ลือ กลุ่ม KIA ปิดตลาดหยกด่าน Kye gaung

จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในเมืองมูเซ ตลาดหยกทั้งหมดด่าน Kyegaung ชายแดนเมียนมา – จีน จึงปิดทำการในเช้าวันนี้ นอกจากนี้ตำรวจจีนยังเผยว่าห้ามประชาชนไม่ให้จัดการชุมนุมในที่สาธารณะและกำลังสุ่มตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ของประชาชนบนท้องถนน มีข่าวลือว่ากองทัพคะฉิ่นอิสระ (Kachin Independent Army : KIA) จะเข้ามาที่มูเซตลาดหยกทั้งหมดถูกปิด ยิ่งไปกว่านั้นมีการต่อสู้ระหว่างทหารเมียนมาและ KIA ในมูเซในตอนเย็นของวันที่ 28 มีนาคม จึงได้มีมาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/kia-rumours-close-jade-markets-in-kyegaung

กองทัพพม่าโจมตีทางอากาศทำชาวบ้านในรัฐกะเหรี่ยงหนีเข้าไทยกว่า 3,000 คน

กองทัพพม่าเปิดฉากโจมตีทางอากาศใน 5 พื้นที่ของอ.มูตรอ (Mutraw) ใกล้ชายแดน รวมทั้งค่ายผู้พลัดถิ่น ตามการระบุขององค์กรสตรีกะเหรี่ยง ขณะนี้ชาวบ้านกำลังซ่อนตัวอยู่ในป่า และมากกว่า 3,000 คน ข้ามเข้าไปในฝั่งไทยเพื่อหลบภัย ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสรายงานว่ามีคนเดินทางเข้ามาถึงฝั่งไทยราว 3,000 คน ทหารของฝ่ายสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ถูกสังหารอย่างน้อย 2 นาย ในการโจมตีทางอากาศของกองทัพพม่าเมื่อวันเสาร์ (27) พลเรือนอย่างน้อย 3 คน ถูกสังหารในหมู่บ้านที่สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงควบคุมอยู่ ตามการระบุของกลุ่มประชาสังคม โดยกองกำลังติดอาวุธกล่าวก่อนหน้านี้ว่ากลุ่มได้โจมตีฐานทัพทหารใกล้ชายแดน และทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน การโจมตีทางอากาศถือเป็นการโจมตีครั้งสำคัญที่สุดในรอบหลายปีในภูมิภาคนี้ ด้วยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงได้ลงนามข้อตกลงหยุดยิงในปี 2558 แต่ความตึงเครียดเพิ่มสูงขึ้นหลังกองทัพโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของอองซานซูจีเมื่อวันที่ 1 ก.พ. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกล่าวว่ามีประชาชนหลายร้อยคนอาศัยหลบภัยอยู่ในพื้นที่ หลังหลบหนีออกจากพื้นที่ทางภาคกลางของประเทศท่ามกลางความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา: https://mgronline.com/indochina/detail/9640000029681

พนักงานกระทรวงพลังงานและไฟฟ้า เผยถูกกดดันให้ยุติการประท้วง

เนปยีดอ – พนักงานกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานออกมาให้ข้อมูลว่าพวกเขาถูกกดดันให้กลับไปทำงาน พนักงานของ Electric Power Generation Enterprise (EPGE) ราว 150 คนที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพกล่าวว่าพวกเขาได้รับโทรศัพท์มาข่มขู่ว่าจะฟ้องร้องหากไม่กลับไปทำงานและได้รับคำสั่งให้ออกจากที่พักของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งพนักงานยังกล่าวอีกว่าต้องได้รับจดหมายอย่างเป็นทางการตามระเบียบของทางราชการก่อนถึงจะออกไป พนักงานส่วนใหญ่ที่หยุดงานประท้วงเป็นพนักงานระดับล่างและถูกกดดันจากผู้จัดการซึ่งเลือกที่จะทำตามระบอบของรัฐบาลทหาร โครงการส่วนใหญ่ของกระทรวงหยุดชะงักเนื่องจากการเคลื่อนไหวอารยะขัดขืนต่อต้านระบอบการปกครองซึ่งเริ่มต้นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ด้านกระทรวงคมนาคมและการสื่อสารการรถไฟและหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ได้ไล่พนักงานที่ออกมาเคลื่อนไหวหลายร้อยคนออกจากที่พักเป็นที่เรียบร้อย ในปี 2531 พนักงานของรัฐที่ออกมาต่อต้านกองทัพหลายคนถูกไล่ออก ลดตำแหน่ง หรือย้ายไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกล

ที่มา : https://www.irrawaddy.com/news/burma/myanmar-energy-electricity-staff-pressured-end-strike.html

EDF พักโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเมียนมา

Electricite de France SA (EDF) หนึ่งในบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปสั่งเบรคโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทค้าขายสินค้าอุปโภค-บริโภคจากญี่ปุ่นอย่าง Marubeni ซึ่งการเบรคโครงการมีผลจากการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว Marubeni เป็นกลุ่มที่ผลักดันให้สร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำเชวลี (Shweli) ในรัฐฉาน รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน EDF บริษัทได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 671 เมกะวัตต์ภายในปี 2569 ด้วยต้นทุนประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในเมียนมา EDF ได้แจ้งว่าเพื่อเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนในเมียนมาจึงได้ระงับโครงการไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรึกษากับรัฐบาลฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปเพื่อเผ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด Marubeni ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการรวมถึงขนาดของการลงทุน ซึ่งในการแถลงการล่าสุดบริษัทจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้ประเมินทิศทางในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/marubeni-involved-hydropower-project-in-myanmar-to-be-frozen

