั้งสถานีชาร์จ 20 แห่งสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าในเวียงจันทน์  โครงการยังวางแผนที่จะติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 100 คันในเวียงจันทน์และตามถนนสายหลักทั่วประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในสปป.ลาวและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของรัฐบาลเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยที่สุด

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bcel-ev-lao-produce-smart-card-electric-vehicle-charging-payments-105755

ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้มีการลงทุนในคลังสินค้าและโรงงานในกัมพูชา

ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์กำลังเรียกร้องให้มีการลงทุนในภาคบริการของกัมพูชาทั้งการให้บริการคลังสินค้าและการเช่าโรงงานเนื่องจากความต้องการสูง แต่ขาดตลาด โดย Sear Rithy ประธานกลุ่ม WorldBridge และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียงกล่าวในงานแสดงภาคอสังหาริมทรัพย์ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นโดย realestate.com.kh เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่านักลงทุนจำนวนมากต่างพากันหลั่งไหลเข้าสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยแนะให้นักลงทุนเห็นถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจโรงแรม คาสิโน โรงงานและคลังสินค้า ที่มีความน่าสนใจให้สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาคการขนส่ง และตอบรับต่อความต้องการที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศ ทั้งภาคการผลิตของจีนที่มีการย้ายฐานการผลิตมายังกัมพูชาที่มีความต้องการโรงงานและคลังสินค้าในการผลิตและจัดเก็บสินค้า โดยมองว่าคลังสินค้าหรือโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งรัฐบาลมีส่วนร่วมในการขอให้นักลงทุนสร้างโรงงานในแถบชานเมืองที่มีราคาที่ดินยังไม่สูงมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648875/experts-urge-investment-in-warehouses-and-factories/

บิ๊กซีจากประเทศไทยเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในกัมพูชา

บิ๊กซีห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่จากประเทศไทยเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในกัมพูชาในจังหวัดปอยเปต โดยได้ลงทุนไปกว่า 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการ มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำด้วยสินค้าที่หลากหลายราคาไม่แพง ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีในกัมพูชา คาดว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้จะช่วยสร้างงานกว่า 1,200 ตำแหน่ง และนำความก้าวหน้ามาสู่กัมพูชา โดยจังหวัดปอยเปตมีประชากรกว่า 200,000 คนระหว่างชายแดนไทยกัมพูชาและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้จังหวัดกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งจากไทย จีน และจากประเทศอื่นๆอย่างมาก โดยเมืองนี้มีโครงการที่จะสร้างคาสิโนในโรงแรม ศูนย์การค้า และการพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งได้รับการร่วมมือจากทางภาครัฐและภาคเอกชนกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งแรกในปอยเปตอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648873/thailands-big-c-opens-first-supermarket-in-cambodia/

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการคิดกลไกในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมกำลังทำงานร่วมกับสหพันธ์กรรมกรสปป.ลาวและผู้แทนภาคแรงงานในการร่างข้อเสนอแนะสำหรับการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ การกำหนดและการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มรายได้และปรับปรุงสวัสดิการของคนงานในระดับขั้นที่ต่ำที่สุด และยังลดความไม่เท่าเทียมกันและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางสังคม ระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการไตรภาคีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้เข้าร่วมประชุมหารือกันถึงความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มขึ้นในค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเป็นประเด็นสำคัญ การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนงานและบรรเทาความยากลำบาก ท่ามกลางค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นทุกเดือนและทุกปี อีกทั้งค่าแรงขั้นต่ำในสปป.ลาวต่ำกว่าที่จ่ายให้แรงงานในเมียนมา กัมพูชาและไทย มีการสำรวจทั่วประเทศเพื่อพิจารณาว่าค่าแรงขั้นต่ำที่มีอยู่เพียงพอสำหรับค่าครองชีพและพบว่าไม่ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน โรงงานและบริษัทหลายแห่งมีตำแหน่งงานว่าง แต่มีคนเพียงไม่กี่คนที่สนใจทำงานเพื่อรับค่าแรงต่ำ ผลักดันให้คนจำนวนมากข้ามพรมแดนไปหางานทำในประเทศไทยที่ค่าแรงสูงขึ้น  ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้อนุมัติการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่สามารถป้องกันการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/labour-ministry-mulls-mechanisms-setting-minimum-wage-105664

