BOI ไฟเขียว ‘เชอรี’ ค่ายรถระดับโลกจากจีน ตั้งฐานผลิต EV พวงมาลัยขวาในไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ผลจากความพยายามในการดึงการลงทุนจาก บริษัท Chery Automobile ให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ได้ประสบความสำเร็จตามแผนที่หารือกัน โดย Chery (เชอรี) ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของจีนและเป็นผู้นำเทคโนโลยียานยนต์ระดับโลก ที่มียอดการส่งออกรถยนต์เป็นอันดับ 1 มาอย่างต่อเนื่อง 21 ปี โดยในปี 2566 Chery มียอดส่งออกกว่า 1.8 ล้านคัน ได้ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชนิดพวงมาลัยขวา เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง โดยโครงการนี้ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเมื่อวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา สำหรับแผนการลงทุนของบริษัท Chery Automobile ในประเทศไทย จะดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อบริษัท “โอโมดา แอนด์ เจคู (ประเทศไทย)” ซึ่ง OMODA และ JAECOO เป็นแบรนด์ของ Chery สำหรับทำตลาดในต่างประเทศ โดยจะตั้งโรงงานที่จังหวัดระยอง ในเฟสแรก ภายในปี 2568 จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบ BEV และ HEV ปีละประมาณ 50,000 คัน และในเฟสที่ 2 ภายในปี 2571 จะขยายกำลังการผลิตถึงปีละ 80,000 คัน สำหรับการส่งเสริมโครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV) บีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมรวมทั้งสิ้น 26 โครงการ จาก 19 บริษัท รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 80,000 ล้านบาท

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1123160

‘VinFast’ รถไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม เจาะตลาดรถยนต์ EV ในไทย

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม แข่งขันกับบริษัทรถยนต์จีนในการเจาะตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายที่จะใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ทางบริษัทวางแผนที่จะส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ไปยังไทย ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนก่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ นายวู ดัง เยน ฮัง (Vu Dang Yen Hang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของวินฟาสต์ ประเทศไทย กล่าวว่ารัฐบาลไทยสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และตลาดไทยเป็นเป้าหมายของบริษัท เนื่องจากตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ ทางบริษัทเริ่มเจรจากับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนให้แก่บริษัทต่างชาติ

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/motoring/2770804/vietnams-vinfast-focusing-on-thailands-ev-market

‘VinFast’ รถไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม รุกหน้าเปิดร้านตัวแทนจำหน่ายแห่งแรกในอินโดนีเซีย

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม ประกาศร่วมมือกับบริษัทในท้องถิ่น ‘PT Gallerie Setia Utama’ ในการเปิดร้านตัวแทนจำหน่ายแห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเดป็อก (Depok) จังหวัดชวาตะวันตก โดยร้านตัวแทนจำหน่ายจะเริ่มจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า รุ่น VF5 และ VF e34 ขณะที่บริษัทวินฟาสต์มีแผนที่จะขยายเครือข่ายการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในหัวเมืองใหญ่ของประเทศอินโดนีเซีย

ทั้งนี้ นาย Nguyen Duc Thanh รองประธานกรรมการบริหารของบริษัทวินฟาสต์ กล่าวว่าการเปิดตัวตัวแทนจำหน่ายของอินโดนีเซียในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของบริษัทในการนำรถยนต์ไฟฟ้าคุณภาพสูงและการให้บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมนำเสนอสู่ผู้บริโภค

นอกจากนี้ วินฟาสต์ วางแผนที่จะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้า มูลค่ากว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 200 เฮคเตอร์ในเบอกาซี และจะจัดหารถยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซียและออสเตรเลีย รวมถึงแบตเตอรี่ EV และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า

ที่มา : https://jakartaglobe.id/business/vietnams-vinfast-opens-first-dealer-store-in-indonesia

‘วินฟาสต์’ ผู้ผลิตรถ EV สัญชาติเวียดนาม วางขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทย

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติเวียดนาม ประกาศเมื่อวันอังคารว่าทางบริษัทวางแผนที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในไทย และร่วมมือกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในการเปิดโชว์รูม อย่างไรก็ดี วินฟาสต์ที่เริ่มส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อปีที่แล้ว เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดไทยจากคู่แข่งรถยนต์สัญาชาติจีน ‘บีวายดี’ รวมถึงเทสลา ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่จากสหรัฐฯ ก็เริ่มเข้าสู่ตลาดรถยนต์นี้ ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหมดจะเข้าร่วมงานบางกอก มอเตอร์โชว์

ทั้งนี้ จากรายงานของ เคาน์เตอร์พอยต์ รีเสิร์ช บริษัทวิจัยตลาด เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทย คิดเป็นสัดส่วน 58% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2565 แซงหน้าเวียดนามและอินโดนีเซีย แต่ว่าเมื่อพิจารณามูลค่าของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ยังคงมีสัดส่วนเล็กน้อยที่ 0.5% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าโลกในปี 2565

ที่มา : https://www.khaosodenglish.com/news/2024/03/27/vietnamese-automaker-vinfast-to-start-selling-evs-in-thailand/

‘วินฟาสต์’ ปักหมุดร่วมงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากเวียดนาม จะเข้าร่วมงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 27 มี.ค. – 7 เม.ย. นับเป็นครั้งแรกของค่ายรถยนต์ชื่อดังของเวียดนามที่จะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในเอเชียตะวันออกเฉีนงใต้ มีรถยนต์หลายรุ่น ได้แก่ รถเอสยูวีไฟฟ้าขนาดเล็ก (Mini e-SUV), VF 3, VF 5, VF e34, VF 6, VF 7, VF 8 และ VF 9 เป็นรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่ม E-SUV รวมถึง VF Wild รถกระบะไฟฟ้า

ทั้งนี้ Ms. Vu Dang Yen Hang ผู้อำนวยการทั่วไปของ VinFast ประจำประเทศไทย กล่าวว่าการเปิดตัวแบรนด์ VinFast ในประเทศไทย จะเป็นก้าวสำคัญทางกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็ช่วยยกระดับการแสดงตัวตนของบริษัทที่จะเป็นศูนย์กลางรถยนต์ที่มีชีวิตชีวามากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://dtinews.dantri.com.vn/en/news/018/88023/vinfast-to-attend-45th-bangkok-international-motor-show.html

‘วินฟาสต์’ ประกาศความร่วมมือกับจ๊อสพอง รุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในแอฟริกา

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากเวียดนาม ได้ประกาศลงนามข้อตกลงการจัดจำหน่ายกับกลุ่มบริษัทจ๊อสพอง (Jospong Group of Companies) หนึ่งในบริษัทที่มีธุรกิจหลากหลายในสาธารณรัฐกานา เพื่อจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศและกลุ่มประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก รวมถึงวางแผนที่จะวางโครงสร้างพื้นฐานชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดรถรถยนต์ไฟฟ้า โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทที่จะเสนอโซลูชั่นการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันทางบริษัทสามารถเข้าถึงศักยภาพตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในแอฟริกาได้อีกด้วย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vinfast-announces-partnership-with-first-ev-distributor-in-africa-post1083008.vov

‘วินฟาสต์’ เตรียมตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของเวียดนาม เตรียมดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจรในเมืองทุติโคริน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย โดยจากการลงทุนในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ระหว่างวินฟาสต์และรัฐทมิฬนาฑู ได้มีส่วนสำคัญในการผลักดันเส้นทางการขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอินเดียและภูมิภาค ทั้งนี้ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในวันที่ 6 ม.ค. ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งไปที่การก่อสร้างโรงงาน EV ในเฟสแรกกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัทที่จะขยายกิจการไปยังทั่วโลกและทิศทางของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจร จะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นประมาณ 3,000-3,500 ตำแหน่ง ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการในอินเดีย แต่ยังรองรับในการส่งออกไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vinfast-to-break-ground-on-integrated-electric-vehicle-facility-in-india-post1078214.vov

การจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ จำนวน 5,308 คัน

ข้อมูลจากกรมบริหารการขนส่งทางถนนระบุว่า มีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ รวม 5,308 คันตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ถึงมกราคม 2567 ประกอบด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล EV 2,217 คัน รถบรรทุกขนาดเล็ก EV 11 คัน จักรยาน EV 2,836 คัน รถสามล้อ EV 244 คัน ได้รับการจดทะเบียนกับกรมแล้ว มีรถยนต์ EV หลายประเภท ซึ่งราคาอยู่ระหว่าง 80 ล้านจ๊าดถึง 200 ล้านจ๊าด โดยข่าวประชาสัมพันธ์ดังกล่าวระบุอีกว่าบริษัท 81 แห่ง ได้รับอนุญาตให้นำเข้าและขายรถยนต์ EV รวมทั้งมีการเปิดโชว์รูมแบรนด์รถยนต์ EV ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยที่ใบอนุญาตนำเข้าจะออกให้กับบริษัทที่ตรงตามข้อกำหนดเท่านั้น อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะพัฒนาภาคยานยนต์ EV คณะกรรมการกำกับดูแลแห่งชาติเพื่อการพัฒนายานพาหนะไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้กำหนดอัตราภาษีสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ และยังได้เชิญนักลงทุนในท้องถิ่นให้ลงทุนด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/different-types-of-5308-electric-vehicles-registered/#article-title

ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกให้สำหรับโชว์รูมรถยนต์

คณะกรรมการกำกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องระดับชาติประกาศว่า โชว์รูมรถยนต์จะได้รับการอนุมัติให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า เมื่อพบว่าเป็นไปตามกฎและข้อบังคับที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ได้อนุญาตให้บริษัท 83 แห่งดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัท 2 แห่งที่ดำเนินการสถานีชาร์จและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า ติดตั้ง และลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้จัดการประชุมร่วมกับบริษัทนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าในเดือนเมษายนและมิถุนายน และได้แจ้งแล้วไม่ให้กำไรเกินร้อยละ 20 จากราคา CIF หากบริษัทต่างๆ ละเมิดนโยบายเหล่านั้น พวกเขาจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการส่งออกและนำเข้า และถูกดำเนินการทางกฎหมายภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมายังออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่ายานพาหนะไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะ ได้รับการส่งเสริมเป็นสาขาสำคัญ นอกจากนี้ ในระหว่างขั้นตอนการก่อตั้งและหารือสำหรับการจัดตั้งบริษัทและการดำเนินงาน ธุรกิจเหล่านั้นสามารถขอใบอนุญาตจาก MIC เพื่อรับการผ่อนผันภาษีหรือสถานะภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ และการยกเว้นภาษีอื่น ๆ ที่เรียกเก็บในประเทศภายใต้มาตรา 77 (A) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา และ การยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้มาตรา 75 (C) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา สำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น อะไหล่ และวัตถุดิบในการก่อสร้างที่ไม่สามารถหาได้ในตลาดภายในประเทศ รวมทั้งตามที่กระทรวงการวางแผนและการเงินระบุว่า การยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า (EV) และส่วนประกอบต่างๆ ได้รับการขยายออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ev-import-licence-to-be-granted-for-car-showrooms/#article-title

รัฐบาลกัมพูชาตั้งคณะทำงานศึกษาการจัดทำนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า

รัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวก และพัฒนากรอบนโยบาย เพื่อการส่งเสริมภาคยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) กล่าวโดย Aun Pornmoniroth รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี MEF รวมถึงเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน (EFPC) ซึ่งได้ประกาศอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งทีมนโยบาย EV ประกอบด้วยสมาชิก 27 ท่าน นำโดย Ros Seilava รัฐมนตรีต่างประเทศ MEF โดยเน้นไปที่การพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมภาค EV ของประเทศ การลดต้นทุนการผลิต EV ซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชนมีต้นทุนในการเข้าถึง EV ที่ต่ำลง รวมถึงการเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานของชิ้นส่วนอะไหล่ ส่วนประกอบ และวัตถุดิบ ตลอดจนการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงโรงไฟฟ้าและการเชื่อมต่อโครงข่าย เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501433183/govt-forms-policy-working-group-to-promote-evs/