ขนส่งทางบกเมียนมาเปิดอีกครั้ง เพื่อต่ออายุใบขับขี่ในประเทศ

สำนักงานขนส่งทางบกเมียนมาร์เปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 22 มีนาคม 64 ซึ่งตอนนี้ให้บริการเพียงอย่างเดียวนั่นคือการต่อใบอนุญาตของยานยนต์เพี่ยงเท่านั้น จากประกาศล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 64 สำนักงานขนส่งทางบกจะเปิดอีกครั้งเพื่ออนุญาตให้ต่อใบอนุญาตรถยนต์หลังจากอนุญาตให้ลงทะเบียนยานพาหนะใหม่ในเดือนธันวาคม 63 เท่านั้นหลังจากปิดให้บริการเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/land-transport-authority-offices-reopen-to-allow-extension-of-vehicle-licenses

เปิดตลาดมัณฑะเลย์ แต่ร้านค้าส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม

Mandalay Advanced Shopping Mall หนึ่งในตลาดผู้ค้าส่งของมัณฑะเลย์ประกาศเปิดให้บริการอีกครั้งในวันนี้ (21 มีนาคม) แต่เจ้าของร้านส่วนใหญ่ยังไม่เปิดให้บริการ ตลาดยาดานาร์บอน ในมัณฑะเลย์รวมถึงตลาดมัณฑะเลย์ได้ปิดทำการตั้งแต่เดือนกันยายน 63 เพื่อควบคุมการแพร่กระจาย COVID-19 และจะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันนี้ (21 มีนาคม) ในทำนองเดียวกันตลาดยาดานาร์บอนระหว่างถนนสาย 78 ถนน 33 และถนนสาย 34 มีผู้ขายแต่ไม่มีผู้ซื้อ

ที่มา: https://news-eleven.com/article/206136

พาณิชย์เมียนมาเผยส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง แม้ธนาคารปิดทำการ

การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมาแม้ว่าผู้ค้าจะประสบปัญหาในการทำธุรกรรมเนื่องจากการปิดตัวคราวของธนาคารพาณิชย์ในเมียนมา จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ในปีงบประมาณปัจจุบันนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าสูงถึง 2.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 765.74 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจาก 1.72 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 แม้จะได้รับผลกระทบของ COVID-19 ความต้องการสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศที่ลดลง และความไม่มั่นคงทางการเมือง การงดให้บริการของธนาคารทำให้ผู้ค้าหันไปใช้การชำระเงินนอกระบบที่เรียกว่า “hundi” ในการทำการค้าชายแดน โดยการส่งออกอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 22% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ได้แก่ ข้าว ปลายข้าว เมล็ดถั่ว และข้าวโพด ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา  ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การหาเมล็ดพันธุ์พันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่สามารถคาดเดาได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-remain-to-rise-even-private-banks-shut-down/#article-title

“มูลนิธิโซรอส” เรียกร้องให้ปล่อยพนักงานในเมียนมา

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่ามูลนิธิโอเพน โซไซตี้ (Open Society Foundations: OSM) ของจอร์จ โซรอส ได้เรียกร้องให้ทำการปลดปล่อยพนักงานในเมียนมาโดยทันที สาเหตุมาจากตรวจพบว่ามีการลักลอบโอนเงินสนับสนุน ซึ่งมูลนิธิดังกล่าว ช่วยเหลือสื่อมวลชนชาวเมียนมาและประชาสังคมเมียนมามาอย่างยาวนาน ทั้งนี้  เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สื่อของรัฐฯ ประกาศว่ากลุ่มมูลนิธิ OSM นำเงินไปใช้ในการแสดงอารยะขัดขืนต่อการปกครองของทหารในประเทศ โดยมูลนิธิโอนเงินที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานบริหารจัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นจำนวน 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ทางมูลนิธิ OSM สำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก เผยว่าข้อกล่าวหาดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีและสร้างความเสื่อมเสียให้แก้ผู้ที่ต้องการสันติภาพและประชาธิปไตยในเมียนมา

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/soros-linked-group-calls-for-release-of-employee-in-myanmar

รมต. กระทรวงต่างประเทศเมียนมาและบรูไน ร่วมประชุมหารือถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

นายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร่วมประชุมทางวิดีโอกับ Dato Erywan Pehin Yusof รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศคนที่ 2 ของบรูไนดารุสซาลาม โดยในการประชุมรัฐมนตรีทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างชาติอาเซียน และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหภาพแรงงานยังได้บรรยายสรุปถึงความคืบหน้าล่าสุดในเมียนมา รวมถึงความพยายามของรัฐบาลในการจัดการกับการประท้วงที่รุนแรง ภายใต้กฎหมาย ระเบียบ และ ความเป็นสากล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/union-minister-for-foreign-affairs-holds-video-conference-with-brunei-darussalams-minister-of-foreign-affairs-ii/

ยูเอ็นชี้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่ทหารยึดอำนาจ

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ ชี้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงในเมียนมา ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนฐานะยากจน ในขณะที่โครงการอาหารโลก (WFP) เผยว่าราคาอาหารเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น 20% ในบางพื้นที่รอบเมืองย่างกุ้ง และราคาข้าวเพิ่มขึ้น 4% ในเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ตลอดจนในบางพื้นที่ของรัฐคะฉิ่น ราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 35% โดยปัจจัยที่ทำให้ราคากลุ่มอาหารและเชื้อเพลิงสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากภาคธนาคารเป็นอัมพาต ทำให้ส่งเงินกลับเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้าและปัญหาการขาดแคลนเงินสด

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/troubling-signs-of-myanmar-food-price-rises-since-coup-un-agency