ธุรกิจทอเสื่อเพิ่มรายได้เสริมให้ครอบครัวในเมืองตะด้าอู้

ชาวเมืองตะด้าอู้หารายได้เสริมจากธุรกิจทอเสื่อธินฟู่ ซึ่งชาวเมียนมาส่วนใหญ่นิยมใช้เสื่อทินฟู่เป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน วัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตจะใช้ต้นอ้อยดิบในการทอจากเมืองปันตานอว์ การทอสื่อหนึ่งผืนจะได้รับค่าแรง 2,500 จัต แม้ค่าจ้างจะน้อย แต่หญิงสาวในเมืองก็มีรายได้พิเศษเนื่องจากเป็นธุรกิจดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่วนราคาขายจะอยู่ที่ราคา 15,000 จัตต่อผืน เสื่อธินฟู่มีหลายขนาด ขนาดใหญ่สุดคือ 7 ฟุต นอกจากนี้เสื่อที่ใช้ในการนั่งสมาธิยังขายได้ในราคาถึง 3,000 จัตต่อผืน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mat-weaving-business-earns-extra-family-income-in-tada-u/

เกษตรกรเมืองยาง ปลื้ม ราคาผลผลิตฟักทองสีทองปีนี้ สร้างกำไรงาม

เกษตรกรเมืองยาง (Mongyang) ในรัฐฉาน (ตะวันออก) ปลื้มผลผลิตและราคาฟักทองพันธุ์สีทองพุ่งขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังการปลูก 120 วันโดยพื้นที่เพาะปลูกหนึ่งเอเคอร์สามารถให้ผลผลิตได้ประมาณ 2,000 ลูก ส่งผลให้แรงงานรายวันมีรายได้จากการเก็บผลผลิต 10,000 จัตต่อวัน  เมืองยางมีบทบาทในธุรกิจการเกษตร ซึ่งเกษตรกรปลูกหัวหอม พริก มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือยาว และถั่ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จากนั้นจึงจะเพาะปลูกฟักทองในฤดูหนาวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งปีนี้ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/farmers-from-mongyang-happy-with-golden-pumpkin-yield-prices-this-year/

ราคาถั่วลิมาในตลาดปะโคะกูลดลง ผลจากอุปทานล้นตลาด

ราคาถั่วลิมากำลังลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดถึง  40,000 visses ( 1 Viss เท่ากับ 1.65 กิโลกรัม) จากเเมืองเยซาเกียวตลาดปะโคะกู (Pakokku) ในเขตมะกเว ในทุกๆ วัน โดยราคาถั่วลิมาที่ตลาดปะโคะกู อยู่ที่ราคา 14,000 ต่จัตอตะกร้า แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่ามีการบริโภคน้อยภายในประเทศและส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย จีน และประเทศในยุโรป ปีที่แล้วราคาอยู่ที่ 15,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วลิมา 1 ตะกร้ามี 19 visses จากข้อมูลพบว่าราคามาลดลง 1,000 จัตต่อตะกร้าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lima-bean-price-drops-due-to-immense-supply-into-pakokku-market/#article-title

ค้าชายแดนระนอง‘คึก’ ‘เมียนมา’ติดหล่มวิกฤติ เร่งสั่งสินค้าทะลัก

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาด้านจังหวัดระนอง ที่ขนส่งกันทางเรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซบเซาลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า ต่อด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายหลังคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้การค้าชายแดนด้านจังหวัดระนองเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 กระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นวิกฤติรุนแรงยืดเยื้อ ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะกระทบถึงการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วิกฤติการเมืองในประเทศเมียนมา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ไม่กระทบต่อบรรยากาศการค้าชายแดนด้านระนอง แต่กลับส่งผลให้มีความคึกคักมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2564 ที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ในเมียนมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประท้วงมีการยกระดับการชุมนุม โดยเฉพาะการนัดหยุดงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สินค้าในเมียนมาเกือบทุกรายการมีการปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืชและข้าวสาร ที่ปรับขึ้นถึง 20-30%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/474656

เกษตรกรเมืองยองปลูกพริก สร้างสร้างกำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกพริกจากเมืองยองในรัฐฉานตะวันออก กำลังเก็บเกี่ยวพริกและมีรายได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน นอกจากการปลูกพืชตามฤดูกาล เช่น แตงกวา ฟักทอง มะเขือเทศ แตงโม และเมล่อน ส่วนพริกจะมีกรปลูกหลากหลายสายพันธ์ โดยทำการปลูกในพื้นที่ปิดหลังจากนั้น 15 วันจะถูกย้ายลงแปลงปลูกและรดน้ำทุกๆ 5 วัน แม้ว่าจะมีราคาอยู่ถึง 5,000 จัตต่อกิโลกรัมต่อกิโลกรัมในฤดูเก็บเกี่ยว แต่เเร็ว ๆ นี้ราคาได้ลดลงเหลือประมาณ 2,000 จัตต่อกิโลกรัม ปัจจุบันเมียนมาส่งออกพริกสดไปยังจีนและไทย ซึ่งการส่งออกไปไทยจะผ่านชายแดนเมียวดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chilli-growers-from-mong-yawng-earning-regular-income/

เกษตกรเมืองเจาะแซ ปลูกฝรั่งเสริมรายได้ให้ครัวเรือน

เกษตรกรในท้องถิ่นกำลังหารายได้พิเศษจาก การปลูกฝรั่งกิโลในเมืองเจาะแซ นอกจากการเพาะปลูกข้าวที่เป็นอาชีพหลักและยังปลูกพืชตามฤดูกาลอื่นๆ เช่น ไผ่ กล้วย ถั่วเขียว พริกและขมิ้น ก่อนหน้าราคาลดต่ำลงอย่างมากจากการระบาด COVID-19 และมีผู้ขายจำนวนมากขายใกล้เจดีย์ ฝรั่งมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศ ส่วนใหญ่ผู้ค้าปลีกมักขายในตลาดและใกล้ป้ายรถเมล์

