นครเหงะอานเวียดนาม เป็นเจ้าภาพงาน “Vietnam-Thailand Trade Forum”

จากงานสัมมนาเกี่ยวกับความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและเวียดนาม “VN-Thailand Trade Forum” ณ ศูนย์กลางจังหวัดเหงะอาน (Nghệ An), วันที่ 26-30 กันยายน 2562 ซึ่งกิจกรรมการสัมมนาในครั้งนี้ ระบุถึงกิจกรรมการค้าและการลงทุนของสหภาพสมาคมนักธุรกิจเวียดนามในต่างประเทศ (BAOOV) กับสหภาพสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม (BAOTV) โดยภายในงานจะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ และการจัดแสดงสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย ได้แก่  สินค้าเกษตรเทคโนโลยี การส่งออก-นำเข้า การเงิน และการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติการของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม พบว่าเวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอยู่ที่ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ประกอบการเวียดนามที่ส่งออกในต่างประเทศ ให้ยกระดับความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้สินค้าเป็นที่นิยมมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/524023/nghe-an-to-host-vn-thailand-trade-forum.html#08xdjgfYJpJLHo7s.97

สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังตลาดเวียดนามอย่างแข็งแกร่ง

สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา จากสถิติการค้าระหว่างประเทศ พบว่าในปี 2561 สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังเวียดนามประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น 4 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเวียดนามถือว่าเป็นตลาดสำคัญของสหรัฐอเมริกาที่เติบโตได้รวดเร็วที่สุด โดยสินค้าส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ฝ้าย เครื่องจักร ผลไม้ ถั่วเหลือง และธัญพืช เป็นต้น ในขณะที่ สินค้าเกษตรของทั้งสองประเทศถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยในปี 2561 มูลค่าการค้าอยู่ที่ 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ อยู่ในอันดับที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ทางสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา ประจำนครโฮจิมินห์ ระบุว่าศักยภาพการค้าระหว่างสองประเทศนั้น จะขยายตัวมากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต และจะมุ่งเน้นในการลดอุปสรรค/ปัญหาในการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190814/us-exports-to-vietnam-see-strong-growth-data/50980.html

สินค้าผ่านด่านมูเซลดลงถึงหนึ่งในสาม

จากการเข็มงวดของจีนเกี่ยวกับการค้าที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนมูเซซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน รวมถึงข้อห้ามที่ในการนำเข้าสินค้าเกษตรส่งผลกระทบต่อการส่งออกชายแดนของเมียนมา จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกลดลง 28.4% เป็นมูลค่า 2.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวันที่ 1 ต.ค.61 ถึง 2 ส.ค ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วการนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.5% มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การค้ารวมผ่านด่านมูเซมีมูลค่าถึง 4.42 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงเกือบ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ข้อจำกัดอีกอย่างคือสินค้าเกษตรอย่างข้าวและข้าวโพด เมื่อปี 61 ที่ผ่านมายอดส่งออกลดลงเพราะจีนปราบปรามการส่งออกที่ผิดกฎหมาย และเพื่อบรรเทาการส่งออกที่ลดลงรัฐบาลเมียนมาได้หารือกับจีนเพื่อแลกเปลี่ยนโควต้าสินค้าโดยได้ทำข้อตกลงกับจีนในการซื้อข้าว 100,000 ตันผ่านการค้าชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/exports-through-muse-down-third.html

ยอดการส่งออกข้าวเมียนมาลดลงกว่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามูลค่าจากการส่งออกข้าวและข้าวหักมีมูลค่า 597.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึง 2 ส.ค.62 ของปีงบประมาณ 61-62 มีรายรับ 597.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.978 ล้านตัน ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมามีรายรับ 950.661 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 1.801 ตันและข้าวหัก เมียนมาส่งออกข้าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปและแอฟริกาผ่านทางทะเลและไปยังจีนผ่านด่านการค้าชายแดน จากการขยายตลาดในปี 60-61  สามารถส่งออกข้าวได้เกือบ 3.6 ล้านตัน เป็นการทำลายสถิติในรอบ 50 กว่าปีที่ผ่านมา การนำเข้าที่หดตัวเพราะแนวโน้มนำเข้าของทั้งจีนและอียูลดน้อยลง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/rice-export-earnings-decline-by-over-350-m-usd