ตัวแทนหน่วยงานสหรัฐสนับสนุนการเฝ้าระวังโรคสัตว์ป่า ในสปป.ลาว 617,744 เหรียญสหรัฐ

สำนักงานลดภัยคุกคามด้านการป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้เงินสนับสนุนมากกว่า 5.4 พันล้านกีบ (617,744 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อพัฒนาโครงการเครือข่ายเฝ้าระวังโรคสัตว์ป่าแห่งชาติในสปป.ลาว MOU ได้มีการลงนามระหว่างรองหัวหน้าภาควิชาปศุสัตว์และประมงกระทรวงเกษตรและป่าไม้และผู้อำนวยการสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าสู่สปป.ลาว ภายใต้โครงการซึ่งดำเนินไปจนถึงเดือนธันวาคม 65 สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าจะทำงานร่วมกับหน่วยงานลดภัยคุกคามเพื่อสร้างขีดความสามารถภายในหน่วยงานภาครัฐและสถาบันต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพสัตว์ป่าระดับประเทศที่มีประสิทธิภาพ ระเบียบด้านสุขภาพ (IHR2005) และองค์การโลกสำหรับแนวทางสุขภาพสัตว์ การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการเฝ้าระวังโรคสัตว์ป่าและการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มนี้จะสนับสนุนรัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามของโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นใหม่ต่อสุขภาพของประชาชนความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการนี้นำโดยห้องปฏิบัติการสุขภาพสัตว์แห่งชาติสปป.ลาว มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถภายในรัฐบาลเพื่อดำเนินการเฝ้าระวังสัตว์ป่าในระดับประเทศ งานนี้จะค้นหาเชื้อโรคที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของสัตว์และผู้คนตามลำดับความสำคัญที่กำหนดโดยรัฐบาล

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/us-agency%E2%80%99s-617744-supports-lao-wildlife-disease-surveillance-105666

Moody’s ยังคงจัดอันดับของกัมพูชาไว้ที่ B2

Moody’s ยังคงยืนยันจัดอันดับเครดิตผู้ออกตราสารหนี้ระยะยาวไว้ที่ระดับ B2 ของกัมพูชาจากการเติบโตของ GDP ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่ง รวมถึงหนี้สินภาครัฐที่ค่อนข้างต่ำ โดยมองว่าการลดทอนสิทธิประโยชน์ทางภาษี (EBA) จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกทั้งสิ่งทอเสื้อผ้าและรองเท้าที่ทำการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดเสถียรภาพได้ คือการขาดดุลทางการคลังเล็กน้อยเนื่องจากส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรักษาระดับการชำระภาษีให้สูงและหนี้สินภาครัฐในระดับที่ต่ำ โดยเชื่อว่าการเติบโตที่ชะลอตัวในจีนอาจนำความเสี่ยงต่อเนื่องมาถึงกัมพูชาเนื่องจากมีการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ซึ่ง Moody’s ได้คาดการณ์การเติบโตของ GDP ไว้ที่ 7% ภายในปี 2562 และ 5.5% สำหรับปี 2563 จาก 7.5% ในปี 2561 ซึ่งอัตราการเติบโตอาจจะดูชะลตัวลงแต่กัมพูชาก็ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตสูง โดยการปรับอันดับเครดิตอาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างที่ชี้ไปที่ความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นและเป็นการลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิจและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648299/moodys-maintains-cambodias-b2-rating-says-outlook-stable/

การจัดตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลของกัมพูชา

รัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างกระทรวง เพื่อทำงานในการรวบรวมร่างกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลและนโยบายรัฐบาลดิจิทัล โดยคณะกรรมการนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังเป็นประทานในการประชุม ซึ่งคณะกรรมการได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หลักในการรวบรวมและร่างกรอบนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลและกรอบนโยบายดิจิทัลเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อตรวจสอบการอนุมัติ โดยคณะกรรมการจะจัดตั้งคณะทำงานแยกออกเป็นสองกลุ่ม คือด้านนโยบายเศรษฐกิจนำโดยสภาเศรษฐกิจแห่งชาติสูงสุดและอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ด้านนโยบายรัฐบาลนำโดยกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ซึ่งมองว่ากัมพูชากำลังจะเริ่มนำวิธีการทำธุรกิจที่ชาญฉลาดมาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น รวมถึงมีนวัตกรรมมามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งขึ้น แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญทางดิจิทัลมากขึ้นและเศรษฐกิจที่มั่นคงมากขึ้น โดยจะมีการเชื่อมต่อรวมถึงการสร้างเครือข่ายข้อมูลการบริหารระดับชาติที่เชื่อมต่อทุกสำนักงานของเมืองหลวงแต่ละแห่งใน 25 จังหวัดภายใต้กรอบรัฐบาลดิจิทัล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648297/digital-economy-committee-formed/