ที่มา: https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/gnlm/wp-content/uploads/2021/04/2_April_21_gnlm.pdf

ด่านชายแดนตามูเมียนมา-อินเดีย ยังถูกสั่งปิด

นาย U Kyaw Win Oo ผู้ดูแลเขต Tamu กล่าวว่าพื้นที่ชายแดนเมืองตามู ในเขตสะกาย ระหว่างเมียนมาร์และอินเดียยังถูกสั่งปิดต่อไป ส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าของใช้ส่วนตัว เครื่องครัว ผักและผลไม้ ถั่ว หัวหอม กระเทียม และถั่วลันเตา ส่วนการนำเข้าอาหาร เสื้อผ้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รถมอเตอร์ไซด์ เส้นด้าย ฝ้าย เหล็กที่ไม่ใช่โลหะผสมและ วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ รัฐบาลเมียนมาปิดจุดผ่านแดนตั้งแต่วันที่ 14 ถึงสิ้นเดือนมีนาคม ซึ่งเกือบ 60% ของชาวท้องถิ่นการดำรงชีพขึ้นอยู่กับการค้าชายแดน ทั้งนี้แดนเมียนมาร์ – อินเดียส่งผลต่อการค้าขายของคนในพื้นที่ ณ วันที่ 19 มีนาคม 64 ปีงบประมาณ 63-64 การค้าชายแดนของทั้ง 2 ประเทศมีมูลค่ารวม 145 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/tamu-border-still-requested-to-close/#article-title

เกษตรกรบ้านเมาะ “ปลูกแตงโม” สร้างยอดขายกำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกแตงโม (แตงโมยักษ์ไต้หวัน) เมืองบ้านเมาะ เขตสะกายมีรายได้จากยอดขายที่พุ่งขึ้น หลังการเพาะปลูกข้าวเกษตรกรบ้านเมาะใช้เวลาปลูกแตงโมงเป็นเวลา 100 วัน ราคาขายจะอยู่ระหว่าง 2,500 ถึง 4,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด สามารถทำกำไรได้ปีละ 1 ถึง 1.5 ล้านจัต นอกจากนี้การปลูกแบบปลอดสารเคมียังดึงดูดผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับการดำรงชีพและเศรษฐกิจและสังคมของคนในท้องถิ่น ขณะนี้รถบรรทุกแตงโมมากกว่า 1,000 คันติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ในเมืองมูเซ รถบรรทุกกว่า 200 คันกำลังแล่นผ่านชายแดนเมียนมา-จีน ส่งผลให้ส่งผลให้แตงโมเกินความต้องการอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบตลาด ซึ่งตลาดแตงโมพึ่งพาจีนเป็นหลัก ในเดือนธันวาคม 63 และมกราคม 64 เมียนมาได้ส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบ และมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรได้รับความเสียหายจากราคาที่ไม่แน่นอนและปัญหาการขนส่งจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมยกเว้นรัฐกะยาและชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/1-april-2021/#article-title

กระทรวงเกษตรฯ เมียนมา หารือการปลูกพืชแบบผสมผสานในเขื่อน Chaung Ma Nge

เมื่อวานนี้กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานจัดการประชุมเพื่อหารือและจัดตั้งการปลูกพืชแบบผสมผสานและการพัฒนาแบบครบวงจรในพื้นที่เขื่อน Chaung Ma Nge เพื่อเพิ่มรายได้ของชาวบ้านนอกเหนือจากการเกษตรการ โดยใช้เทคนิคที่ทันสมัยและเครื่องจักรในการทำฟาร์ม ภาคเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตในท้องถิ่น และการเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้า ปีนี้เขื่อน Chaung Ma Nge ปล่อยน้ำในการทำนาข้าวฤดูร้อนได้ 4,200 เอเคอร์ ปัจจุบันสามารถกักเก็บน้ำได้ 40,870 เอเคอร์ เขื่อนสร้างเสร็จในปี 49-50 สามารถปล่อยน้ำเพื่อการเกษตรได้ 7,219 เอเคอร์ และยังผลิตไฟฟ้าผ่านกังหันลมให้หมู่บ้านอีก 50 กิโลวัตต์

ที่มา : https://cdn.myanmarseo.com/file/client-cdn/gnlm/wp-content/uploads/2021/03/31_Mar_21_gnlm.pdf

ธนาคาร KBZ จำกัดการถอนเงินผ่าน ATM ได้สูงสุด 200,000 จัตต่อวัน

ธนาคาร KBZ ประกาศในวันนี้ (30 มีนาคม) ลูกค้าของธนาคารสามารถถอนเงินจากตู้ ATM ของธนาคารได้สูงสุด 200,000 จัตต่อวัน บริการด้านการธนาคารในบางสาขา ได้แก่ การเปิดบัญชีผ่าน Mobile Banking / KBZPay และบัญชีธนาคารอื่น ๆ โอนเงินระหว่างบัญชี (ดอลลาร์สหรัฐ – จัจ และ จัต – ดอลลาร์สหรัฐ การออกใบชำระเงินการออกบัตร ATM สาขาย่างกุ้ง สาขามัณฑะเลย์ และพินอูลวิน เปิดให้บริการในวันที่ 30 มีนาคม 64 และบางสาขาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน ตามประกาศของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 64 ธนาคารเอกชนได้รับอนุญาตให้ถอนเงินได้สูงสุด 500,000 จัตต่อวัน

ที่มา : https://news-eleven.com/article/206389