ข้อจำกัดของ SMEs สปป.ลาวที่ขัดขวางการดำเนินธุรกิจ

จากการสำรวจองค์กรธนาคารโลกพบว่าการเข้าถึงการเงินในสปป.ลาวทำได้ยากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ปัญหานี้เกิดจากการผสมผสานของปัจจัยที่มีอยู่ เช่น ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงมากขึ้นของภาคธนาคาร เป็นต้น การปฏิบัติของคู่แข่งในภาคนอกระบบ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ไม่ดี อีกทั้งการจัดหาไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ SMEs  ซึ่งการจัดการกับข้อจำกัดเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพของ SMEs สามารถทำได้โดยการปรับปรุงขีดความสามารถของ SMEs ในการวางแผนธุรกิจการจัดการทางการเงินและการใช้แนวทางการบัญชีที่เหมาะสม สองควรมีการกระจายผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของธนาคารและสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ควรปรับปรุงข้อมูลความครอบคลุมสินเชื่อของสถาบันการเงินและหน่วยงานกำกับดูแล การปรับปรุงประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของกระบวนการราชการอย่างเป็นทางการ และการลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายการกระจายพลังงานและการเชื่อมต่อไฟฟ้า การปรับปรุงประสิทธิภาพและโอกาสของ SMEs เป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มรายได้และคุณภาพของงานขณะเดียวกันก็ช่วยให้รัฐบาลเข้าใกล้เป้าหมายที่จะเพิ่มลาวให้พ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา :  http://annx.asianews.network/content/constraints-lao-smes-obstruct-business-operations-101968

IMF คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสปป.ลาวยังคงสดใส

IMF คาดการณ์แนวโน้มที่ดีสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว ถึงแม้จะมีปัญหาในปัจจุบัน IMF ได้คาดการณ์การลงทุนภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง การส่งออกไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและความสำเร็จของการรถไฟสปป.ลาว – ​​จีน จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็น 7% ในระยะปานกลาง การขยายตัวของจีดีพีลดลงมาอยู่ที่ 6.3% ในปี 61 ลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปี 60 การชะลอตัวนั้นเป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ในปีนี้รัฐบาลได้ระงับโครงการลงทุนสาธารณะใหม่และกำหนดงบการเงินรวม และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะยังคงอยู่เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการนำเข้า การสนับสนุนจากความพยายามในการปรับปรุงการบริหารรายได้และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและแผนการของรัฐบาลในการลดการรับสมัครงานกับข้าราชการพลเรือน การใช้จ่ายเงินทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ แต่แม้จะมีแนวโน้มที่ดีสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง สปป.ลาวยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระหว่างประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos184.php

กัมพูชาและมาเลเซียหารือเกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนรถจักรยาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พบกับเอกอัครราชทูตมาเลเซียในกรุงพนมเปญเพื่อพิจารณาการจัดตั้งโรงงานหลายแห่งในกัมพูชาเพื่อผลิตชิ้นส่วนจักรยาน โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกจักรยานถึง 1.52 ล้านคัน ไปยังสหภาพยุโรปมูลค่ารวมกว่า 331 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานของธนาคารโลก ซึ่งในปี 2560 กัมพูชาได้กลายเป็นซัพพลายเออร์รถจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปแซงไต้หวัน ซึ่งโฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าการมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนจักรยานมากขึ้นจะช่วยลดต้นทุนสำหรับผู้ผลิตจักรยานและเป็นการปรับห่วงโซ่อุปทาน โดยทางกัมพูชาได้แก้ไขกฎหมายการลงทุนและยังคงทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกทางธุรกิจในประเทศด้วยความคิดริเริ่มหลายประการรวมถึงการแนะนำแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการลงทะเบียน ความคิดริเริ่มเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50633656/cambodia-malaysia-discuss-bike-parts-manufacturing/

การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรกจากรายงานของสภาธุรกิจแห่งกัมพูชา (TBCC) โดยเผยการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งปีแรกสูงถึง 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่งออกไปยังไทยมูลค่า 685 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 52% ในทางตรงกันข้ามนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น 1% โดยกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก เช่นข้าวโพด ,มันสำปะหลัง และถั่วเหลือง ส่วนนำเข้าจะเป็นจำพวกเครื่องจักร ,อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ,น้ำมันเตา ,วัสดุก่อสร้าง ,เครื่องสำอางและเครื่องใช้ในบ้าน จากประเทศไทย ซึ่งเมื่อปีที่แล้วทั้งสองประเทศได้ลงนามใน “ยุทธศาสตร์การขยายตัวของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจังหวัดชายแดน” เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนตามแนวชายแดน โดยกัมพูชาและไทยได้ตกลงที่จะขยายการค้าทวิภาคีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50633275/cambodia-thailand-trade-sees-steady-growth/

“ดัชนีหอการค้าไทย” เผย ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว

รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผย ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2562 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในเดือนกรกฎาคม ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 46.7 จากระดับ 47.1 ในเดือนมิถุนายน โดยเป็นดัชนีที่ต่ำสุดในรอบ 18 เดือน และมีดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในอนาคตปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.2 จากระดับ 48.7 ในเดือนมิถุนายน โดยมีความกังวลต่อปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการส่งออก สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรทำให้เกิดความเสียหาย และการส่งออกของประเทศไทยในเดือนมิถุนายนและในช่วงครึ่งปีแรกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง สถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ยังคงมีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หอการค้าไทยจึงต้องการให้ภาครัฐดูแลปัญหาในเรื่องของค่าเงินบาทในปัจจุบันที่เริ่มมีทิศทางอ่อนค่าลง ให้อ่อนค่าอย่างมีเสถียรภาพ ต้องการให้พัฒนาเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวมากยิ่งขึ้นพร้อมกับแก้ไขปัญหาต้นทุนราคาสินค้า ออกมาตรการและวางแผนในการเฝ้าระวังเพื่อแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ รวมทั้ง กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนซื้อสินค้าและท่องเที่ยวในประเทศเพื่อเป็นการกระจายเม็ดเงินให้ได้อย่างทั่วถึง

ที่มา : https://www.facebook.com/ThaiChamber/

ค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนบูม

จากการเสนา “CLMV Cross-Border Digital Trade” โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่าในปัจจุบันตลาดซื้อขายออนไลน์ของไทยโตขึ้นปีละ 30% มูลค่ากว่า 2 แสนล้านต่อปี เป็นรูปแบบ business-to-consumer (B2C) การขายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจในลักษณะนี้ โดยผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่ม Startup ต้องเน้นเจาะตลาดกลุ่มพฤติกรรมที่ชื่นชอบผ่าน 3 ชองทางที่มาแรง ได้แก่ ผ่านโซเชียล (50%) ,e-Market place (30%), Online Platform (20%) โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กลุ่มแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขณะที่ตลาด CLMV ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาระบบ ซึ่งตลาดรวมยังน้อยกว่าไทย ส่วนใหญ่ธุรกิจที่ไปลงทุนเป็นโซเลียลมีเดีย โดยปัจจุบันตลาดอินโดนีเซียน่าสนใจไม่แพ้เวียดนาม เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ ทั้งนี้ นโยบายปั้นสตาร์อัพที่ภาครัฐผลักดันถือว่ามาถูกทาง แต่ควรมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง และผู้ประกอบการต้องสร้างอัตลักษณ์ตัวตนให้ชัดเจน สิ่งสำคัญ คือรัฐ และเอกชนต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 15-18 ส.ค. 2562